Tourism c-Commerce
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
Thai Tourism c-Commerce เป็นชื่อเว็บไซต์แนะนำธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
[แก้] แนวความคิด
สำนักงานอุตสากรรมซอฟต์แวร์แห่งชาตินำ ICT มาช่วยพัฒนาระบบ DMS (Destination Management System) ในประเทศไทยประกอบกับการร่วมมือกันของกลุ่ม DMO (Destination Management Organization) ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนในการสนับสนุนให้ใช้ ICT จะช่วยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเป็นรากฐานของการสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยให้แข่งขันกับนานาประเทศได้
[แก้] คุณสมบัติ
- Integration เป็นการเชื่อมต่อลูกค้าเพื่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่ม Destination Representative เช่น กลุ่มสมาคม กลุ่มผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs เพื่อทำ B to C และ B to B
- Distribution เป็นการช่วยให้ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย สามารถเข้าถึง Supply Chain ของสินค้าท่องเที่ยวได้ง่าย และระบบจะเอื้อต่อการจัดการ การบริการในลักษณะเฉพาะบุคคล ช่วยในการทำ Destination Management และช่วยในเรื่องของการตลาด
- Promotion เป็นการช่วยให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้อง โดยระบบจะเอื้อให้สามารถดำเนินการเตรียมโปรแกรมการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ผุ้ให้บริการสามาถ ใช้ระบบนี้ ร่วมมือกันในด้านการตลาด และ แนะนำลูกค้าให้แก่กันได้
ในระยะแรกของโครงการจะเน้นการสร้างฐานข้อมูล DMIS (Destination Management Information System)ที่เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่จะเอื้อให้นักท่องเที่ยว และ Agents สามารถทำ Dynamic Packaging ได้โดยอาศัยเครื่องมือ ที่จัดเตรียมไว้ให้ กลุ่มผู้ประกอบการจะสามารถสื่อสารและทำธุรกรรมร่วมกันได้ และด้วยการสนับสุนของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และ/หรือผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ (Application Service Provider) เครือข่าย c-Commerce ที่จัดสร้างไว้นี้สามาถเชื่อมต่อกับระบบ online Booking ระบบ e-Payment และระบบ Back office ได้อย่างบูรณาการ ซึ่งในเครือข่าย c-Commerce ของ SIPA นี้ เน้นให้ทั้ง DMO (Destination Management Organization)และ SMEs ได้มีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบริการที่ครบวงจร โดยพิจารณา ถึงวงจร 5 ขั้นของธุรกิจท่องเที่ยว (Communication Life Cycle) หรือ Customer Journey ที่ Dr. Roger Carter แห่ง World Tourism Organization (WTO) ได้แนะนำไว้