ริชาร์ด วากเนอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริชาร์ด วากเนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสตศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีตะวันตกที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วเรารู้จักวากเนอร์จากโอเปร่าที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอเปร่าที่เขาได้ปฏิวัติรูปแบบของมันโดยสิ้นเชิง
สารบัญ |
[แก้] ชีวประวัติ
[แก้] วัยเด็ก
ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) เกิดที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 บิดาของเขาเป็นข้าราชการของเมือง ซึ่งเสียชีวิตลงขณะวากเนอร์มีอายุเพียงหกเดือน ในเดือนสิงหาคม ปีค.ศ. 1814 มารดาของเขาได้แต่งงานใหม่กับนายลุดวิก เกเยอร์ (Ludwig Geyer) ผู้ที่ได้เลี้ยงดูเขาเป็นอย่างดีประดุจบิดาที่แท้จริง เกเยอร์เสียชีวิตในอีกไม่กี่ปีต่อมา โดยไม่ทันที่จะถ่ายทอดความรักในละครเวทีของเขาให้แก่วากเนอร์น้อย
ในระยะแรกวากเนอร์น้อยได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักแสดง ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 15 ปี ก็ได้ค้นพบดนตรี ซึ่งทำให้เขาตัดสินใจสมัครเข้าเรียนดนตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองไลป์ซิกในปีค.ศ. 1831 ในบรรดาคีตกวีเอกที่เป็นแรงบันดาลแก่วากเนอร์ในสมัยนั้น ก็มีลุดวิก ฟาน เบโทเฟน รวมอยู่ด้วย
ในปีค.ศ. 1833 ได้แต่งโอเปร่าชื่อ เทพนิยาย จบ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานโอเปร่าชิ้นแรกๆของเขา ในผลงานชิ้นนี้เขาได้จงใจเลียนแบบรูปแบบของคาร์ล มารีอา ฟอน เวเบอร์ ซึ่งไม่ได้ถูกนำออกแสดงจนกระทั่งเวลาผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษ ในสมัยเดียวกันนั้นเอง เขาได้สมัครงานในตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีได้สำเร็จที่โรงละครโอเปร่าเมืองวูร์ซเบิร์ก และที่เมืองแมกดูบูร์ก ทำให้เขาสามารถพ้นจากสภาพทางการเงินที่ต้องกระเบียดกระเสียนได้ ในช่วงเวลานี้เองที่วากเนอร์ได้แต่ง ดาส ลีเบสเวอร์บอท (Das Liebesverbot) โอเปร่าที่ได้แรงบันดาลใจจากบทประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ (เมเชอร์ ฟอร์ เมเชอร์) โอเปร่าเรื่องดังกล่าวได้เปิดการแสดงขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1836 แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ชมเท่าที่ควร
หนึ่งปีต่อมา ในปีค.ศ. 1836 วากเนอร์ได้แต่งงานกับมินนา พลาเนอร์ นักแสดงสาว คู่สมรสได้ย้ายถิ่นฐานไปที่เมืองโคนิกสเบิร์ก จากนั้นก็ไปที่เมืองริกา ที่ซึ่งวากเนอร์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรี หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ มินนาก็ได้ทิ้งเขาไปหาผู้ชายอีกคนซึ่งก็ทิ้งหล่อนไว้ตามลำพังโดยไม่มีเงินติดตัวอยู่เลย ถึงแม้ว่าวากเนอร์จะยอมรับที่มินนากลับมาหาเขา แต่มันก็เป็นชนวนให้เกิดรอยร้าวในชีวิตแต่งงานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งจบลงด้วยความขมขื่นในอีกสามลิบปีให้หลัง
ก่อนจะถึงปีค.ศ. 1839 ทั้งคู่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจนต้องย้ายไปพำนักอยู่ที่เมืองริกาเพื่อหนีเจ้าหนี้ (ปัญหาทางการเงินรุมเร้าวากเนอร์มาตลอดจนกระทั่งวาระสุดท้ายของเขา) ระหว่างที่เขาหนีไปที่กรุงลอนดอน เขาติดพายุอยู่ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้วากเนอร์ประพันธ์บทเพลงชื่อวว่า เรือผีสิง ทั้งคู่ใช้ชีวิตช่วงหนึ่งที่กรุงปารีส ที่ซึ่งวากเนอร์หาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นวาทยากรให้กับโอเปร่าที่คนอื่นแต่งขึ้น
[แก้] ที่เมืองเดรสเดน
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] การหลบหนีและอิทธิพลของ โชเปนฮอยเออร์ และ มาทิลด์ เวสเซนดองค์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ภายใต้ราชูปถัมภ์ของกษัตริย์หลุยส์ที่สอง แห่งบาวาเรีย
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ที่เมืองไบรอยท์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ช่วงสุดท้ายของชีวิต
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ผลงาน
ผลงานการประพันธ์ของ Richard Wagner ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. Die Frühwerke เป็นผลงานที่ไม่แพร่หลายมากนักทั้งในอดีตและปัจจุบัน (1832) Die Hochzeit เป็นผลงานการประพันธ์เพลงครั้งแรก เพลงนี้ส่วนมากจะใช้ในการแต่งงาน (1834) Die Feen (The Fairly) ซึ่งไม่ที่แพร่หลายมากนัก กระทั่งเวลาผ่านไป เกือบ 50 ปี จึงถูกนำขึ้นแสดงอีกครั้ง เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1833 – 1834 และถูกนำขึ้นแสดงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ 1888 (1836) Das Liebesverbot (The Ban on Love) ผลงานโอเปร่าที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์ของ William Shakespeare (Measure for Measure) นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1834-1836 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1836 ที่เมือง Magdeburg (1837) Rienzi — Rienzi, der letzte der Tribunen เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1837-1840 และถูกนำขึ้นแสดงครั้งแรกที่ เมือง Dresden ในปี ค.ศ 1842 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง
2. Die romantischen Opern เป็นผลงานที่ถือได้ว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมของเขา
(1843) Der fliegende Holländer (The Flying Dutchman) โอเปร่าชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการเดินทางโดยเรือจากเมือง Riga สู่กรุง London ซึ่งเขาได้ประสบกับพายุขณะเดินเรือ เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1840 – 1841 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1843 ที่เมือง Berlin (1845) Tannhäuser und der Sängerkrieg auf Wartburg เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1842 – 1845 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1845 ที่เมือง Dresden
(1848) Lohengrin เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1845 – 1848 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 18450 ที่โรงละครราชสำนักของเมือง Weimar
3. Die Musikdramen เป็นโอเปร่าที่แสดงไปพร้อมกับวงดนตรี ออร์เคสตร้า โดย Wagner ได้แต่งผลงานในช่วงนี้ให้ดนตรีมีความอลังการพร้อมกับใช้เสียงเพลงที่มีระดับเสียงมากขึ้น
(1859) Tristan und Isolde (Tristan and Isolde) ถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1859 และนำขึ้นแสดงเป็นครั้งแรกที่ โรงละครราชสำนักเมือง München ในปี ค.ศ 1865 ภายใต้การอำนวยวงของวาทยากรชื่อ Hans von Bülow. โอเปร่าเรื่องนี้เป็นหนึ่งในโอเปร่าเรื่องยาวๆ ของเขา ซึ่ง Wagner ได้จัดรูปแบบการประพันธ์ขึ้นใหม่โดยใช้ระดับเสียงมากขึ้น รวมถึงการใช้ทั้งความรุนแรงและความนุ่มนวลของเสียงดนตรี เปรียบได้กับผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นคู่รักกัน เขาได้บรรยายให้เห็นภาพของความรักในทุกรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงนำขึ้นแสดงอยู่
(1867) Die Meistersinger von Nürnberg (The Mastersingers of Nuremberg) เป็นโอเปร่าแนวชวนหัวเรื่องเดียวของ Wagner เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1845- 1867 และนำขึ้นแสดงเป็นครั้งแรกที่ โรงละครราชสำนักเมือง München ในปี ค.ศ 1865 ภายใต้การอำนวยวงของวาทยากรชื่อ Hans von Bülow. ปีใน ค.ศ 1868
3. Die Buhnenfestspiele เป็นผลงานที่เขานำขึ้นแสดงที่ Opera House ที่เมือง Bayreuth Bavariaซึ่งเป็นของเขาเอง
(1848-1876) Der Ring des Nibelungen (The Ring of the Nibelung) เป็นโอเปร่าที่มีความยาวถึง 18 ชั่วโมง โดยจัดการแสดงเป็นเวลา 3 วันและในตอนเย็นอีก 1 ช่วง โดยได้แบ่งแต่ละช่วงเวลาดังนี้ Der Ring des Nibelungen นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1876
- Vorabend: Das Rheingold เป็นการแสดงช่วงเย็น เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1851-1854 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1869
- Erster Tag: Die Walküre (The Valkyrie) เป็นการแสดงสำหรับในวันเย็น เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1851-1856 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1870
- Zweiter Tag: Siegfried เป็นการแสดงสำหรับวันที่ 2 ชื่อเดิมของบทประพันธ์นี้คือ : Jung-Siegfried หรือYoung Siegfried, และ Der junge Siegfried หรือ The young Siegfried เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1851-1871 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1876
* Dritter Tag: Götterdämmerung (The Twilight of the Gods) เป็นการแสดงสำหรับวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ชื่อเดิมของบทประพันธ์นี้คือ Siegfrieds Tod หรือ The Death of Siegfried เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1848-1874 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ 1876
(1882) Parsifal เป็นผลงานการประพันธ์เรื่องสุดท้ายของเขา ซึ่งนำเค้าโครงมาจากตำนานของ The Holly Grail ในศาสนาคริสต์ เป็นงานชิ้นสุดท้ายที่เขาแต่งด้วยความสามารถที่เขามีอยู่ทั้งหมด เริ่มประพันธ์ในปี ค.ศ 1865-1882 นำขึ้นแสดงครั้งแรกในปีค.ศ1882
นอกจากผลงานการประพันธ์ทางด้านโอเปร่าแล้ว Wagner ยังมีผลงานด้านการเขียนหนังสือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง จิตวิทยา รวมถึงการวิเคราะห์บทประพันธ์โอเปร่าที่เขาได้แต่งขึ้นเอง รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับการประพันธ์โอเปร่า ชื่อ “Oper und Drama” หรือ Opera and Drama , 1851 และทฤษฎีเกี่ยวกับการประพันธ์โอเปร่า และ “Das Judenthum in der Musik” หรือ “Jewishness in Music,1850 ซึ่งเป็นการโต้แย้งนักประพันธ์ชาวยิว ในผลงานชิ้นนี้เองทำให้ Adolf Hitler มีความศรัทธาในตัวของ Wagner เป็นอย่างมาก และเมื่อใดก็ตามที่ มีการชุมนุมของ Nazi ต้องมีการเปิดเพลงของ Wagner เสมอ นอกจากนี้เขายังได้เขียนอัตชีวประวัติของตัวเองอีกด้วย “My Life,1880”
[แก้] ผลงานทางดนตรีอื่นๆ
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ผลงานที่ไม่ใช่ดนตรี
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] รูปแบบของวากเนอร์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] มีเดีย
- Tristan und Isolde: Prelude (file info) — เปิดฟัง
- Ride of the Valkyries (file info) - (ต้นฉบับจาก en:วิกิพีเดีย) — เปิดฟัง
- en:Ride of the Valkyries, from Wagner's opera, en:Die Walküre
- หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ media help.
[แก้] อ้างอิงและลิงก์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ภาษาเยอรมัน
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกฤษ
- [1]
- ระเบียนงานของวากเนอร์
- FAQ เกี่ยวกับวากเนอร์
- แปลงานประพันธ์โดยวากเนอร์
- สารคดีของบีบีซีเกี่ยวกับดนตรีของวากเนอร์ในอิสราเอล
- ภายถ่ายต้นฉบับโน้ตแผ่น chœur des fiançailles
[แก้] ที่มา
บทความต้นฉบับ ภาษาอังกฤษ.
[แก้] คำกล่าว
- วู้ดดี้ อัลเล็น : "เมื่อผมฟังวากเนอร์มากเกินไป ผมมีความรู้สึกอยากบุกประเทศโปแลนด์"