กรรมฐาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ
กรรมฐาน เป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย
สารบัญ |
[แก้] กรรมฐาน 40
กรรมฐาน 40 เป็นสิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้เข้าแล้ว จะชักนำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้ จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์ ได้รวบรวมแสดงกรรมฐานไว้ 40 อย่าง คือ
- กสิณ 10 แปลว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ
-
- ก.ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป) ได้แก่ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
- ข.วรรณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
- ค.กสิณอื่นๆ ได้แก่ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ
ปฐวีกสิณ | - | กสิณคือดิน กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ | |
อาโปกสิณ | - | กสิณน้ำคือ กสิณที่ใช้น้ำเป็นอารมณ์ | |
เตโชกสิณ | - | กสิณคือไฟ กสิณที่ใช้ไฟเป็นอารมณ์ | |
วาโยกสิณ | - | กสิณคือลม กสิณที่ใช้ลมเป็นอารมณ์ | |
นีลกสิณ | - | กสิณคือสีเขียว กสิณที่ใช้สีเขียวเป็นอารมณ์ | |
ปีตกสิณ | - | กสิณคือสีเหลือง กสิณที่ใช้สีเหลืองเป็นอารมณ์ | |
โลหิตกสิณ | - | กสิณคือสีแดง กสิณที่ใช้สีแดงเป็นอารมณ์ | |
โอทาตกสิณ | - | กสิณคือสีขาว กสิณที่ใช้สีขาวเป็นอารมณ์ | |
อาโลกกสิณ | - | กสิณคือแสงสว่าง กสิณที่ใช้แสงสว่างเป็นอารมณ์ | |
อากาสกสิณ | - | กสิณคือที่ว่างเปล่า,ช่องว่าง กสิณที่ใช้ที่ว่างเปล่าเป็นอารมณ์ |
- อสุภะ 10 ได้แก่ การพิจารณาซากศพระยะต่างๆรวมกัน 10 ระยะ ตั้งแต่ศพเริ่มขึ้นอืด ไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
- อนุสติ 10 คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ ได้แก่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ
พุทธานุสติ | - | ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือน้อมจิตระลึกถึง และพิจารณาคุณของพระองค์ | |
ธัมมานุสติ | - | ระลึกถึงพระธรรม(คำสั่งสอนของพระพุทธองค์) คือน้อมจิตระลึกถึง และพิจารณาคุณของพระธรรม | |
สังฆานุสติ | - | ระลึกถึงพระสงฆ์ คือน้อมจิตระลึกถึง และพิจารณาคุณของพระสงฆ์ | |
สีลานุสติ | - | ระลึกถึงศีล และพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย | |
จาคานุสติ | - | ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน | |
เทวตานุสติ | - | ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน | |
มรณสติ | - | ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท | |
กายคตาสติ | - | สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยด้วย ส่วนต่างๆคือ อาการ32อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงไหลมัวเมา | |
อานาปานสติ | - | สติกำหนดลมหายใจเข้าออก | |
อุปสมานุสติ | - | ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์ |
- อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
- เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า
- กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
- มุฑิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
- อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
- อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร
- จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
- อรูป 4 กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก จนได้จตุตถฌานมาแล้ว กรรมฐานแบบอรูป มี 4 อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
อากาสานัญจายตนะ | - | กำหนดช่องว่างหาที่สุดไม่ได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์ | |
วิญญาณัญจายตนะ | - | กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณแผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์ | |
อากิญจัญจายตนะ | - | (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ | |
เนวสัญญานาสัญญายตนะ | - | (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะที่ไม่มีอะไรเลย) เข้าสู่ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ |
[แก้] ขีดขั้นความสำเร็จ
กสิณ 10 | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | ทุติยฌาน | ตติยฌาน | จตุตถฌาน | ||
อสุภะ 10 | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิิ | ปฐมฌาน | |||||
อนุสติ 8ข้อแรก | อุปจารสมาธิ | |||||||
กายคตาสติ | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิิ | ปฐมฌาน | |||||
อานาปานสติ | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | ทุติยฌาน | ตติยฌาน | จตุตถฌาน | ||
อัปปมัญญา 3ข้อแรก | อุปจารสมาธิิ | ปฐมฌาน | ทุติยฌาน | ตติยฌาน | ||||
อุเบกขาพรหมวิหาร | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | ||||||
อาหาเรปฏิกูลสัญญา | อุปจารสมาธิิ | |||||||
จตุธาตุววัฏฐาน | อุปจารสมาธิ | |||||||
อากาสานัญจายตนะ | อุปจารสมาธิิ | จตุตถฌาน | อากาสานัญจายตนะ | |||||
วิญญาณัญจายตนะ | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | วิญญาณัญจายตนะ | |||||
อากิญจัญจายตนะ | อุปจารสมาธิิ | จตุตถฌาน | อากิญจัญจายตนฌาน | |||||
เนวสัญญานาสัญญายตนะ | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | เนวสัญญานาสัญญายตนะ |
[แก้] กรรมฐาน 2 อย่าง
ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม
และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ
- สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ
- วิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม".
- "พระอภิธัมมัตถสังคหะ".
[แก้] ดูเพิ่ม
- ฌาน
- เจริญอานาปานสติ บำเพ็ญสติปัฏฐาน๔ ให้บริบูรณ์ ในวิกิซอร์ซ