ทิฏฐิ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) แปลว่า ความเห็น ความคิดเห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ทัศนะ ในวงวัดนิยมเขียนจามรูปศัพท์เดิมว่า ทิฏฐิ
ทิฐิ ใช้กับความเห็นของทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี ที่ใช้กับฝ่ายดี เช่น สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ที่ใช้กับฝ่ายไม่ดีเช่น มิจฉาทิฐิ (ความเห็นผิด) สัสสตทิฐิ (ความเห็นว่าเยง) อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) เป็นต้น
ทิฐิ ในคำไทยส่วนใหญ่ใช้ในความหมายว่าความอวดดื้อถือดี ความดื้อรั้น ความตะแบงทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมรับและไม่ยอมแก้ไข เช่นที่ใช้ว่า "เขามีทิฐิมาก ไม่ยอมลงใคร" ทิฐิมานะของเขาทำให้เขาเข้ากับใครไม่ได้เลยในที่ทำงาน"
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
ทิฏฐิ เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ทิฏฐิ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |