คลองแสนแสบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองแสนแสบเ ป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยหกสิบปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังประเทศญวน ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า "สงครามอันนัมสยามยุทธ"
[แก้] ที่มาของชื่อ
ว่ากันว่าชื่อคลองที่เรียกว่า "แสนแสบ" นั้นเพราะยุงชุม โดยมีหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของนักสำรวจชาวอังกฤษ ชื่อนาย ดี.โอ. คิง ความว่า " ... คลองนี้ยาวถึง 55 ไมล์ เชื่อมนครกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบชนบท ... คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อสายมาเลย์ .... ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม มือข้างหนึ่งจะต้องใช้ปัดยุงเสมอ ..." แต่ตอนนี้คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่คนกรุงนิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว
สมัยก่อนคลองแห่งเป็นคลองที่สะอาดน้ำให้ละยังเป็นคลองแห่งตำนานความรักอันยิ่งใหญ่ของหนุ่มสาว (ขวัญ+เรียม)
((เพิ่มเติม)) คลองแสนแสบ เป็นคลองที่เชื่อมต่อจากคลองมหานาคไปทางใต้ ผ่านคลองบางกะปิ คลองหัวหมาก คลองบางขนาก ไปออกแม่น้ำบางปะกงที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยแบ่งการเรียกชื่อเป็น 2 ช่วง คือ คลองแสนแสบใต้ เริ่มจากคลองมหานาค บริเวณวัดบรมนิวาสไปถึงหัวหมาก คลองตัน และ คลองแสนแสบเหนือ ซึ่งเริ่มจากหัวหมากผ่านคลองสามเสนช่วงปลาย คลองตัน ผ่านบางขนากไปออกแม่น้ำบางปะกง จากการค้นคว้าไม่พบหลักฐานว่าคลองแสนแสบขุดขึ้นแต่เมื่อใด คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 1 หลังจากที่ได้ขุดคลองมหานาคแล้ว จนถึงก่อนขุดคลองแสนแสบช่วงปลาย (ซึ่งบางแห่งเรียกว่าคลองบางขนาก)ในรัชกาลที่ 3 ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อเดือนยี่ ขึ้นสี่ค่ำ ปีระกา นพศก จุลศักราช 1199 ตรงกับพุทธศักราช 2380 เป็นระยะเวลาที่ประเทศไทยทำสงครามกับกัมพูชาและเวียตนาม การส่งเสบียงอาหารและการติดต่อกันล่าช้าไม่ทันการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลอง ตั้งแต่คลองหัวหมากไปถึงบางขนาก เป็นระยะความยาว 1,337 เส้น 19 วา 2 ศอก กว้าง 6 วา ลึก 4 ศอก ใช้เวลาขุดนาน 3 ปี จึงแล้วเสร็จ คลองแสนแสบ นับว่าเป็นคลองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก เพราะเป็นคลองที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง ช่วยร่นระยะทางไปมาระหว่างเมืองปาจิณ (ปราจีนบุรี) แปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) กับกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงแม้ว่าในระยะแรกนั้น เป้าหมายของการขุดคลองอยู่ที่การคมนาคมระหว่างสงคราม แต่ภายหลังสงครามแล้ว ปรากฏว่าคลองสายนี้ กลายเป็นเส้นทางเดินเรือไปมาค้าขายที่สำคัญของราษฎร และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมแก้ขนาดปากคลองจากเดิม ซึ่งกว้าง 6 วา เป็นกว้าง 8 วา กับให้มีสะพานโยงทั้งสองฝั่งคลองคลอง ฝั่งคลองละ 6 ศอกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการคมนาคม และการค้าขาย ซึ่งนับวันจะขยายตัวสูงขึ้นให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
ไม่พบหลักฐานว่าขุดขึ้นเมื่อใดแน่ แต่น่าจะอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 1 หลังจากที่ได้ขุดคลองมหานาคแล้ว