กระทรวงแรงงาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงแรงงาน | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
||||||||||||||||||
|
กระทรวงแรงงาน (Ministry of Labour)
สารบัญ |
[แก้] วิสัยทัศน์
กระทรวงแรงงานเป็นองค์กรหลักในการบริหารแรงงาน พัฒนาประชากรให้มีงานทำ มีศักยภาพสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน มีหลักประกันมั่นคง และคุณภาพชีวิตที่ดี
[แก้] พันธกิจ
- สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาฝีมือแรงงาน เสริมสร้างศักยภาพองค์ความรู้และความสามารถของกำลังแรงงาน
- ส่งเสริม ขยายโอกาสและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพและมีงานทำของประชากร รวมทั้งจัดระบบการทำงานของแรงงานต่างด้าวและคุ้มครองคนหางาน
- คุ้มครองแรงงานให้มีความมั่นคง มีความปลอดภัย ได้รับค่าตอบแทนการทำงานที่เป็นธรรม และมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี
- บริหารจัดการให้แรงงานมีหลักประกันการดำรงชีวิตที่มั่นคง
- พัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการด้านแรงงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
[แก้] เป้าประสงค์
1.แรงงานทั้งในและนอกระบบ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งงาน เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพ
2.แรงงานมีความรู้ ทักษะ และฝีมือตามมาตรฐานสากล
3.แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบได้รับการคุ้มครองให้มีคุณภาพชีวตที่ดีในการทำงาน และมีหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต
4.ผู้ประกอบการมีระบบการจัดการแรงงานที่ดีตามมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันทางการค้ากับนานาประเทศ
5.กระทรวงแรงงานมีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของสังคม
[แก้] แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2548-2551
ในช่วง 4 ปีข้างหน้าจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนวัยทำงาน ซึ่งเป็นฐานรากในการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ โดยให้สามารถเข้าถึงแหล่งการมีงานทำมากขึ้น ได้รับการคุ้มครองมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมาย ได้รับการพัฒนาฝีมือ ตลอดช่วงวัยทำงาน เพื่อให้มีฝีมือและศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ รวมทั้งการจัดระบบ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอย่างเหมาะสม ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพองค์กรให้มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้าน ได้แก่
1. การขยายโอกาสและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพและการมีงานทำเพื่อขจัดความยากจน โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดหางานในระบบ เพื่อเสริมสร้างโอกาสและทางเลือกในการหางานทำและประกอบอาชีพ
2. การคุ้มครองทางสังคมให้แรงงานมีหลักประกันที่เหมาะสม โดยการสร้างและขยายระบบการคุ้มครองทางสังคมสู่แรงงานนอกระบบและพัฒนาประสิทธิภาพการคุ้มครองและสร้างหลักประกันทางสังคม รวมทั้งเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่แรงงานในระบบอย่างทั่วถึง ตลอดจนการดูแลและรักษาสิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีหลักประกันที่มั่นคง
3. การเสริมสร้างและดำเนินการพัฒนาศักยภาพแรงงาน โดยการพัฒนาศักยภาพแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงวัยการทำงานเพื่อเป็นส่วนในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
4. การจัดระบบบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว โดยการวางระบบฐานข้อมูลและการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย รวมทั้งการประสานความร่วมมือและเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อจัดระบบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้มีความเหมาะสม สามารถสนับสนุนการประกอบการโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
5. การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านแรงงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรในองค์กรสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านแรงงานเพื่อการบริหารและติดตามประเมินผล รวมทั้งการพัฒนากฎระเบียบให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน |
---|
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | ชวลิต ยงใจยุทธ · ไพฑูรย์ แก้วทอง · สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ · พิศาล มูลศาสตรสาทร · ประสงค์ บูรณ์พงศ์ · ฉัตรชัย เอียสกุล · มนตรี ด่านไพบูลย์ · ไตรรงค์ สุวรรณคีรี · สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ · วุฒิ สุโกศล · ประชา พรหมนอก · เดช บุญ-หลง |
กระทรวงแรงงาน | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ · อุไรวรรณ เทียนทอง · สรอรรถ กลิ่นประทุม · สมศักดิ์ เทพสุทิน · อภัย จันทนจุลกะ |
สำนักนายกรัฐมนตรี · กลาโหม · การคลัง · การต่างประเทศ · การท่องเที่ยวและกีฬา · การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ · เกษตรและสหกรณ์ · คมนาคม · ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม · เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร · พลังงาน · พาณิชย์ · มหาดไทย · ยุติธรรม · แรงงาน · วัฒนธรรม · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี · ศึกษาธิการ · สาธารณสุข · อุตสาหกรรม |