คณปูรกะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
คณปูรกะ (อ่านว่า คะนะปูระกะ) แปลว่า ผู้ทำให้คณะเต็มจำนวน, ผู้ทำให้ครบองค์ประชุม
คณปูรกะ เป็นภาษาพระวินัย หมายถึงภิกษุผู้เข้าร่วมทำสังฆกรรมที่ทำให้ครบคณะพอดี กล่าวคือในการทำสังฆกรรมของสงฆ์มีข้อกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีภิกษุเข้าร่วมประชุมกี่รูป เช่น ๔ รูป ๕ รูป ๒๐ รูป แล้วแต่ชนิดของสังฆกรรม
ถ้ามีภิกษุขาดไปหนึ่งหรือสองรูป ถือว่าไม่ครบองค์สงฆ์หรือองค์ประชุม ทำสังฆกรรมนั้นไม่ได้ ทำไปก็ไม่ขึ้น ถือเป็นโมฆะ ต่อเมื่อมีภิกษุอื่นมาสมทบตามจำนวนที่ขาดจึงครบองค์สงฆ์พอดีแล้วทำสังฆกรรมนั้นได้ เรียกภิกษุที่มาสมทบทำให้ครบองค์สงฆ์นั้นแหละว่า คณปูรกะ
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548