ฟ้อนกลายลาย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟ้อนกลายลาย (อ่านฟ้อนก๋ายลาย)หรือฟ้อนเมืองกลายลาย ชื่อของการฟ้อนแบบนี้ น่าจะหมายถึงฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง (ลาย) เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ทั้งนี้เพระ ฟ้อนเมือง หมายถึง การฟ้อนพื้นเมืองล้านนากลายหมายถึงการเปลี่ยนแปลง (ลีลาท่าฟ้อน) และ ลาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิง ในที่นี้หมายถึงลีลาการร่ายรำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
ฟ้อนเมืองกลายลายได้มีการค้นพบโดยนายสุชาติ กันชัย และนายสนั่นธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๓๑ ที่ชุมชนไทลื้อ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ชาวไทลือกลุ่มนี้อพยพมาจากเมืองหาง สหภาพพม่า
ฟ้อนเมืองกลายลายนี้ ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ บ้านแสนตองที่มีมาแตเดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือในปัจจุบัน จึงมีการสันิฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น (ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี และคงเป้นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อน ๆ ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว
[แก้] ท่าฟ้อน
การฟ้อนเมืองกลายลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้ แต่เมื่อจะแลกลาย(ใส่ลีลาลูกเล่น)กับผู้ฟ้อนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือน ๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เคล่งคัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้
- ไหว้
- บิดบัวบาน
- เสือลากหาง
- ลากลง
- แทงบ่วง
- กาตากปีก
- ใต้ศอก
- เท้าแอว
- ยกเข่า
- ยกแอว
- เต็กลาย(แลกลาย)
- เล่นศอก
- เต็กลายลุกยืน
- บัวบานกว้าง
ส่วนท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรสักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด ๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่ มีหลายท่าที่ศิลปฺนท้องถิ่นลืมชือ จึงเรียกตามลักษณะท่าฟ้อน ซึ่งทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและฝึกซ้อม โดยมีท่าต่าง ๆ ดังนี้
- ไหว้
- บิดบัวบาน
- เสือลากหาง
- แทงบ่วง
- กาตากปีก
- ใต้ศอก
- ไล่ศอก
- จีบข้างเอกหมุน
- บัวบานคว่ำหงาย
- ยกเอวสูง
- แลกลาย
- ใต้ศอก(นั่ง-ยืน)
- แลกลาย
- ยกเอวต่ำ
- บัวบานคว่ำหงาย
- ม้วนไหม(เข่า)
- ใต้ศอกนั่ง
- ตวัดเกล้า
- ใต้ศอกลุก
- ไหว้
[แก้] การแต่งกาย
เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน อันเกิดมาจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทานผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่น ๆ ที่ฟ้อนเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่มขบวนด้วย ดังนั้นการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสือมาอย่างไรก็ฟ้อนชุดนั้นเลย
[แก้] ดนตรีประกอบการฟ้อน
ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตนั้นใช้กลองสิ้งมหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน บางทีเรียก "แห่มองซิงมอง"บางครั้งก็ใช้กลองกลองตึ่งนง(กลองแอว) ปัจจุบันใช้กลองมองเซิงแห่ประโคใกรฟ้อน ซึ่งเริ่มมาประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง
ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายใหอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป
[แก้] อ้างอิง
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
- สารนุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เรื่อง ฟ้อนเมืองกลายลาย หน้า ๔๘๗๖-๔๘๘๔
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- สายสม ธรรมธิ