กาลิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
กาลิก (อ่านว่า กา-ลิก) แปลว่า ประกอบด้วยกาลเวลา, ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เป็นภาษาพระวินัย หมายถึงอาหารหรือของที่ภิกษุรับแล้วเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด กาลิกมี ๔ อย่าง คือ
- ยาวกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราว คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนม ปลา เนื้อ เป็นต้น
- ยามกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วระยะเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ น้ำปานะหรือน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ทรงอนุญาตไว้
- สัตตาหกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ภายใน ๗ วัน ได้แก่ เภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
- ยาวชิวิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต ได้แก่ของที่นอกเหนือจากกาลิกทั้ง ๓ นั้น
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548