จังหวัดสตูล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน คำว่า "สตูล" มาจากคำภาษามลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง "นครสโตยมำบังสการา" (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้
สารบัญ |
[แก้] ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิบดา และ 7 องศา 2 ลิบดาเหนือและ เส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิบดา 100 องศา 3 ลิบดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับรัฐเปอร์ลิสประเทศมาเลเซีย ตลอดแนวชายแดนทางบก ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 36 ตำบล 257 หมู่บ้าน
|
[แก้] ภูมิประเทศ
พื้นที่จังหวัดสตูลทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน โดยมีเทือกเขาที่สำคัญแบ่งเขตประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย คือ ภูเขาบรรทัดและภูเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ของจังหวัดค่อยๆลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยยังมีภูเขาน้อยใหญ่อยู่กระจัดกระจายในตอนล่าง ภูเขาที่สำคัญ ได้แ่ก่ เขาจีน เขาบารัง เขาใหญ่ เขาทะนาน และเขาพญาวัง และมีที่ราบแคบๆขนานไปกับชายฝั่งทะเล ถัดจากที่ราบลงไปเป็นพื้นที่ป่าชายเลนน้ำเค็มขึ้นถึง อุดมไปด้วยป่าแสมและป่าโกงกางเป็นจังหวัดที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน คงมีแต่ลำน้ำสั้นๆ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกของจังหวัด
[แก้] ภูมิอากาศ
พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ระหว่างปี 2543-2547 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ประมาณ 2,318 มม. ตกชุกที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.72 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 23.51 อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 38.4 องศาเซลเซียสเมื่อเดือนมีนาคม 2545 และอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 19.2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 และ เดือนกุมภาพันธ์ 2545 สภาพภูมิอากาศจังหวัด สตูล แบ่งได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.6 - 39.5 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.9 - 38.8 องศาเซลเซียส
[แก้] อุทยานแห่งชาติ
- อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
- อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกาหลง (Bauhinia acuminata)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมากพลูตั๊กแตน (Dalbergia bariensis)
- คำขวัญประจำจังหวัด: สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
- คำขวัญเดิม : ตะรุเตา ไก่ดำ จำปะดะ คนใจพระ งามเลิศ เชิดสตูล
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
จังหวัดสตูล เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดสตูล ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |