ฮวงจุ้ย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮวงจุ้ย (อังกฤษ:Feng Shui - ตัวอักษรจีนแบบง่าย: 风水 - ตัวอักษรจีนดั้งเดิม: - 風水 - พินอิน: fēngshuǐ - IPA: /fɤŋ ʂueɪ/) ฮวงจุ้ยหมายถึง สภาวะแวดล้อม หรือการอยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ในคติของชาวจีน มีลักษณะใกล้เคียงสถาปัตยกรรมศาสตร์ คำว่า ฮวงจุ้ย มาจากคำว่า ลม(ฮวง)และ น้ำ(จุ้ย) ออกเสียงตามสำเนียง จีนแต้จิ๋ว
ฮวงจุ้ย นี้อาศัยหลักการของการไหลเวียนของลมและน้ำในspaceของสภาพแวดล้อมต่างๆ สิ่งนี้เราเรียกมันว่า ของไหล ซึ่งนักอวงจุ้ยที่ดีต้องนำของไหลที่ดีมาทดแทนของไหลที่ไม่ดี หรือปิดกั้นมิให้ของไหลบางอย่างที่ไม่ดีมารบกวนผู้อยู่อาศัย
ศาสตร์นี้มาจากประเทศจีน ดังนั้นผู้ที่ศึกษาและอาจารย์มักจะมีเครื่องรางที่มาจากจีนมาใช้ในการแก้ ความเป็นจริงแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ไม่เหมือนกันเลยในแต่ละเขตของโลก สภาพภูมิอากาศคนละอย่าง ในเรื่องของพิธีกรรมจีนจึงมีบทบาทกับฮวงจุ้ย กับทุกประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากัน
ในเมืองไทย บ้านเรือนไทยสมัยก่อนจัดว่าถูกหลักของการจัดฮวงจุ้ยที่ถูกต้องในสภาพอากาศนี้ สำหรับในปัจจุบันบ้านเรือนไทยอาจจะไม่เหมาะ เนื่องจากราคาสูง ดังนั้นสถาปนิกที่มีต้องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรม
การจัดตามหลักฮวงจุ้ยนั้นมีการจัดเพื่อการณ์หลายอย่างตามการใช้งานที่เจ้าของอย่างให้เป็น ดังนั้นพื้นที่(space)กับอารมณ์(mood)มีส่วนสำคัญกับงานฮวงจุ้ย อารมณ์ของคน มีส่วนกับดวงชะตา วันเดือนปีเกิด และดวงดาวรวมถึง หลักเชิง จิตวิทยา ไม่แปลกเลยที่คนส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจ และบอกว่าฮวงจุ้ยเป็นเรื่องงมงาย