คณะรัฐมนตรีคณะที่ 2
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 2 (10 ธันวาคม 2475 - 1 เมษายน 2476)
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
สารบัญ |
[แก้] รายชื่อคณะรัฐมนตรี
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
- พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา) เป็นรัฐมนตรี
- นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นรัฐมนตรี
- นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นรัฐมนตรี
- นายพันเอก พระฤทธิอัคเณย์ (สละ เอมะศิริ) เป็นรัฐมนตรี
- พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) เป็นรัฐมนตรี
- นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น) เป็นรัฐมนตรี
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นรัฐมนตรี
- นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เป็นรัฐมนตรี
- นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) เป็นรัฐมนตรี
- หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เป็นรัฐมนตรี
- นายประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรี
- นายแนบ พหลโยธิน เป็นรัฐมนตรี
- นายตั้ว ลพานุกรม เป็นรัฐมนตรี
[แก้] การแถลงนโยบายของรัฐบาล
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2475
[แก้] การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงโดยพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476
[แก้] อ้างอิง
คณะรัฐมนตรี ของ ประเทศไทย |
---|
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง กฎหมาย คำพิพากษา คำวินิจฉัย และรายงานของหน่วยงานราชการไทย ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ตาม มาตรา 7 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ข้อมูลและภาพในหน้านี้ จึงถือเป็นสาธารณสมบัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาดูจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน |