บีเอ็มไอ (สายการบิน)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ:BMI British Midland logo.png | ||
บีเอ็มไอ | ||
---|---|---|
IATA BD |
ICAO BMA |
Callsign มิดแลนด์ |
ก่อตั้ง | 2481 (ชื่อ แอร์ สคูล ลิมิดเตท) | |
ท่าอากาศยานหลัก | ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ |
|
รายการสะสมแต้ม | บีเอ็มไอ ไดมอนด์ คลับ | |
ห้องรับรอง | ไดมอนด์ คลับ เลาจน์ | |
พันธมิตรสายการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | |
ขนาดฝูงบิน | 42 | |
จุดหมายปลายทาง | 38 | |
บริษัทแม่ | บ.บริติช มิดแลนด์ แอร์เวย์ จำกัด | |
สำนักงานใหญ่ | แคสเซิล โดนิงตัน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร | |
บุคคลหลัก | นิเกล เทอร์เนอร์ (ซีอีโอ), เซอร์ ไมเคิล บิชอฟ (ประธาน) | |
เว็บไซต์: http://www.flybmi.com |
บีเอ็มไอ (BMI British Midland Airways) คือสายการบินที่มีฐานอยู่ในสหราชอาณาจักร มีสำนักงานใหญ่อยู่ในโดนิงตัน ฮอลล์ ใกล้กับท่าอากาศยานอีสต์มิดแลนด์ มีจุดหมายปลายทางอยู่ในยุโรป สหรัฐอเมริกา แถบหมู่เกาะแคริบเบียน และประเทศซาอุดีอารเบีย ฐานปฏิบัติการของสายการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์และท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ซึ่งเป็นที่ที่มีการจราจรทางอากาศของสายการบินนี้เข้า-ออกสายการบินนี้เป็น 11%ของเที่ยวบินทั้งหมดของท่าอากาศยานแห่งนี้โดยมากกว่า 2000 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อบริติช มิดแลนด์ ในเดือนมกราคม 2550 บีเอ็มไอได้ซื้อสายการบินบริติช เมดิเตอร์เรเนียน แอร์ไลน์ ซึ่งนั้นหมายความว่าบีเอ็มไอสามารถที่จะมีเที่ยวบินไปในแถบแอฟริกาและแถบอาหรับได้
บีเอ็มไอ ได้อยู่ในองค์การการบินแห่งสหราชอาณาจักรในใบอนุญาตประเภท A อนุญาตให้รับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้าและจดหมายบนเครื่องบินได้มากกว่า 20 ที่นั่ง[1]
[แก้] ประวัติ
บีเอ็มไอมีรากฐานจากการสร้างโดยโรงเรียนเดินอากาศจำกัด ในปี 2481 บริษัทแห่งนี้ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการบินได้แนะนำและชี้ทางแก่นักบินของกองทัพอากาศ ในปี 2492 บริษัทได้สร้างเดอร์บี้อาวิเอชั่น มีฐานที่เบอร์นาสตันใกล้ๆเดอร์บี้ และวูลฟ์เวอร์แฮมตันอาวิเอชั่นที่มีฐานที่เพนด์ฟอร์ด มีข้อเสนอและข้อสัญญาราคาในการบินกับ เดอ ฮาวิลแลนด์ เรพิดส์ โดยแลกกับการบำรุงเครื่องบินและค่าคอมมิชชัน
ได้มีการเปิดการบินจากเดอร์บี้และวูลฟ์เอร์แฮมตันไปสู่เมืองเจอร์ซี่ย์ โดยมีดูกลาส ดีซี 3 เข้ามาในปี 2498 วูลฟ์เวอร์ตันอาวิเอชั่น ได้รวมกิจการเป็นกิจการเพียงผู้เดียวและได้ใช้ฐานเปลี่ยนมาเป็นท่าอากาศยานเบอร์นาตัน การบริการระหว่างประเทศนั้นจึงได้เกิดขึ้นในปีถัดไปโดยไปที่เมืองออสเตนด์และเที่ยวบินวันหยุดสู่แผ่นดินยุโรปหลักได้เกิดขึ้น บริษัททำข้อตกลงกับบริษัทโรส์รอยส์ซึ่งเป็นผู้ส่งชิ้นส่วนของเครื่องบินให้แก่ลูกค้าทั่วโลก ในปี 2502 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น เดอร์บี้ แอร์เวย์ โดยทำการบินตามกำหนดการของเที่ยวบินภายในประเทศของสหราชอาณาจักรจึงเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีนั้น
ในปี 2507 บริษัทได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่าบริติชมิดแลนด์แอร์เวย์ (BMA) และได้ย้ายฐานปฏิบัติการจากเบอร์นาสตันไปที่ท่าอากาศยานอีสท์ มิดแลนด์ และนำสีฟ้ากับสีขาวเป็นสีประจำสายการบิน เป็นตัวแนะนำเครื่องบินที่มีเทอร์โบพรอพตัวแรกของบริษัทแฮนด์เลย์ เพจ เฮรัลด์ด้วย ต่อมาสายการบินทั้งเส้นทางในประเทศและในยุโรปได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และในปี 2513 ได้นำเครื่องยนต์เจ็ตเข้ามาใช้โดยเริ่มจากรุ่น BAC 1-11 ตามด้วยโบอิ้ง 707 ในปี 2514 จากนั้นได้มีคำสั่งให้ถอน BAC 1-11 จากฝูงบินในปี 2515 และ707s ได้อยู่ในสัญญาเช่าของสายการบินอื่น ในฐานะที่BMAเป็นศูนย์กลางในการผลิตเครื่องบินเทอร์โบพรอพรุ่นวิคเกอร์ไวเคานท์ ถึงแม้ว่า 707จะผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้นำมาใช้ในการบริการหรือมีในสัญญาเช่าซึ่งเป็นผลประโยชน์จนกระทั่งปี 2524 พวกเขาได้แทนทีสัญญาเช่าให้เป็นเครื่องบินดักลาส ดีซี-9 ซึ่งเปลี่ยนแปลงระบบการบินภายในประเทศและในยุโรปให้เป็นเครื่องยนต์เจ็ทมากที่สุดในปี 2519
ในปี 2521 ผู้จัดการบริษัทได้จัดซื้อสายการบินจากมินสเตอร์แอสเซท กลุ่มการเงินนั้นยังประกอบด้วยเซอร์ไมเคิล บิชอฟ ผู้ที่เป็นประธานสายการบินในปัจจุบัน และในปีนั้นเองบริติชมิดแลนด์ได้ร่วมตกลงกันกับสายการบินบริติช แอร์เวย์ในการแลกเปลี่ยนเส้นทาง โดยผลออกมาว่ามิดแลนด์แอร์เวย์ต้องยกเลิกภายในทวีประหว่างเบอร์มิงแฮมไปบรัสเซลล์และแฟรงก์เฟิร์ต ส่วนบริติช แอร์เวย์สามารถแฮนดิ่ง โอเวอร์เส้นทางลิเวอร์พูลไปฮีทโธร์ว,เบลฟาสต์,ดับลิน,เจอร์ซีย์,เกาะแมน และกลาสโกว์ ซึ่งผลทำให้มีผู้โดยสารมากกว่า 1 ล้านคน เป็นครั้งแรกในปี 2522
แอร์แคนาดา • แอร์นิวซีแลนด์ • ออลนิปปอนแอร์เวย์ • เอเชียน่า • ออสเตรียแอร์ไลน์ • บริติชมิดแลนด์ • ล็อตโปแลนด์ • ลุฟต์ฮันซา • สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม • สิงคโปร์แอร์ไลน์ • เซาต์แอฟริกันแอร์เวย์ • สแปนแอร์ • สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ • แท็ปโปรตุเกส • การบินไทย • ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ • ยูเอสแอร์เวย์
สายการบินท้องถิ่น: เอเดรียแอร์เวย์ • บลูวัน • โครเอเชียแอร์ไลน์
สมาชิกในอนาคต: แอร์ไชนา • เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ • ตุรกีแอร์ไลน์