ทฤษฎีบทเวียนบังเกิดของคลีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในทฤษฎีการคำนวณได้ ทฤษฎีบทเวียนบังเกิดของคลีน (อังกฤษ: Kleene's recursion theorem) เป็นทฤษฎีบทเกี่ยวกับการมีอยู่ของฟังก์ชันคำนวณได้ที่ใช้คำบรรยายตัวเองในการคำนวณผลลัพธ์ สตีเฟน คลีน เป็นผู้พิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ในปี ค.ศ. 1938 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
ให้
เป็นฟังก์ชันคำนวณไ้ด้ใดๆ แล้ว จะมีเครื่องจักรทัวริง
ที่เมื่อรับ
เป็นข้อมูลเข้า แล้วจะคำนวณ
เมื่อ
คือคำบรรยายของ
เอง
กล่าวคือ สำหรับฟังก์ชันคำนวณได้ที่มีข้อมูลเข้าสองตัวใดๆ จะมีฟังก์ชันคำนวณได้อีกฟังก์ชันหนึ่งที่ใช้ตัวเองเป็นข้อมูลเข้าตัวแรกโดยไม่ต้องอ่านข้อมูลจากภายนอก ตัวอย่างเช่น ถ้า t(x,y) = x เครื่องจักรทัวริง R ให้คำบรรยายตัวเองออกมาเป็นผลลัพธ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเหมือนกับ R จะพิมพ์ซอร์สโค้ดของตัวเองออกมา เราเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่าไควน์
[แก้] การพิสูจน์
เราเริ่มต้นโดยการพิสูจน์บทตั้งต่อไปนี้
มีฟังก็ชันคำนวณได้
ที่ สำหรับสายอักษร
ใดๆ
เป็นคำบรรยายเครื่องจักรทัวริง
ที่รับข้อมูลเข้า
และพิมพ์ผลลัพธ์
โดยแสดงเครื่องจักรทัวริงที่คำนวณ q เครื่องจักรทัวริงนั้นอาจนิยามได้ดังต่อไปนี้
Q = "เมื่อได้รับข้อมูลเข้า w 1. สร้างเครื่องจักรทัวริง Pw ดังต่อไปนี้ Pw = "เมื่อได้รับข้อมูลเข้า x 1. เลื่อน x ให้มีช่องว่างจากต้นเทปพอที่จะเขียน w และเครื่องหมาย "เว้นวรรค" 2. พิมพ์ w ลงบนเทป 3. หยุดการทำงาน" 2. พิมพ์"
สำหรับการสร้างเครื่องจักรทัวริง R ในทฤษฎีบทนั้น เราแบ่ง R ออกเป็นเครื่องจักรทัวริงย่อยๆ สามเครื่อง ได้แก่ A, B, และ T โดยที่ T เป็นเครื่องจักรทัวริงหนึ่งที่คำนวณ t โดยเครื่องจักรทั้งสามเครื่องมีลำดับการทำงานคือ A ทำงานจนเสร็จสิ้นแล้ว B จึงเริ่มทำงาน และเมื่อ B ทำงานเสร็จสิ้นแล้ว T จึงเริ่มทำงาน
เครื่องจักร B มีนิยามดังต่อไปนี้
B = "เมื่อได้รับข้อมูลเข้าเมื่อ
เป็นคำอธิบายเครื่องจักรทัวริง M 1. คำนวณ
โดยใช้บทตั้งข้างต้น 2. ต่อเติมคำอธิบายเครื่องจักร M ให้เป็นเครื่องจักร N ที่ใช้
ทำงานก่อน แล้วจึงใช้ M ทำงานตาม 3. พิมพ์ (N,x) ลงบนเทป"
ส่วนเครื่องจักร A คือเครื่องจักรที่ได้จากการคำนวณ เมื่อ
คือคำบรรยายเครื่องจักรที่ใ้ช้ B ทำงานก่อนตามด้วย T
สังเกตว่าเครื่องจักร R ตามที่ได้นิยามข้างต้นเป็นเครื่องจักรทัวริงที่สอดคล้องกับทฤษฎีบท กล่าวคือ เป็นเครื่องจักรที่พิมพ์คำบรรยายของ BT ดังนั้นเมื่อนำคำบรรยายนี้ไปผนวกกับ
ก็จะใช้เครื่องจักร ABT ซึ่งก็คือตัว R นั่นเอง ฉะนั้นผลลัพธ์ของ B คือ
และ T ก็จะคำนวณ
ตามที่เราต้องการ
[แก้] ประโยชน์
เราสามารถใ้ช้ทฤษฎีบทเวียนบังเกิดของคลีนในการพิสูจน์ข้อความทางทฤษฎีการคำนวณได้หลายๆ ข้อความอย่างกระชับและเป็นธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาการหยุดทำงาน ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ดังต่อไปนี้
สมมติเพื่อข้อขัดแย้งว่ามีเครื่องจักรทัวริง H ที่แก้ปัญหาการหยุดทำงาน พิจารณาเครื่องจักร M ดังต่อไปนี้
M = "เมื่อได้รับอินพุต x 1. หาค่าโดยใช้ทฤษฎีบทเวียนบังเกิดของคลีน 2. ให้ H ทำงานบนข้อมูลเข้า
3. ถ้า H บอกว่า "หยุดทำงาน" ให้เข้าลูปอนันต์ ถ้า H บอกว่า "ไม่หยุดทำงาน" ให้หยุดทำงาน
เนื่องจาก M ทำงานตรงกันข้ามกับการวินิจฉัยของ H เราจึงได้ข้อขัดแย้งและสรุปได้ว่า H ไม่มีอยู่จริง
ข้อความอื่นๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยทฤษฎีบทเวียนบังเกิดของคลีน เช่น
- ฟังก์ชันบีเวอร์คนขยันไม่ใช่ฟังก์ชันคำนวณได้
- ไม่มีเครื่องจักรทัวริงใดทีสามารถ่คำนวณเครื่องจักรทัวริงที่มีขนาดของคำบรรยายสั้นที่สุดที่ำสมมูลกับเครื่องจักรทัวริงที่ให้เป็นข้อมูลเข้าได้
- สำหรับฟังก์ชันคำนวณได้
ใดๆ ที่ทำการ "ดัดแปลง" เครื่องจักรทัวริงที่ได้รับเป็นข้อมูลเข้า จะมีเครื่องจักรทัวริง F ที่
สมมูลกับ F
[แก้] อ้างอิง
- Kleene, Stephen, "On notation for ordinal numbers," The Journal of Symbolic Logic, 3 (1938), 150-155.
- Sipser, Michael. Introduction to the Theory of Computation. Boston: PWS, 1997.