ยัติภังค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยัติภังค์ | |||||||
- |
|||||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จุดไข่ปลา ( … ) ( ... ) |
|||||||
การแบ่งวรรคตอน | |||||||
เว้นวรรค ( ) ( ) ( ) |
|||||||
เครื่องหมายวรรคตอนไทย | |||||||
โคมูตร ( ๛ ) |
|||||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
กรณฑ์ ( √ ) |
ยัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีด (hyphen) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนสั้นๆ กลางบรรทัด หากเขียนเป็นเส้นยาวจะเรียกว่ายัติภาค มีการใช้ดังนี้
- ใช้รวมคำต่างชนิดกัน เพื่อใช้เป็นส่วนขยายหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ นิยมใช้ในภาษาอังกฤษและภาษาละตินอื่นๆ
- twentieth-century invention
- cold-hearted person
- award-winning show
- สามารถใช้เป็นตัวแบ่งพยางค์ในการอ่านคำ
- ยัติภังค์ อ่านว่า ยัด-ติ-พัง
- syllabification = syl-lab-i-fi-ca-tion
- ใช้บ่งบอกว่าคำตรงท้ายบรรทัดค่อนข้างยาวและยังเขียนไม่จบคำ แต่จำเป็นต้องขึ้นบรรทัดใหม่
- ศาลภาษีอากรกลางตัดสินคดีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะฟ้องเจ้า-
- พนักงานประเมินภาษีส่งเงินภาษีรับโอนหุ้นคืนโดยไม่ชอบ โดยศาลวินิจ-
- ฉัยว่าการขายหุ้นที่ได้มาจากการซื้อนอกตลาดหลักทรัพย์ ในตลาด-
- หลักทรัพย์ ...
- ศาลภาษีอากรกลางตัดสินคดีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะฟ้องเจ้า-
- ใช้เป็นสัญลักษณ์นำหัวข้อย่อยที่ไม่ต้องการเรียงลำดับ
- ภาษาไทยใช้ยัติภังค์ในการอ้างถึงสระ เพื่อให้มองเห็นการวางตำแหน่งของสระ โดยสมมติให้ยัติภังค์เป็นพยัญชนะใดๆ และอ่านเหมือนมี อ เป็นพยัญชนะต้น (บางเบราว์เซอร์อาจมองไม่เห็นรูปสระบนและล่าง)
- -ะ -า -ิ -ี -ื -ึ -ุ -ู เ-ะ เ- แ-ะ แ- ฯลฯ
- ภาษาไทยใช้ยัติภังค์แทนการบอกถึงการประมาณช่วงค่า หรือการบอกต้นทางไปยังปลายทาง อ่านว่า ถึง ส่วนภาษาละตินอื่นๆ จะใช้ยัติภาคแทน
- มือถือรุ่นนี้ราคาทั่วไป 8000-9000 บาท
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ปากเกร็ด - นครราชสีมา)
- ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ยัติภังค์สามารถใช้แทนการลบ หรือจำนวนติดลบ
- 3 - 2 = 1
- ศูนย์องศาสัมบูรณ์อยู่ที่ -273 องศาเซลเซียส
![]() |
ยัติภังค์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ยัติภังค์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |