กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
[แก้] เหตุการณ์ในเดือนมีนาคม• การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ [แก้] ผู้เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์[แก้] วันหยุดในเดือนนี้[แก้] การเลือกตั้งในเดือนนี้ |
[แก้] วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548
- โคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เสนอชื่อต่อสมัชชาใหญ่ แต่งตั้งนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ที่กำลังจะพ้นวาระในเดือนสิงหาคม ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ผู้สังเกตการณ์ให้ความเห็นว่าการขึ้นดำรงตำแหน่งของ ดร.ศุภชัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ อาจดับความหวังของนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะเข้าสู่กระบวนการสรรหาเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนใหม่ ต่อจากนายอันนัน
[แก้] วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2548
- นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กระตุ้นให้ประชาชนใช้สันติวิธีในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจรัฐบาลพรรคเดียว ระหว่างการกล่าวปาฐกถาพิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากสถาบันหลักทั้งสามของการเมืองไทย คือ นักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน ชนชั้นกลาง และสื่อมวลชน ล้วนอ่อนแอลงและไม่สามารถคานอำนาจรัฐได้ ชนชั้นกลางอ่อนแอเพราะเป็นชนชั้นกลางที่เกิดจากการรับผลประโยชน์ สื่อมวลชนอ่อนแอและถูกกดดันให้ยอมอ่อนข้อต่อรัฐบาลเพื่อความอยู่รอด และไม่สามารถรายงานข่าวการทุจริตและวิเคราะห์การเมืองอย่างเจาะลึกได้
- งานประกาศผลรางวัลอะแคเดมี (ออสการ์) ครั้งที่ 77 จัดขึ้นที่โรงละครโกดักในฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย
[แก้] วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2548
- 26 กุมภาพันธ์-5 มีนาคม: กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว เริ่มขึ้นที่เมืองนะงะโนะ ประเทศญี่ปุ่น
[แก้] วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "คลื่นยักษ์สึนามิ คลื่นอภิมหาภัย" ที่แปลจากหนังสือ 'Tsunami: The Great Waves' แจกจ่ายให้กับโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้อ่านได้รู้จักต้นเหตุของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และวิธีป้องกันภัยจากคลื่นยักษ์ดังกล่าว รวมทั้งสร้างความเข้าใจพื้นฐานแก่ประชาชนในการเตรียมตัวรับมือ กับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
[แก้] วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548
- ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตือนรัฐบาลว่านโยบายแบ่งโซนตามระดับความร่วมมือกับกองกำลังรักษาความปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ แสดงให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติ ผิดหลักความเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ ขัดหลักสิทธิมนุษยชน สร้างการเหยียดทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม แทนที่จะเคารพส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน ท้ายสุดจะเป็นเหตุให้ต่างประเทศมองเป็นนโยบายแบ่งแยกชาติพันธุ์ เพื่อกวาดล้างทำลาย และจะถือสิทธิเข้าแทรกแซงได้
[แก้] วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548
- เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ริกเตอร์ ในเมืองซารานด์ จังหวัดกิรมาน ของอิหร่าน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 546 คน บาดเจ็บมากกว่าหนึ่งพันคน
[แก้] วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548
- สเปน เป็นประเทศแรกที่ลงนามใน รัฐธรรมนูญยุโรป ภายหลังการลงประชามติของชาวสเปน
[แก้] วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2548
- ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบ่งโซนเป็น 3 สีของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อน ในความพยายามแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- การเลือกตั้งในโปรตุเกส และการลงประชามติในรัฐธรรมนูญยุโรปที่สเปน
[แก้] วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548
- มีผู้เสียชีวิตถึง 4 คน (เพิ่มเป็น 6 คนในวันที่ 18) บาดเจ็บมากกว่า 40 คน จากเหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก นราธิวาส
- สนามบินนานาชาติชูบุในเมืองนาโงยา ของประเทศญี่ปุ่น เปิดทำการ
