พระเจ้าอินทวิชยานนท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พ.ศ. -- พ.ศ. 2439 ขึ้นครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2439) พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ทรงเป็นพระราชบิดาใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าประเทศราช พระองค์สุดท้าย ที่ทรงครองพระราชอำนาจเหนือล้านนาอย่างแท้จริง เพราะใน ๒ รัชสมัยต่อมา พระราชอำนาจในฐานะเจ้าผู้ครองได้ถูกลดลง และได้ถูกยกเลิกในที่สุด นับจาก พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ พระราชโอรส ได้เสด็จพิราลัย หากด้วยความจงรักภักดีที่ทรงถวายต่อ พระบรมราชวงศ์จักรี อย่างไม่สั่นคลอน กอปรกับทรงเป็นพระราชบิดาใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระมเหสีเทวีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ถวายแด่ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เพื่อแสดงว่าพระองค์ทรงพระราชทานถวายพระเกียรตินับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี นับเป็นพระเจ้าประเทศราช เพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับพระราชทานและยกย่องพระเกียรติยศดังกล่าว
สารบัญ |
[แก้] พระราชประวัติ
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศา มหาประเทศราชาธิบดี นพีสีนคราภิพงศ์ ดำรงพิพัฒน์ ชิยางคราชวงศา เจ้านครเชียงใหม่ ทรงราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง ณ เชียงใหม่, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ กับ แม่เจ้าคำหล้า และทรงเป็นราชปนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑ กับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี เศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า (ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ครอบครองป่าไม้ขุนยวม)
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีราชอนุชาและราชขนิษฐา ร่วมราชบิดา ๑๖ พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗
- เจ้าอุปราช บุญทวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ใน "เจ้าหญิงพันธ์คำ (ณ เชียงใหม่) สุขุม" ภริยา "คุณประสาท สุขุม" บุตรใน "เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)"
- เจ้าราชภาติกวงศ์ น้อยเทพวัง ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่
- เจ้าน้อยไชยลังกา ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงฟองนวล ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงดวงเทพ ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงบุญฝ้าย ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงคำทิพย์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าน้อยไชยวงศ์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าดวงทิพย์ ณ เชียงใหม่ - เจ้าปู่ใน "เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่" , "คุณหญิง เจ้าฉมชบา (ณ เชียงใหม่) วรรณรัตน์" , "เจ้าวัฒนา (ณ เชียงใหม่) โชตนา"
- เจ้าบุญสม ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงบัวใส ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงบัวเที่ยง ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงกาบเมือง ณ เชียงใหม่
- เจ้าน้อยอ๋อ ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงแว่นคำ ณ เชียงใหม่
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ และเสด็จพิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๓๙ รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร ๒๓ ปี ภายหลังเสด็จพิราลัย พระบรมอัฐิส่วนหนึ่งได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ พระสถูปใน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอกวรมหาวิหาร และอีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอด ดอยอินทนนท์ อันเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงรักและหวงแหนมากที่สุด
[แก้] ราชโอรส ราชธิดา
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม ๑๑ พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ มีพระนาม ดังนี้
[แก้] แม่เจ้าทิพไกรสรราชเทวี
ใน แม่เจ้าทิพไกรสรราชเทวี - ราชธิดาใน พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ (มีราชธิดา ๒)
- เจ้าหญิงจันทรโสภา ณ เชียงใหม่ - (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
- พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้] แม่เจ้ารินคำราชเทวี
ใน แม่เจ้ารินคำราชเทวี - ราชธิดาใน "เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖" (มีราชโอรส ๑)
[แก้] แม่เจ้าเขียวเทวี
ใน แม่เจ้าเขียวเทวี (มีราชโอรส ๒)
- มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙
- เจ้าจอมจันทร์ ณ เชียงใหม่
[แก้] แม่เจ้าเทพ
ใน แม่เจ้าเทพ - เจ้านายราชตระกูล "ณ ลำปาง" (มีราชโอรส ๒)
- เจ้าน้อยโตน ณ เชียงใหม่
- เจ้าแก้วปราบเมือง ณ เชียงใหม่
[แก้] หม่อมช่างซอ
ใน หม่อมช่างซอ (มีราชโอรส ๑)
- เจ้าน้อยมหาวัน ณ เชียงใหม่ - ราชโอรสองค์ใหญ่
[แก้] หม่อมคำ
ใน หม่อมคำ (มีราชโอรส ๑ ราชธิดา ๑)
- เจ้าราชวงศ์น้อยขัติยะ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ทวดใน "เจ้าวงศ์จันทร์ (ณ เชียงใหม่) คชเสนี" เจ้ามารดาใน "คุณหญิงวิจันทรา (คชเสนี) บุนนาค"
- เจ้าหญิงคำข่าย ณ เชียงใหม่ - สมรสกับ "เจ้าน้อยมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่" คหบดีแห่งบ้านสันทรายมหาวงศ์, โอรสใน "เจ้าหญิงฟองสมุทร" ราชธิดาใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑" และเป็นราชปนัดดา (หลาน-ปู่ทวด) ใน "เจ้าฟ้าจุฬามณีสิริเมฆ ภูมินทนรินทาเขมาธิบติราชา (เจ้าฟ้าชายสาม), เจ้าฟ้านครเชียงตุง องค์ที่ ๑" ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ "เม็งรายมหาราช"
[แก้] หม่อมป้อม
ใน หม่อมป้อม (มีราชธิดา ๑)
- เจ้าหญิงคำห้าง ณ เชียงใหม่ - สมรสกับ "เจ้าราชภาคินัย น้อยสิงห์โต ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"
[แก้] เอกสารอ้างอิง
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ). เชียงใหม่: มิ่งเมือง, ๒๕๔๐.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง).
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ ๑๐๐ ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช ๒๓๘๗ - ๒๔๕๖. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., ๒๕๔๖
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๙.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html.
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราชวงศ์เจ้าเจ็ตตน | ||
---|---|---|
พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ · พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา·เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น· เจ้าหลวงพุทธวงศ์ · พระเจ้ามโหตรประเทศ · พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ · พระเจ้าอินทวิชยานนท์ · เจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ · เจ้าแก้วนวรัฐ | ||
แก้ |