เซ็นทรัลเวิลด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซ็นทรัลเวิลด์ เดิมชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นโครงการศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ ตัดกับถนนพระราม 1
แต่ก่อนที่นี่คือ โครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินการโดยบริษัท วังเพชรบูรณ์ ของนายอุเทน เตชะไพบูลย์ สร้างบนที่ตั้งเดิมของวังเพชรบูรณ์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 ส่วนศูนย์การค้าเริ่มเปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2532 ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าเซ็น (ZEN) และ อิเซตัน (Isetan)
เมื่อบริษัท วังเพชรบูรณ์ ประสบปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงแรมและอาคารสำนักงานให้แล้วเสร็จ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นเข้ามาประมูลเป็นผู้บริหารศูนย์การค้า ซึ่งบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาคือ เซ็นทรัล และเดอะมอลล์
ปัจจุบันโครงการนี้บริหารงานโดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (CPN) โดยเริ่มจากเข้ามาทำอาคารสำนักงาน ที่ทางเวิลด์เทรด ทำค้างไว้ มาต่อเติม และทำใหม่ จึงกลายเป็น ดิ ออฟฟิเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ (THE OFFICES AT CentralWorld)
จากนั้นเริ่มปรับปรุงฝั่งศูนย์การค้าโดนเปลี่ยนชื่อเป็น เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า (CENTRAL WORLD PLAZA) เพื่อทำการปรับปรุง ให้ลูกค้าได้ทำความรู้จัก
ต่อมา ได้สร้างสะพานลอยฟ้า ชื่อ เซ็นทรัลเวิลด์ สกายวอรค์ (CentralWorld Skywalk)เพื่อตอบสนองจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นในอนาคต
เมื่อเข้าสู่ปี 2549 ได้เวลาที่เซ็นทรัลเวิลด์ จะได้เผยโฉมที่แท้จริง โดยทำการปรับปรุงทั้งบริเวณโดยรอบทั้งหมด โดยประกอบด้วย - ห้างสรรพสินค้า เซน ชูจุดเด่น The First ever Asia Trendy Mega Store ได้เปิดบริการแล้วในวันที่ 25 ธันวาคม 2549
- อาคาร เซน เวิลด์ (ZENWorld)อาคารสูง 13 ชั้น ประกอบด้วย ลานกิจกรรม โรงเรียน ฟิตเนส บาร์ ร้านอาหาร สปา เปิดบริการเดือนกันยายนนี้
- ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ มีทั้งหมด 6 โซน มีร้านค้ากว่า 500 ร้านค้า โรงภาพยนตร์ 2 โรง, ร้านค้าพิเศษ 3 ร้าน, ฟู้ดฮอลล์, ห้องสมุด, อาคารจอดรถ, ร้านอาหารกว่า 50 ร้าน,
ขณะนี้ได้เปิดครบทุกโซนแล้ว เหลือส่วนของร้านค้าโซน A ที่ยังตกแต่งไม่เสร็จ
- โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอนด์ บางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ CENTARA GRAND AND Bangkok Convention Center at CentralWorld
ประกอบด้วย โรงแรม 55 ชั้น ศูนย์จัดนิรรศการและการประชุม ร้านอาหาร เปิดบริการมกราคมปี 2551
[แก้] อาคารและสถานที่สำคัญภายในบริเวณศูนย์การค้า
- เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า เป็นศูนย์การค้าชูจุดเด่น THE LARGEST LIFESTYLE SHOPPING COMPLEX IN SOUTHEAST ASIA AND HONGKONG ซึ่งมีร้านค้าต่างๆ เช่น
- ร้านสินค้าแบรนด์เนม เช่น
- ร้าน Next จากอังกฤษ
- ร้านขายรองเท้า Camper จากสเปน
- ร้านขายเสื้อผ้า Country Road จากออสเตรเลีย
- ร้านขายเสื้อผ้าชายหญิง Ted Baker จากอังกฤษ
- แฟชั่นเสื้อผ้าชายหญิง Zara จากสเปน
- ร้านแฟชั่น Episode จากฮ่องกง
- ร้านแฟชั่นวัยรุ่น Miss Sixty จากฝรั่งเศส
- ร้านสินค้าแบรนด์เนม เช่น
-
- ร้านค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล
- บีทูเอส ร้านหนังสือ เครื่องเขียน บันเทิง ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
- พาวเวอร์บาย ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในเอเชีย
- ซูเปอร์สปอร์ต ศูนย์รวมอุปกรณ์กีฬาใหญ่ที่สุดในเอเชีย
- เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ เป็นฟู้ดฮอลล์ที่ดีที่สุดในเอเชีย
- ร้านค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล
-
- โรงภาพยนตร์
- Major Cineplex
- SFWorld
- โรงภาพยนตร์
-
- อุทยานการเรียนรู้(TK Park)ห้องสมุดทันสมัยแห่งแรกในประเทศไทย
- ห้างสรรพสินค้าเซ็น(Zen)ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
- ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน(Isetan)ห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นแห่งเดียวในประเทศไทย
- อาคารสำนักงาน(The Offices at CentralWorld)
- โรงแรม (CENTARA GRAND AND Bangkok Convention Center at CentralWorld)
- ลานกิจกรรมเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์(CentralWorld Square)ลานกิจกรรมกลางแจ้งใจกลางเมือง
- พื้นที่จอดรถเซ็นทรัลเวิลด์ อเวนิว (CentralWorld Avenue)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นบทความเกี่ยวกับ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เซ็นทรัลเวิลด์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |