Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Web Analytics
Cookie Policy Terms and Conditions กฎหมาย - วิกิพีเดีย

กฎหมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ หรือภาษาที่ใช้
ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือในหลายส่วนด้วยกัน
คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน
กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งสามารถดูตัวอย่างบทความได้ที่ บทความคุณภาพ และเมื่อแก้ไขตามนโยบายแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้

สารบัญ

[แก้] นิยามของกฎหมาย

เราสามารถพิจารณากฎหมายแยกออกได้เป็น สองประการคือ การพิจารณากฎหมายในแง่เนื้อหาหรือเนื้อความ และการพิจารณากฎหมายในแง่วิธีการบัญญัติ

  • กฎหมายในแง่เนื้อความหรือเนื้อหา

ในแง่เนื้อความ อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายเป็นกฎทีสถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ กฎหมายในแง่เนื้อหามีองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มีสภาพแตกต่างจากศีลธรรมก็คือ กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ที่มีสภาพบังคับให้ต้องกระทำตามกฎหมาย

  • กฎหมายในแง่วิธีการบัญญัติ

กฎหมายที่จะถูกยอมรับเป็นกฎหมายเมื่อพิจารณาจากวิธีนี้ก็คือ ก็คือกฎหมายซึ่งได้ถูกบัญญัติไว้ตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อให้มีสภาพเป็นกฎหมาย จะเห็นได้ว่าหากพิจารณากฎหมายแต่ในแง่เนื้อความ กฎหมายเช่นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็อาจจะไม่ใช่กฎหมาย เราจึงต้องแบ่งการพิจารณากฎหมายออกเป็นสองประการ


[แก้] การแบ่งระบบกฎหมาย

กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายทั่วไป (common law) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าcommon lawไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

  • ระบบกฎหมายทั่วไป

เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น

  • ระบบประมวลกฎหมาย

เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรปและในประเทศไทย โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกำหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกำหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี


[แก้] หน้าที่ของกฎหมาย

กฎหมายมีหน้าที่หลัก 5 ประการด้วยกัน

  1. สร้างและรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และความมั่นคงของสังคม เช่น กฎหมายอาญาที่ลงโทษผู้กระทำผิดและทำให้คนกลัวไม่กล้าทำผิด หรือพระราชบัญญัติปราบปรามยาเสพติด ได้กำหนดวิธีการเข้าตรวจค้นผู้ต้องสงสัยได้ง่าย เพื่อให้การกระทำผิดเกิดขึ้นได้ยาก
  2. ระงับข้อพิพาท เช่น กฎหมายที่ถูกนำมาพิจารณาในชั้นศาลเพื่อให้คดีความเป็นอันยุติ
  3. เป็นวิศวกรสังคม กฎหมายทำหน้าที่วางแนวทางและแก้ไขปัญหาสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่นกฎหมายผังเมือง กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
  4. จัดสรรทรัพยากรและสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายด้านภาษีอากร กฎหมายจัดสรรงบประมาณ กฎหมายการปรับดอกเบี้ย
  5. จัดตั้งและกำหนดโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดการเลือกตั้งและการทำงานของรัฐสภา ศาล และคณะรัฐมนตรี

[แก้] ปรัชญากฎหมายพื้นฐาน

  1. กฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องอยู่คู่กับเหตุผล เสมือนเป็นวัตถุและเงา หากไม่มีเหตุผล คนย่อมไม่อยากปฏิบัติตามกฎหมาย
  2. กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความยุติธรรม แต่หาใช่ความยุติธรรมไม่
  3. กฎหมายมิใช่เป็นเพียงเรื่องปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องกำหนดอนาคต จึงมิสมควรปล่อยให้กฎหมายล้าหลังหรือมีช่องโหว่ ดังคำกล่าวที่ว่าอย่าปล่อยคนตายเขียนกฎหมายให้คนเป็น
  4. กฎหมายต้องดำเนินไปพร้อมกับการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ

[แก้] การแบ่งประเภทและลักษณะของกฎหมาย

การแบ่งประเภทของกฎหมายนั้น การแบ่งสามารถอาศัยเกณฑ์ที่ต่างกัน อาทิ

  1. เกณฑ์ลักษณะ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
  2. เกณฑ์เขตอำนาจ แบ่งได้เป็น กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ
  3. เกณฑ์เนื้อหาเฉพาะด้าน แบ่งได้เป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี กฎหมายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาโดยพื้นฐานของกฎหมายแล้ว อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive law) หรือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ หน้าที่ ข้อห้ามหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมโดยตรงเช่น กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง ที่กล่าวถึงลักษณะความผิด และโทษที่จะได้รับ นอกจากนี้ยังกำหนด ควบคุม ให้ความหมาย และวางหลักการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น กฎหมายที่แบ่งและกำหนดเขตพื้นที่ป่าสงวน
  2. กฎหมายบัญญัติ หรือ กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective law หรือ Procedural Law) คือกฎหมายที่บัญญัติกระบวนการตลอดจนวิธีการนำเอาเนื้อหาสาระของกฎหมายสารบัญญัติมาใช้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีการดำเนินอรรถคดีตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น เช่นบัญญัติว่าในแต่ละกระบวนการนั้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร มีเรื่องเวลา สถานที่และบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสบัญญัติที่เด่นชัดคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

กฎหมายทั้งสองประเภทมักจะนำมาใช้ควบคู่กันตลอด เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมนั้นสมบูรณ์ เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้กระทำผิดก็พิจารณาการกำหนดโทษตามกฎหมายสารบัญญัติ จากนั้นก็พิจารณาตามกฎหมายสบัญญัติ ในส่วนของวิธีการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน การฟ้องคดีต่อศาล การพิจารณาและพิพากษาคดี หรือการนำคดีแพ่งขึ้นสู่ศาลโดยมีการขอให้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิ จนไปถึงขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ การยื่นฎีกาหรือการบังคับคดีเมื่อคดีถึงที่สุด ตัวอย่างของกฎหมายสบัญญัติอื่นๆที่สำคัญได้แก่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีการพิจารณาคดีอากร พระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น

[แก้] ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

กฎหมายมีลำดับศักดิ์สูงต่ำเสมือนสายบัญชาการ โดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมเสมือนเป็นบ่อเกิดของอำนาจในกฎหมายลำดับรองลงมา และที่สำคัญ

  1. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
  2. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้
  3. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า

ลำดับศักดิ์เรียงได้ดังนี้

  1. รัฐธรรมนูญ ( เรียกว่ารัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่มีคำว่ากฎหมายขึ้นหน้ารัฐธรรมนูญ )
  2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
  3. พระราชกำหนด
  4. พระราชกฤษฎีกา
  5. กฎกระทรวง
  6. กฎหมายองค์การบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ เป็นต้น

ในทางนิติศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงลำดับศักดิ์นั้น คำว่า "กฎหมาย" จะหมายถึง กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (รวมถึงประมวลกฎหมาย) และพระราชกำหนด เท่านั้น ส่วนที่เป็นลำดับรองลงไป เช่น พระราชกฤษฏีกา กฎกระทรวง ถือเป็นกฎหมายลำดับรอง ที่เรียกว่า อนุบัญญัติ หรือ กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า By-law)

[แก้] หลักทฤษฎีพื้นฐาน

กฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป

กฎหมายหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่ามิได้

กฎหมายเรื่องเดียวกัน หากมีซ้ำซ้อนกันและมิได้บัญญัติว่าให้ใช้ฉบับใด ให้ถือว่าต้องใช้ฉบับที่บัญญัติขึ้นภายหลัง

การตีความกฎหมายต้องถือตามเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคู่กับตัวบทกฎหมาย และต้องตีความเพื่อให้กฎหมายบังคับใช้ไปได้ โดยไม่เกิดผลประหลาด (Golden rule)

กฎหมายลักษณะต่างกันย่อมมีนิติวิธีหรือแนวทางและวิธีการในการใช้กฎหมายต่างกัน เช่นกฎหมายแพ่ง เรื่องสัญญาย่อมมุ่งที่ประโยชน์ของเอกชน กฎหมายมหาชน เรื่องสิ่งแวดล้อมย่อมมุ่งประโยชน์ของคนทั่วไปเป็นหลัก หรือในทางกฎหมายแพ่ง เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม ย่อมกระทำได้ หากไม่ขัดต่อจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดี แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายมหาชนนั้น ถือหลักว่า ถ้าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมทำไม่ได้ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ จะถือหลักว่า กระทำใดๆ เท่าที่กฎหมายไม่ห้ามมิได้ ต้องกระทำการเฉพาะตามขอเขตอำนาจของกฎหมายโดยเคร่งครัด เป็นต้น

กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ โดยเฉพาะกฎหมายอาญา

[แก้] ประเด็นกฎหมายที่น่าสนใจในปัจจุบัน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


 กฎหมาย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมาย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
Static Wikipedia 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu