นกแอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกแอร์ | ||
---|---|---|
IATA DD |
ICAO NOK |
Callsign NOK AIR |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2547 | |
ท่าอากาศยานหลัก | ท่าอากาศยานดอนเมือง | |
ขนาดฝูงบิน | 7 | |
จุดหมายปลายทาง | 9 | |
บริษัทแม่ | บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (Nok Airlines Co., Ltd.) | |
สำนักงานใหญ่ | กรุงเทพ ประเทศไทย | |
บุคคลหลัก | พาที สารสิน (CEO) | |
เว็บไซต์: http://www.nokair.com |
นกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) เป็นสายการบินราคาประหยัด (Low cost airline) ของประเทศไทย ทำการบินภายในประเทศไทยในราคาย่อมเยา เป็นสายการบินที่บริษัท การบินไทย จำกัดร่วมทุนกับบริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)) บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)และผู้ถือหุ้นอื่นๆ ทำตลาดระดับราคาประหยัด เครื่องบินของนกแอร์เป็นเครื่องที่แบ่งเช่ามาจากฝูงบินปัจจุบันของบริษัทการบินไทย โดยมีมาตรฐานการดูแลรักษาในมาตรฐานเดียวกันกับของการบินไทยทุกประการ ผู้โดยสารสามารถจองตั๋วได้หลายช่องทาง เช่นเคานเตอร์นกแอร์ในท่าอากาศยานปลายทางต่างๆ, จองทางโทรศัพท์หมายเลข 1318 รวมทั้งการจองตั๋วผ่านทางอินเทอร์เน็ตhttp://www.nokair.com ที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกขณะ โดยที่ผู้โดยสารสามารถชำระ offline (Book Online Pay Offline) ได้ที่ counter service, 7-11, ธนาคาร และATM
สารบัญ |
[แก้] เส้นทางการบิน
ปัจจุบัน นกแอร์เปิดให้บริการเส้นทางบินในประเทศทั้งหมด 11 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่เปิดดำเนินการแล้ว
- กรุงเทพ - เชียงใหม่
- กรุงเทพ - เลย
- กรุงเทพ - อุดรธานี
- กรุงเทพ - ภูเก็ต
- กรุงเทพ - กระบี่
- กรุงเทพ - ตรัง
- กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช
- กรุงเทพ - หาดใหญ่
- เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน
- เชียงใหม่ - อุดรธานี
- อุดรธานี - เลย
- และบินร่วม (code share) กับสายการบิน SGA 4 เส้นทาง ได้แก่
- กรุงเทพ - หัวหิน
- เชียงใหม่ - เชียงราย
- เชียงใหม่ - แพร่
- เชียงใหม่ - ปาย
- เส้นทางที่มีโครงการเปิดในอนาคตอันใกล้
- กรุงเทพ - สุราษฎร์ธานี
- กรุงเทพ - อุบลราชธานี
นอกจากนี้ นกแอร์มีโครงการบินเส้นทางระหว่างประเทศ เส้นทาง กรุงเทพ - บังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงประสานงาน
[แก้] เครื่องบินที่ให้บริการ
เครื่องบินที่ประจำการประกอบด้วย
- Boeing 737-400 จำนวน 6 ลำ
- ชื่อที่ใช้จดทะเบียนคือ
- HS-TDA Named Songkhla (สงขลา)
- HS-TDB Named Phuket (ภูเก็ต)
- HS-TDD Named Chumporn (ชุมพร)
- HS-TDE Named Surin (สุรินทร์)
- HS-DDH Named Nok Sabai (นกสบาย)
- HS-DDJ Named Nok Sanook (นกสนุก)
- ชื่อที่ใช้จดทะเบียนคือ
- ATR72-500 จำนวน 1 ลำ
- ชื่อที่ใช้จดทะเบียนคือ
- HS-TRA Named Lampang (ลำปาง)
- ชื่อที่ใช้จดทะเบียนคือ
เครื่องบินทั้งหมดนี้ได้รับการบริการภาคพื้นจากการบินไทย
- นกแอร์กำลังดำเนินการรับมอบเครื่อง Boeing 737-400 อีกสองลำ ที่เช่ามาจากสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ซึ่งจะทำให้ฝูงบินของนกแอร์เพิ่มจำนวนเป็น B737-400 จำนวน 6 ลำ และ ATR72-500 จำนวน 1 ลำ
[แก้] การให้บริการด้านลูกค้าสัมพันธ์
จุดเด่นในด้านการให้บริการด้านลูกค้าสัมพันธ์ของนกแอร์คือ มีผู้บริหารของสายการบิน คือ คุณสีหพันธุ ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด ได้เข้าทำหน้าที่ตอบข้อซักถาม และรับเรื่องปัญหาต่างๆ จากลูกค้าโดยตรง ในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม ห้อง Blue Planet ทำให้สามารถรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นผู้โดยสารของนกแอร์ และทำการแก้ไขอย่างรวดเร็ว รวมทั้งตอบปัญหาข้องใจต่างๆ ที่ผู้โดยสารมีต่อนกแอร์ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างประสบผลสำเร็จและสามารถสร้างความประทับใจเป็นจำนวนมาก ช่วยให้ภาพลักษณ์ของนกแอร์ค่อนข้างดีในสายตาของผู้ใช้บริการทั่วไป
[แก้] จุดเด่นของนกแอร์
นกพลัส
คือ การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสารการบินราคาประหยัดทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ ในเอเชีย หรือในโลก มีน้อยสายการบินจะมีทางเลือกสำหรับที่เก้าอี้ที่นั่งแสนสบาย เหมือนกับเก้าอี้นกพลัส ซึ่ง เป็นเก้าอี้ขนาดใหญ่ และกว้างกว่าเก้าอี้ชั้นประหยัด ผู้โดยสารที่ต้องการความสะดวกสบายเพิ่มเติม หรือผู้โดยสารสูงอายุ สามารถเลือกใช้บริการโดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกเพียง 535 บาทต่อเที่ยวบินรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จากระดับราคาค่าโดยสารชั้นประหยัดที่เลือกจอง และเมื่อถึงวันเดินทาง ก็จะได้นั่งบนเก้าอี้นกพลัส และบินอย่างสะดวกสบายไปกับนกแอร์ และมีเพียง 12 ที่นั่งต่อเที่ยวบินเท่านั้น นอกจากนั้น ยังรับสิทธิในเรื่องน้ำหนักกระเป๋าเพิ่มขึ้นเป็น 30 กิโลกรัม ไม่คิดค่าธรรมเนียมสำหรับการเปลี่ยนแปลงวันเดินทาง ฟรีอาหารว่าง น้ำดื่ม และหนังสือพิมพ์
เลือกตำแหน่งที่นั่ง
ยิ่งกว่านั้น หากจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซด์ (Website) ผู้โดยสารยังสามารถเลือกตำแหน่งที่นั่งได้ตามความประสงค์