เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549-2550 เป็นเหตุลอบวางระเบิดตามจุดต่างๆ หลายจุดในกรุงเทพมหานคร เมื่อเย็นและดึก วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ตามเวลาในประเทศไทย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 3 คน ได้รับบาดเจ็บไม่น้อยกว่า 20 คน [1] [2] โดยจุดที่มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่บริเวณที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนจุดอื่นๆ ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ได้แก่ บริเวณแยกสะพานควาย และ ชุมชนไผ่สิงโต เขตคลองเตย ฯลฯ
[แก้] จุดเกิดเหตุ
- จุดเกิดระเบิด เวลา 18.00 น.[3]
- บริเวณป้ายรถประจำทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งวิคตอรี่คอร์เนอร์ ใกล้ภัตตาคารพงหลี
- หน้าร้านจุ่นซีดี ติดศาลเจ้าพ่อเสือ ตลาดคลองเตย ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย
- ป้อมตำรวจจราจร แยกสะพานควาย ถนนพหลโยธิน
- ป้อมตำรวจจราจร ปากซอยสุขุมวิท 62 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง
- ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
- ป้อมตำรวจจราจร สี่แยกแคราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
- จุดเกิดระเบิด เวลา 24.00 น.[4]
- บริเวณสะพานข้ามคลองแสนแสบ ใกล้ศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวิลด์
- หน้าโรงแรมอโนมา ใกล้ศูนย์การค้า เกสรพลาซ่า
[แก้] ปฏิกิริยา
ปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ตามรายงานข่าว
- หลังเหตุการณ์ระเบิดเมื่อเวลา 18.00 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องยังคงถ่ายทอดรายการตามปกติ มีเพียงตัววิ่งด้านล่างจอโทรทัศน์ ยกเว้น สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เนชั่นแชนแนล และเอเอสทีวี ที่รายงานข่าวอย่างใกล้ชิด [5]
- อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศยกเลิก งานเฉลิมฉลอง เพื่อนับถอยหลัง (เคานท์ดาวน์) เข้าสู่ปีใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานครทุกงาน
- พรรคไทยรักไทย ได้ออกมาแถลงว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ได้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ตามที่มีข่าวลือออกมา [6]
- สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฟันธงว่า เหตุการณ์ระเบิดดังกล่าว เกิดจาก ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี [7]
- พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร รวมถึงยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน [8]
[แก้] อ้างอิง
- ↑ Explosions rock Bangkok; New Year's events canceled CNN WORLD เรียกข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2549
- ↑ Bangkok Explosions Leave Two Dead BBC News เรียกข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2549
- ↑ วินาศกรรมกรุง บึม6แห่ง ฉีก2ศพ-เจ็บ28 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 1 มกราคม พ.ศ. 2550
- ↑ ระเบิดอีก 2 จุด ย่านเซ็นทรัล เวิลด์ คนไทยเจ็บ 1 ต่างชาติ 6 ไทยรัฐออนไลน์ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
- ↑ ระเบิดที่ กทม. คอลัมน์ เห็นมาอย่างไร เขียนไปอย่างนั้น โดย อนุภพ, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
- ↑ TRT denies masterminding bombs
- ↑ “สนธิ” ฟันธงฝีมือคลื่นใต้น้ำบึ้มป่วนกรุง สั่งสอน คมช.-รัฐบาล
- ↑ นายกฯ สั่งสอบเตรียมการเหตุบึ้ม - ไม่ประกาศภาวะฉุกเฉิน
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |
แม่แบบ:โครงข่าว