คณะรัฐศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้น
สารบัญ |
[แก้] สาขาวิชารัฐศาสตร์
- สาขาการปกครอง ศึกษาเกี่ยวกับหลักทฤษฎีการเมือง ระบบการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ การปกครอง ของประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ
- สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มต่าง ๆ องค์การและกฎหมายระหว่างประเทศ
- สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบแต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะของวัฒนธรรม
- สาขาบริหารรัฐกิจ (รัฐประศาสนศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารองค์การของรัฐ การวางแผนและการดำเนินนโยบายการบริหารต่าง ๆ เช่น การบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลัง และงบประมาณ การวางแผนและบริหารโครงการวางแผนกำลังคน นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
[แก้] คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น โดย "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
- คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ (สิงห์ไพล)
- วิทยาลัยบริหารศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (สิงห์ไพร)
[แก้] สัญลักษณ์ประจำรัฐศาสตร์
ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มีสัญลักษณ์ ได้แก่ "สิงห์" โดยมีนัยหมายถึง ราชสีห์ ซึ่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากในวรรณกรรมเรื่องต่างๆ เพราะถือว่าเป็นสัตว์ที่สำคัญ มีกำลัง มีความดุร้าย และอำนาจเหนือเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง ดังนั้น จึงได้รับการยกย่องให้มีตำแหน่งเป็น "ราชาแห่งสัตว์ป่า"
และราชสีห์นั้น ก็มักจะถูกนำเอาไปเปรียบเทียบกับผู้มีอำนาจราชศักดิ์อยู่เสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่า ราชสีห์นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และกำลังโดยแท้ และด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยจึงได้ใช้ตรารูปราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวง
เนื่องด้วยเหตุที่ในสมัยก่อนนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่เรียกว่าเป็น “ วิชาชีพ “ (มิได้เป็นสาขาวิชาที่เป็น ” วิชาการ “ ดังเช่นปัจจุบัน) และผู้ศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนใหญ่ก็จะเข้ารับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย จึงได้มีการนำเอารูปสัญลักษณ์ราชสีห์ มาเป็นสัญลักษณ์สาขาวิชารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร์ และได้มีการเรียกกันสั้นๆ ว่า “ สิงห์ “ มากระทั่งปัจจุบัน [1]
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ได้แก่
สิงห์ดำ แทน รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สิงห์แดง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สิงห์เขียว แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
สิงห์ทอง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
สิงห์น้ำเงิน แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
สิงห์ม่วง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
สิงห์เงิน แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
สิงห์ขาว แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
สิงห์ฟ้า แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต |
สิงห์พระนาง แทน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
สิงห์ไพล แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-วิทยาเขตแพร่ |
|
สิงห์เทา-ทอง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
สิงห์เขียว-ทอง แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
สิงห์แสด แทน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
[แก้] คณะรัฐศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา
รายชื่อ 15 อันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านรัฐศาสตร์จัดอันดับโดยยูเอสนิวส์ [2]
- มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
- มหาวิทยาลัยมิชิแกน
- มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
- มหาวิทยาลัยเยล
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดีเอโก
- มหาวิทยาลัยดุ๊ก
- มหาวิทยาลัยชิคาโก
- มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
- สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลีส
- มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต
- มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา
- มหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์
[แก้] อ้างอิง
คณะรัฐศาสตร์ ใน ประเทศไทย | ||
---|---|---|
|