เภสัชจลนศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภสัชจลนศาสตร์ (อังกฤษ:Pharmacokinetics) คือสาขาหนึ่งของวิชาเภสัชวิทยา ที่ว่าด้วยการศึกษาช่วงเวลาของสารประกอบ และส่วนที่สะลายตัวของมันอยู่ในร่างกายหรือระบบของสิ่งมีชีวิต ในทางปฏิบัติสารประกอบดังกล่าวอาจเป็นยา สารอารหาร เมตาโบไลต์ ฮอร์โมน สารพิษ ฯลฯ ในขณะที่เภสัชพลศาสตร์เป็นการศึกษาว่ายามีผลอะไรต่อร่างกาย ฟาร์มาโคไคเนติกส์กลับเป็นการสำรวจว่าร่างกายมีผลอะไรต่อยาบ้าง
เภสัชจลนศาสตร์ โดยกว้าง ๆ สามารถแบ่งเป็น 2 หัวข้อได้ดังนี้ คือ การดูดซึม (Absorption) และการคงอยู่ของยาในร่างกาย การคงอยู่ของยาในร่างกายแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ขั้นตอนคือ การกระจายตัวของยา (Distribution) เมแทบอลิซึม(Metabolism) การกำจัดออกจากร่างกาย (Elimination or Excretion) ดังนั้นกระบวนการทั้งหมดของเภสัชจลนศาสตร์จึงมีอยู่ 4 ขั้นตอนและมีตัวย่อเพื่อให้จำง่ายคือ ดกผข หรือ ADME ในปัจจุบันมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมาอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งในทางเภสัชจลนศาสตร์ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญเช่นกันคือ Liberation หรือการแตกตัวของยา