จังหวัดเชียงใหม่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ดูความหมายอื่นของ เชียงใหม่ ได้ที่ เชียงใหม่ (แก้ความกำกวม)
|
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตร ตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่ เมื่อพญามังรายได้ทรงสร้างขึ้น พ.ศ. 1839 เชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539 เชียงใหม่ในอดีตมีฐานะเป็นนครรัฐอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839 - 2101) ต่อมาในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่่พระเจ้าบุเรงนอง และตกอยู่ใต้อำนาจของพม่านานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยพระเจ้าตากสินและพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสนับสนุนล้านนา โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้านทำสงครามขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงแสนสำเร็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าสถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง ๕๗ หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม โดยพระญาติและเชื้อสายของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ซึ่งรวมเรียกว่า ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ได้ปกครองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และหัวเมืองใหญ่น้อยสืบต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราชได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน
อำเภอ | กิ่งอำเภอ | ||
---|---|---|---|
|
|
[แก้] ภูมิศาสตร์
[แก้] ภูมิประเทศ
- ทิศเหนือ
- รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีสันปันน้ำของดอยคำดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำ ป่อง ดอยถ้วยดอยผาวอก ดอยอ่างขาง อันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
- ทิศใต้
- อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีร่องน้ำแม่ตื่นและสันปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
- ทิศตะวันออก
- จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงราย และลำปาง มีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกกสันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา ดอยแม่โต เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูงและร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
- ทิศตะวันตก
- อำเภอปาย อำเภอขุนยวมและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสันปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และสันปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่น้ำปิง
[แก้] ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส
สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
[แก้] ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียง
[แก้] ประชากร
[แก้] อาชีพ
ภาคเหนือภูมิอากาศเย็นสดชื่น ภูมิประเทศสวยงามด้วยป่าเขา และดอกไม้นานา ชนิด ทำให้คนเหนือมีลักษณะเยือกเย็น จิตใจโอบอ้อมอารี งานศิลปะหัตถกรรมหลายชนิดจึงเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้
อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 61.43 ของผู้ที่ทำงานทั้งหมด ทั่วประเทศ อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม คิดเป็นร้อยละ 13.60 และ 10.02 ตามลำดับ นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน
ภาษาที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และภาษาถิ่นซึ่งเรียกว่าคำเมือง
[แก้] การศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดได้แก่
โรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง
- โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย โรงเรียนสตรี เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
- โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ โีรงเรียนสตรี เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมต้น
- โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
- โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนชาย ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมต้น ส่วนในระดับมัธยมปลายเป็น โรงเรียนสหศึกษา
- โรงเรียนวชิรวิทย์ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง
- โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
- โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา ในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
- โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลปละประถมศึกษา
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่
- วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยพายัพ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- รวมทั้ง มหาวิทยาลัยสงฆ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ซึ่งตั้งอยู่ในวัดเจดีย์หลวง เป็นต้น
[แก้] กีฬา
ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเล่นกีฬาหลายประเภทและมีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้งที่เชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 (เฉพาะฟุตบอล ที่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี), ซีเกมส์ครั้งที่ 18, ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998, และกีฬาในประเทศได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง
กีฬาอาชีพในเชียงใหม่นั้น มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทีมจังหวัดที่ประสบความสำเร็จทีมหนึ่งในภาคเหนือ โดยปัจจุบันในปี 2549 เล่นฟุตบอลอาชีพ ใน โปรลีก และในเดือน ตุลาคม 2549 ได้มี แถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ "บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่" [1]
[แก้] คมนาคม
การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้หลายวิธี รวมถึง ทางเครื่องบิน ผ่านทาง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือรถไฟ ผ่านทางสถานีรถไฟเชียงใหม่ หรือรถประจำทาง ลงที่ท่ารถประจำทางที่ สถานีขนส่งอาเขต
สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดย รถส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชน จะมี รถเมล์ และ รถแดง
[แก้] เศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรเชียงใหม่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 55,846 บาทต่อปี เป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัดลำพูน ของภาคเหนือ โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 81,423 ล้านบาท โดยส่วนมากขึ้นอยู่กับสาขาบริการมากที่สุด ถึงร้อยละ 28.82 มูลค่า 23,464 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 18.86 มูลค่า 15,359 ล้านบาท และสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 11.37 มูลค่า 9,258 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 8.9
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้] อุทยานแห่งชาติ
- อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
- อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
- อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
- อุทยานแห่งชาติออบหลวง
- อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
- อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
- อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
- อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
- อุทยานแห่งชาติขุนขาน
- อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
- อุทยานแห่งชาติแม่โถ
- อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
- อุทยานแห่งชาติออบขาน
[แก้] อื่นๆ
- ไนท์บาซาร์
- สวนสัตว์เชียงใหม่
- งานราชพฤกษ์ 2549
[แก้] อ้างอิง
- ↑ การแถลงข่าว เปิด บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่ จาก หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัดเชียงใหม่
- เว็บกาญจนาภิเษก ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเชียงใหม่
- คนเมือง.com ข่าวในจังหวัดเชียงใหม่
- เชียงใหม่นิวส์
- เวบไซร์วาไรตี้เชียงใหม่
- [http://www.chiangmai108.com/ เว็บไซต์สังคมคนเมือง ข่าวสาร แนะนำอาหาร ท่องเที่ยว เชียงใหม่ ข่าวในเชียงใหม่ หางานเชียงใหม่
- โรงแรม ห้องพัก ประวัติ สถานที่เที่ยว บอร์ดนานาสาระ พูดคุยเกี่ยวกับเชียงใหม่
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย