กาลามสูตร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล เรียกว่า เกสปุตตสูตร ก็มี
กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ มี ๑๐ ประการคือ
๑. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
๒. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
๓. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
๔. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
๕. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
๖. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
๗. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
ปัจจุบันได้เกิดแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ ๒๕๐๐ ปีก่อนบรรจุไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในประเทศพัฒนาแล้ว เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking)
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- เกสปุตตสูตร อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