การประชุมเพื่อพัฒนาทางการศึกษาของโลก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมเพื่อพัฒนาทางการศึกษาของโลก (World Conference of the International Consortium for Educational Development - ICED)
[แก้] อันดับสถาบันอุดมศึกษา
ในการประชุมเพื่อพัฒนาทางการศึกษาของโลกครั้งที่ 4 (the 4th World Conference of the International Consortium for Educational Development in Higher Education) ได้มีการสำรวจและให้คะแนนสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ (สำหรับประเทศไทย ได้ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาเพื่อทำการสำรวจ) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้:
- คุณภาพของบุคลากรและคณาจารย์ ตลอดจนประสบการณ์ คุณวุฒิ ของอาจารย์เหล่านั้น
- หลักสูตรการศึกษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงอยู่เสมอ
- การสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น เครื่องมือในการเรียนการสอน จำนวนคอมพิวเตอร์ จำนวนหนังสือในห้องสมุด
- ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรทางการศึกษาระหว่างประเทศ
- เงินทุนสนับสนุนจากต่างประเทศ
- เอกสารทางวิชาการที่ตีพิมพ์ ทั้งในระดับสากล ภูมิภาค และภายในประเทศ
- อัตราแบนด์วิธอินเทอร์เน็ต
- จำนวนอาจารย์ สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา
- อัตราการมีงานทำ และการยอมรับจากภาครัฐและเอกชน ต่อบัณฑิตที่จบออกมา
จากการสำรวจ สรุปผลแยกตามสาขาวิชาได้ดังนี้:
- สาขาแพทย์ศาสตร์:
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 78.45 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 67.7 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 62.86
- สาขาวิศวกรรมศาสตร์:
พระจอมเกล้าลาดกระบัง 74.21 จุฬา 67.73 เกษตร 66.89
- สาขาบริหารธุรกิจ:
ธรรมศาสตร์ 73.10 จุฬา 72.80 อัสสัมชัญ 65.87
- สาขาภาษาศาสตร์: จุฬา 66.98
ธรรมศาสตร์ 60.33
- สาขาวิทยาศาสตร์:
มหิดล 71.81 เกษตร 68.56 จุฬา 65.18
- สาขานิติศาสตร์:
ธรรมศาสตร์ 68.55 รามคำแหง 67.52 จุฬา 61.88
- สาขารัฐศาสตร์:
จุฬา 62.75 ธรรมศาสตร์ 61.92
- สาขาเศรษฐศาสตร์:
ธรรมศาสตร์ 67.04 เกษตร 65.20 จุฬา 60.78
- สาขาเภสัชศาสตร์:
มหิดล 75.09 จุฬา 69.11 เชียงใหม่ 65.67
[แก้] อ้างอิง
- Spheres of Influence: Ventures and Visions in Educational Development, 3-6 July, 2002, The University of Western Australia, Perth, Australia http://www.osds.uwa.edu.au/about/conferences/iced2002