ฟ้อนสาวไหม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟ้อนสาวไหมปรากฏอยู่สองแบบ คือสาวไหมในการฟ้อนเชิง(เจิง)หรือร่ายรำท่าต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งมีลีลากระบวนท่าที่แน่นอน (ดูที่ฟ้อนเชิง) และการฟ้อนสาวไหมที่เป็นการฟ้อนของผู้หญิงที่แสดงความเคลื่อนไหวในลีลาร่ายรำที่นุ่มนวล มิได้ร้อนแรงเหมือนอย่างที่ปรากฏในเชิงต่อสู้
สารบัญ |
[แก้] ประวัติฟ้อนสาวไหม
พบว่าการฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ชาวอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเรียนเชิงมาจากพ่อครูปวน ซึ่งพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ได้เป็นครูเชิง หรือผู้สอนฟ้อนเชิง คือการฟ้อนด้วยมือเปล่าของผู้ชายในลีลาท่ารำในเชิงต่อสู้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕ "พ่อครูกุย"ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลแวกวัดศรีทนายมูล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพ่อครูกุย ได้ถ่ายทอดการฟ้อนให้แก่บุตรสาว คือ แม่ครูบัวเรียว(สุภาวสิทธิ์)รัตนมณีภรณ์ เมื่อแม่ครูอายุราว ๗ ขวบ
ต่อมาพ่อครูโม ใจสม ชาวมอญพระประแดงซึ่งเป็นนักดนตรีนาฏศิป์ไทยจากเชียงใหม่ ได้อพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ซึ่งพ่อครูโมก็ได้ช่วยฟื้นฟู "วงกลองเต่งถิ้ง" ของวัด สอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทยจนมีนักดนตรีไทยฝีมือดีหลายคน ในช่วงเวลานั้นแม่ครูบัวเรียวได้ฝึกนาฏศิลป์กับพ่อครูโมด้วย เมื่อมีงานฉลองในวัดที่เกี่ยวข้องกับวัดศีทรายมูลแล้ว เจ้าอาวาทและคณะศรัทธาก็มักจะนำดนตรีและช่างฟ้อนมาร่วมในงาน ซึ่งแม่ครูบัวเรียวก็ได้ไปร่วมฟ้อนด้วย โดยเพาะแม่ครูมักจะฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม่ครูได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนสาวไหมเชิงต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยงดงามและให้ลงจังหวะดนตรี แบบนาฏศิลป์ไทย ขณะเดียวกันดนตรีประกอบการฟ้อนแต่เดิมใช้ดนตรีพื้นเมืองประเภทใดก็ได้นั้น ก็เริ่มใช้วงกลองเต่งถิ้ง บรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว และฤาษีหลงถ้ำ ซึ่งต่อมาเห้นว่าไม่กระชับ จึงเลือใช้เพลง"สาวไหม" แทนซึ่งเพลงนี้ ท่านผู้รู้บางท่าน ก็ว่าเป็นเพลงที่พ่อครูโมดัดแปลงจากเพลง"ลาวสมเด็จ"เพื่อใชประกอบการฟ้อนสาวไหม
ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๓ คณะศรัทธาจากวัดศรีทรายมูลได้ไปช่วยการฟ้อนที่วัดถ้ำปุ่มถำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครั้งนั้น นายอินทร์หล่อ สรรพศรี ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยชั้นครูของเชียงรายได้ไปเห็นการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวด้วย ต่อมานายอินทร์หล่อ ได้ชมการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่งานวัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้เชิญให้พบกับภรรยาของตนคือ แม่ครูพลอยศรี สรรพศรี ซึ่งเป็นช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีด้วย "แม่ครูพลอยศรี" ได้ปรับปรุงแก้ไขท่าฟ้อนของแม่บัวเรียว จากเดิม มี๑๓ ท่าฟ้อนให้เป็น ๒๑ ท่าฟ้อน
แต่ถึงกระนั้นการฟ้อนแบบต้นฉบับของแม่ครูบัวเรียวยังเป็นที่นิยมแถ่ยทอดแก่ลูกศิษย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
[แก้] ท่าฟ้อนต้นฉบับแม่ครูบัวเรียว
โดยท่าฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่เป็นมาตรฐาน มี ๑๔ ท่าฟ้อน ดังนี้
- เทพนม
- บิดบัวบาน
- พญาครุฑบิน
- สาวไหมช่วงยาว
- ม้วนไหมซ้าย
- ม้วนไหมขวา
- ม้วนไหมกวง
- ม้วนไหมใต้เข่า
- ม้วนไหมใต้ศอก
- สาวไหมรอบตัว
- ปั่นไหมในวง
- พุ่งหลอดไหม
- คลี่ปมไหม
- ทอเป็นผืนผ้า
[แก้] ท่าฟ้อนของแม่ครูพลอยศรี
โดยท่าฟ้อนของแม่ครูพลอยศรี มี ๒๑ ท่าฟ้อนดังนี้
- ไหว้
- บิดบัวบาน
- บังสุริยา
- ม้วนไหมศอซ้าย
- ม้วนไหมศอกขวา
- ม้วนไหมซ้ายล่าง
- ม้วนไหมขวาล่าง
- สาวไหมกับเข่าซ้าย
- ม้วนไหมวงศอก
- สาวไหมช่วงสั้นรอบตัว
- ว้นไหมซ้าย
- สาวไหมช่วงยาวรอบตัว
- คลี่ปมไหม
- พุ่งกระสวยเล็ก
- สาวขึ้นข้างหน้า
- ขึงไหมข้างหน้า
- ม้วนไหมเป็นขดโดยใช้ศอกซ้าย
- ม้วนไหมเป็นขดโดยใช้ศอกขวา
- สาวรอบตัวอีกครั้ง
- เอามาม้วนใต้ศอกซ้ายอีก
- ไหว้
[แก้] เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
[แก้] อ้างอิง
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
- สารนุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เรื่อง ฟ้อนสาวไหม หน้า ๔๘๙๔-๔๙๐๒
- หนังสือ ฟ้อนเชิง :อิทธิพลที่มีต่อฟ้อนในล้านนา โดยศุนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๗
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ (ครูฟ้อนสาวไหม)
- อดม รุ่งเรืองศรี