นมถั่วเหลือง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถั่วเหลืองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Glycin Max (L) Merr เป็นพืชที่อยู่ตระกูล Leguminosae มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Soybean ถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน นิยมเรียกกันในภาษาไทยโดยทั่วๆไปหลายชื่อเช่น ถั่วพระเหลือง ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) มะถั่วเน่า (ภาคเหนือ) เป็นต้น ถั่วเหลืองเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร
ลำต้นสี่เหลี่ยมปกคลุมด้วยขนสีเทาขาว ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ปลายแหลม
ใบค่อนข้างหนา ผิวมันทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกเป็นช่อสีขาวหรือม่วงแดง ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 25-30 วัน
เก็บเกี่ยวอายุประมาณ 90-100วัน ฝักแบนขาวติดเป็นกระจุกที่ข้อของต้น และกิ่งในฝักมีเมล็ด 3-5 เมล็ดรูปไข่ เมล็ดกลม
ผิวสีเหลืองมันตาค่อนข้างลึกสีน้ำตาลอ่อน
ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง ถั่วเหลืองจึงเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เพราะถั่วเหลืองมีคุณค่าทางโภชณาการไกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์
ถ้าเราบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณที่สูงพอ ร่างกายจะได้รับโปรตีนเพียงพอกับความต้องการได้
- นอกจากถั่วเหลืองเป็นแหล่งไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ในถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยสารอาหารอีกมากมาย
คือ คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน A,B,B1,B2,B6,B12, ไนอาซิน และวิตตามิน C,D,E อีกด้วย
ในเมล็ดถั่วเหลืองนั้นยังมี เลซิทิน อันเป็นสารบำรุงสมอง เพิ่มความทรงจำ ลดไขมันและ ลดโคเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกด้วย
- การดื่มนมถั่วเหลืองจะได้รับประโยชน์กว่าเครื่องดื่มอื่นๆ ถ้าเทียบกับนมแล้วนมถั่วเหลืองจะมีข้อดีกว่าและบางอย่างจะสู้นมไม่ได้
นมถั่วเหลืองให้โปรตีนเกือบเท่านม มีไขมันที่ดีกว่าคือให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่านม ช่วยลดโคเลสเตอรอล สำหรับข้อเสียคือ
นมถั่วเหลืองจะให้แคลเซียมได้น้อยมาก
- ดังนั้นการดื่มนมถั่วเหลืองในแต่ละวัน ถ้าเป็นนมถั่วเหลืองชนิดธรรมดาที่ไม่ได้มีการเสริมแคลเซียมเข้าไปนั้น
แนะนำให้ดื่มเป็นอาหารเสริมวันละ 1-2 แก้ว เพราะนมถั่วเหลืองชนิดธรรมดา มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
จึงควรรับประทานอาหารอื่นที่มีแคลเซียมควบคู่กันไปด้วย ได้แก่ปลาทอดกรอบ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น