[แก้] วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548
- วันแรกของการบังคับใช้ พิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นสัตยาบันของ 141 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เพื่อยับยั้ง สถานการณ์โลกร้อน ด้วยการลดปริมาณการก่อก๊าซ อันทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
- พรรคประชาธิปัตย์มีกำหนดเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ในวันที่ 5 มีนาคม หลังจากนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่ง หนึ่งสัปดาห์หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป
[แก้] วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2548
- ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไข้หวัดนกจากการสัมผัสไก่ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่พิษณุโลก ขณะกำลังเกิดการระบาดในภาคเหนือ
[แก้] วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548
- เกาหลีเหนือ ประกาศว่ากำลังพัฒนา อาวุธนิวเคลียร์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันตนเอง และหลบหลีกการเจรจา 6 ฝ่าย
- สำนักพระราชวังแคลเรนซ์เฮาส์ ประกาศว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และมกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ จะอภิเษกสมรสกับ นางคามิลลา ปาร์กเกอร์ โบลส์ ในวันที่ 8 เมษายน 2548
[แก้] วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548
- มะห์มุด อับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ และ นายกรัฐมนตรีเอเรียล ชารอน ของอิสราเอล ประกาศข้อตกลงพักรบ ระหว่างการประชุมสุดยอด 4 ฝ่าย ณ ชาร์ม เอล ชีก ร่วมกับอียิปต์ และจอร์แดน
[แก้] วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
- พรรคไทยรักไทยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย (ผล ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ได้ที่นั่งในระบบแบ่งเขต 309 คน ในระบบบัญชีรายชื่อ 68 คน)
- ผลการนับคะแนน การเลือกตั้งทั่วไปในไทย เบื้องต้น, ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย โดยการนำของ พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือกเป็นส.ส.เขต มากกว่า 300 คน จากทั้งหมด 400 ที่นั่ง
[แก้] วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548
- จีนัสซิงเบ เอยาเดมา ประธานาธิบดีโตโก ซึ่งปกครองประเทศมานานกว่า 30 ปี ถึงแก่อสัญกรรม ขณะที่กองทัพได้แต่งตั้ง ฟาอูเร จีนัสซิงเบ บุตรชายของประธานาธิบดีขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
[แก้] วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
- แอน ทองประสม จากภาพยนตร์เรื่อง เดอะเลตเตอร์ จดหมายรัก ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ จากภาพยนตร์เรื่อง ไอ้ฟัก และ ภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง ได้รับรางวัล นักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม นักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ตามลำดับ จากงานประกาศผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ "สุพรรณหงส์ทองคำ" ครั้งที่ 14 ณ โรงภาพยนตร์สกาลา สยามสแควร์
[แก้] วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548
- ซูรับ จวาเนีย นายกรัฐมนตรีจอร์เจีย ถึงแก่อสัญกรรม จากการสูดดมแก๊สรั่วในอพาร์ทเมนต์
[แก้] วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548
- กษัตริย์คยาเนนทราแห่งเนปาล ปลดคณะรัฐบาลชุดเก่าโดยการนำของนายกรัฐมนตรี เชอร์ บาฮาดูร์ เดอูบา และแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ โดยมีพระองค์เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล พร้อมกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเนปาล
พ.ศ. 2550 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2549 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2548 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2547 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2546 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
[แก้] แหล่งข่าว
[แก้] หนังสือพิมพ์
รายวัน: ไทยรัฐ - เดลินิวส์ - ข่าวสด - แนวหน้า - กรุงเทพธุรกิจ - ผู้จัดการรายวัน - มติชนรายวัน - บางกอกโพสต์
รายสัปดาห์: ฐานเศรษฐกิจ - ประชาติธุรกิจ
[แก้] โทรทัศน์
ช่อง 3 - ช่อง 5 - ช่อง 7 - ช่อง 9 - ช่อง 11 - ไอทีวี - เนชั่นแชนแนล
[แก้] สำนักข่าวต่างประเทศ
ซีเอ็นเอ็น - บีบีซี - รอยเตอร์ - เอเอฟพี