ประทิน สันติประภพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2477)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และอธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมตำรวจ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 8 ก.พ.2537 - 30 ก.ย.2537
สารบัญ |
[แก้] ประวัติการทำงาน
เนื้อหาในส่วนนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และต้องการการแก้ไขโดยด่วนเพื่อสอดคล้องกับการเป็นสารานุกรม กรุณาดูบทสนทนาที่เกี่ยวข้องที่หน้าพูดคุยของบทความนี้ |
จากนายตำรวจตงฉิน สู่อธิบดีกรมตำรวจ และ สมาชิกวุฒิสภา ไต่เต้าจากนายตำรวจตงฉินนักบู๊ จากสันติบาลและสอบสวนกลาง สู่อธิบดีกรมตำรวจ มีเกียรติประวัติในด้านการสอบสวน และการปราบปรามการทุจริต โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายป่าไม้, ผู้อำนวยการป้องกันและปราบปราม การลักลอบทำแร่, ร่วมจัดตั้ง/ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อาสาสมัครรักษากฎหมายและคุ้มครองสิทธิประชาชน (ศอรก.)เมื่อ ก.ย.2538 หลังเกษียณราชการ (ในปี 2537) เข้ารับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรก (4 มี.ค.2543)
การเข้ามารับราชการตำรวจของ ประทิน สันติประภพ นั้นมีความคลุมเครืออย่างยิ่ง เนื่องจากในเบื้องต้น ประทิน สันติประภพ รับราชการเป็นทหาร ยศร้อยโท และในวันที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ กระทำรัฐประหาร ในปี 2500 ประทิน สันติประภพ ได้นำเอาสำเนาคำสั่งทางวิทยุของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ให้โอน ร.ท.ประทิน สันติประภพ มาเป็นตำรวจ โดยสำเนาคำสั่งนั้น มีเพียงพนักงานรับส่งวิทยุเท่านั้นที่เซ็นต์รับรอง แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ที่สับสน และมีการต่อสู้กันทางการเมืองระหว่างทหารและตำรวจ ยุคสฤษดิ์ และ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ การโอนย้ายจากทหารมาเป็นตำรวจ จึงเป็นไปโดยง่าย
การยื่นเรื่องต่อศาลฎีกากล่าวหา ป.ป.ช.ชุดที่มี พล.ต.อ. วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ เป็นประธาน ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบโดยออกระเบียบว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษให้ ปปช.ทั้งคณะ จนมีการตัดสินให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะดังกล่าว มีความผิดต้องพ้นจากตำแหน่ง
[แก้] การประกาศลาออก
เนื้อหาในส่วนนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และต้องการการแก้ไขโดยด่วนเพื่อสอดคล้องกับการเป็นสารานุกรม กรุณาดูบทสนทนาที่เกี่ยวข้องที่หน้าพูดคุยของบทความนี้ |
กรณีการชกหน้าสมาชิกรัฐสภา ในวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 เวลากลางวัน ระหว่างประชุมวุฒิสภา พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ได้ชกต่อยที่บริเวณใบหน้าของ นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกวุฒิสภาแม่ฮ่องสอน เหตุเกิดที่อาคารรัฐสภา เนื่องจากสาเหตุที่ สว. อดุลย์ ลุกจากที่นั่งเดินเข้ามาในระยะประชิด เพราะมีความเห็นขัดแย้งกัน กรณีการเผยแพร่เอกสารสมุดปกเหลือง "ความจริงที่ตากใบ" ของทีมงานที่นำวุฒิสภากลุ่มหนึ่ง นำโดย ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง การชกหน้าทำร้ายร่างกาย ของสมาชิกวุฒิสภาด้วยกัน ในขณะมีการประชุมวุฒิสภา คนทั่วไปมองว่าเป็นการกระทำที่เสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของสมาชิกวุฒิสภาอันทรงเกียรติ และเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกในประเทศไทย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2547 พลตำรวจเอกประทิน ได้แสดงความรับผิดชอบจากกรณีดังกล่าวในขั้นต้น ด้วยการลาออกจากคณะกรรมการจริยธรรมของวุฒิสภา จากนั้นหลังจากที่เหตุการณ์ชกต่อยในวุฒิสภาผ่านมาได้ 1 ปี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ ได้ประกาศลาออกจากสมาชิกภาพของ ส.ว. โดยให้เหตุผลว่า เพื่อรับผิดชอบเหตุการณ์ครั้งนั้น แต่เพื่อไม่ให้ประเทศต้องเสียเงินค่าเลือกตั้งซ่อม จึงลาออกในช่วง 6 เดือนสุดท้าย ก่อนที่วุฒิสภาจะหมดอายุลง และไม่ต้องมีเลือกตั้งใหม่
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2549 เวลา 0.30 น. พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ พร้อมด้วย คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้นำขบวนประชาชนที่มามาร่วมฟังรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร กว่า 2,000 คนเดินทางมายังหน้าทำเนียบรัฐบาล และได้บุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลในยามวิกาล เพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่ง
[แก้] เกียรติคุณและรางวัล
- บุคคลดีเด่นระดับชาติ สาขาการเมืองและการปกครองด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- โล่ประกาศเกียรติคุณ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในโอกาสครบรอบการสถาปนากรมป่าไม้ 97 ปี (2536)
- บุคคลยุติธรรมแห่งปี 2533 จากวารสารหมอความยุติธรรม
- รางวัล "สังข์เงิน"ประจำปี 2530 สาขาเสริมสร้างความสงบสุขในสังคม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ชีวประวัติของ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ จากเว็บไซต์วุฒิสภา
- ประทิน สันติประภพ ประวัติบุคคล สำนักข่าวไทย
กองโปลิศ/กรมกองตระเวน | เอส.เย.เอมส์ · พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) · เอ.เย.ยาดิน · อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน · พระยาวาสุเทพ |
กรมตำรวจ | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ · พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) · พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) · พระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) · อดุล อดุลเดชจรัส · พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) · พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมภะ) · หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) · เผ่า ศรียานนท์ · ไสว ไสวแสนยากร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · ประภาส จารุเสถียร · ประจวบ สุนทรางกูร · พจน์ เภกะนันทน์ · ศรีสุข มหินทรเทพ · มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น · สุรพล จุลละพราหมณ์ · ณรงค์ มหานนท์ · เภา สารสิน · แสวง ธีระสวัสดิ์ · สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ · ประทิน สันติประภพ · พจน์ บุณยะจินดา · ประชา พรหมนอก |
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ประชา พรหมนอก · พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ · สันต์ ศรุตานนท์ · โกวิท วัฒนะ · เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (รักษาการ) |
ประทิน สันติประภพ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประทิน สันติประภพ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |