จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เต็งแต้วแก้วกาหลง |
บานบุษบงส่งกลิ่นอาย |
หอมอยู่ไม่รู้หาย |
คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู |
(บทเห่เรือ - เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) |
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia acuminata Linn.
- ชื่อสามัญ: กาหลง
- ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาว
- ลักษณะ: ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร
- ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ปลายแฉกทั้งสองข้างแหลม ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
- ดอก: ดอกออกหลังจากใบใหม่แตกออกมาแล้ว ดอกสีขาว มีลักษณะเป็นช่อดอกสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก
- ฝักและเมล็ด: ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็กคล้ายรูปขอบขนาน
- การดูแล: ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์
- การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดปลูก
- ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ
เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล