กุสตาฟ มาห์เลอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุสตาฟ มาห์เลอร์ (ชาตะ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1860- มรณะ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1911) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวโบฮีเมียน-ออสเตรียน
มาห์เลอร์เป็นที่รู้จักในยุคของเขา ในฐานะคีตกวีชื่อดังแห่งยุค แต่ในปัจจุบัน เขากลับเป็นที่ยอมรับในฐานะคีตกวีแห่งยุคนีโอโรแมนติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากซิมโฟนี และบทเพลงในวงจรของซิมโฟนี เช่น เพลง Das Lied von der Erde (บทเพลงแห่งโลก) ที่เป็นจุดสุดยอดของบทเพลงขับร้องที่เขาประพันธ์ ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ความยาว 95 นาที นับเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดที่เคยมีการเปิดแสดง และยังชื่อได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดในบรรดาซิมโฟนีทั้งหลายอีกด้วย
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
กุสตาฟ มาห์เลอร์ เกิดในครอบครัวชาวยิวในเมืองคาลิชท์ แคว้นโบฮีเมีย บิดามารดาของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองจิห์ลาวา แคว้นโมราเวีย จักรวรรดิออสโตร-ฮังกาเรียน ซึ่งมาห์เลอร์ได้ใช้เวลาในวัยเด็กส่วนใหญ่ที่นั่น หลังจากที่บิดามารดาของมาห์เลอร์ได้สังเกตเห็นความสามารถทางดนตรีของเขาตั้งแต่วัยเด็ก จึงจัดการให้เขาได้เรียนเปียโนตั้งแต่อายุหกขวบ ในปีค.ศ. 1875 มาห์เลอร์ผู้ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 15 ปี ได้รับให้เข้าศึกษาในวิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ที่ซึ่งเขาได้เรียนเปียโนกับจูเลียส เอปสไตน์ สามปีต่อมา มาห์เลอร์ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเวียนนา ที่ซึ่งแอนตัน บรุคเนอร์เป็นอาจารย์ประจำอยู่ ในระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้ทำงานเป็นครูสอนดนตรีไปด้วย และได้ลองประพันธ์เพลงเป็นครั้งแรก กับโอเปร่าที่มีชื่อว่า Das klagende Lied ซึ่งตอนหลังได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นแคนตาตา ได้ถูกส่งเข้าประกวดและประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
ในปีค.ศ. 1880 มาห์เลอร์ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งวาทยากร ซึ่งเป็นงานช่วงฤดูร้อนที่โรงละครแบดฮอลล์ ซึ่งในปีต่อๆมาเขาได้เป็นวาทยากรในโรงโอเปร่าใหญ่ๆหลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า ที่โรงโอเปร่าเมืองลุบลานาในปีค.ศ. 1881 เมืองโอโลมุคในปีค.ศ. 1882 เมืองคาสเซลในปีค.ศ. 1884 กรุงปรากในปีค.ศ. 1885 เมืองไลปซิกในปีค.ศ. 1886 และที่กรุงบูดาเปสต์ในปีค.ศ. 1888 ในปีค.ศ. 1887 เขาได้รับตำแหน่งเป็นวาทยากรควบคุมการบรรเลงผลงานของริชาร์ด วากเนอร์ ที่มีชื่อว่าวัฏจักรวงแหวน แทนที่อาร์เธอร์ นีคิชผู้ซึ่งล้มป่วย และได้สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนและต่อนักวิจารณ์ ในปีหลังจากที่เขาได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่อง Die drei Pintos ที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ประพันธ์ไว้ไม่จบ มาห์เลอร์ประสบความสำเร็จอย่างสูง อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับเขาอย่างมาก เขาได้รับตำแหน่งงานระยะยาวตำแหน่งแรกที่โรงโอเปร่าแห่งนครฮัมบูร์ก ในปีค.ศ. 1891 จนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1897 ในช่วงเวลานั้น เขาได้ใช้เวลาในช่วงพักร้อนที่เมืองสไตน์บาค-อัม-อัทเทอร์ซีในออสเตรียตอนบน อุทิศให้แก่การประพันธ์เพลง และได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 1 บทเพลงส่วนใหญ่ในวงจรดนตรี และแตรวิเศษของวัยเด็ก ซึ่งเป็นการรวมเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับบทกวีพื้นบ้าน
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ดนตรี
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] มรดกทางดนตรี
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ผลงาน
[แก้] ซิมโฟนี
- ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์, "Titan" (ค.ศ. 1884-ค.ศ. 1888)
- ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์, "Resurrection" (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1894)
- ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ (ค.ศ. 1895-ค.ศ. 1896)
- ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง จี เมเจอร์ (ค.ศ. 1899-ค.ศ. 1901)
- ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซีชาร์ป ไมเนอร์ (ค.ศ. 1901-ค.ศ. 1902)
- หมายเหตุ: ถึงแม้ว่าบทเพลงนี้จะถูกกำกับด้วยบันไดเสียง ซีชาร์ป ไมเนอร์ แต่มาห์เลอร์เองได้เขียนไว้ในจดหมายถึงสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์โน้ตแผ่นของเขาว่า "เป็นการยากที่จะบอกว่าเพลงนี้บันไดเสียงอะไร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ควรจะยกเว้นการเขียนบันไดเสียงกำกับไว้"
- ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์, "Tragic" (ค.ศ. 1903-ค.ศ. 1904)
- ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์, "Song of the Night" (ค.ศ. 1904-ค.ศ. 1905)
- ซิมโฟนีหมายเลข 8 ในบันไดเสียง อีแฟลต ไมเนอร์, "Symphony of a Thousand" (ค.ศ. 1906)
- หมายเหตุ: ข้อความกำกับในซิมโฟนีหมายเลข 7 และ 8 ไม่ได้เขียนโดยมาห์เลอร์ ซึ่งที่จริงแล้ว เขามักจะหลีกเลี่ยงการเขียนข้อความกำกับซิมโฟนีหมายเลข 8
- ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ (ค.ศ. 1909-ค.ศ. 1910)
- ซิมโฟนีหมายเลข 10 ในบันไดเสียง เอฟ-ชาร์ป ไมเนอร์ (ค.ศ. 1910-ค.ศ. 1911) แต่งไม่จบ
- ผู้นำบทเพลงที่มาห์เลอร์ประพันธ์ไม่จบมาประพันธ์ต่อ:
- หมายเหตุ: วาทยากรชื่อดังหลายคนที่เล่นงานของมาห์เลอร์ปฏิเสธที่จะเล่นซิมโฟนีหมายเลข 10 ฉบับสมบูรณ์ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรูโน วอลเตอร์ส และ เลโอนาร์ด เบิร์นสไตน์
[แก้] บทเพลงสำหรับขับร้อง
- Das klagende Lied, (ค.ศ. 1880)
- Drei Lieder, บทเพลงสามบทสำหรับเสียงร้องเทอร์เนอร์และเปียโน (ค.ศ. 1880)
- Lieder und Gesänge aus der Jugendzeit เพลง 14 เพลงพร้อมกับเปียโนประกอบ (ค.ศ. 1880-ค.ศ. 1890)
- Lieder eines fahrenden Gesellen (Songs of a Wayfarer) สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงออเคสตร้า (ค.ศ. 1883-ค.ศ. 1885)
- Lieder aus "Des Knaben Wunderhorn" (แตรวิเศษของวัยเด็ก) สำหรับเสียงร้องและออเคสตร้า (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1896, อีกสองเพลงแต่งในปี ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1901)
- Rückert Lieder สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงออเคสตร้า (ค.ศ. 1901-ค.ศ. 1902)
- Kindertotenlieder (เพลงสำหรับการตายของเด็ก) สำหรับเสียงร้องและออเคสตร้า (ค.ศ. 1901-ค.ศ. 1904)
- Das Lied von der Erde (The Song of the Earth) เพลงสำหรับวงจรซิมโฟนี (ค.ศ. 1907-ค.ศ. 1909)
- หมายเหตุ : ผลงานนี้จัดได้เป็นทั้งประเภทซิมโฟนี และวงจรเพลง มาห์เลอร์หลีกเลี่ยงที่จะตั้งชื่อเพลงนี้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 9 ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ และความกลัวอาถรรพ์หมายเลข 9
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- สมาคมมาห์เลอร์นานาชาติ
- ชีวประวัติกุสตาฟ มาห์เลอร์ จาก บีบีซี
- ชีวประวัติกุสตาฟ มาห์เลอร์ จากฐานข้อมูลคีตกวีคลาสสิก
- ผลงานของกุสตาฟ มาห์เลอร์
[แก้] อ้างอิง
- Machlis, J. and Forney, K. (1999). The Enjoyment of Music: An Introduction to Perceptive Listening (Chronological Version) (8th ed.). New York: Norton. ISBN 0393972992.
- Sadie, S. (Ed.). (1988). The Grove Concise Dictionary of Music. London: Oxford University Press. ISBN 0333432363.
กุสตาฟ มาห์เลอร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ กุสตาฟ มาห์เลอร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |