ตระกูลของภาษา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป
ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้)
บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์
ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate)
สารบัญ
|
[แก้] ภาษาธรรมชาติ
[แก้] ตระกูลใหญ่ ๆ ของภาษา (จัดกลุ่มตามภูมิศาสตร์ โดยไม่คำนึงความสัมพันธ์ระหว่างตระกูล)
ในรายชื่อดังต่อไปนี้ ชื่อที่มี "เครื่องหมาย" ข้างหน้า เป็นกลุ่มภาษาที่รู้จัก หัวข้อทางภูมิศาสตร์ข้างบนใช้สำหรับการจัดกลุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ในกลุ่มที่สามารถเข้าใจง่ายกว่ารายชื่อของกลุ่มภาษาที่เป็นอิสระกันที่ไม่มีโครงสร้าง อย่างเดียวความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ สะดวกสำหรับการทำเช่นนี้ อย่างไรก็ดี หัวข้อเหล่านี้ไม่เป็นการแนะนำเกี่ยวกับการจัดตระกูลใหญ่ ("super-families") จากกลุ่มที่ได้กล่าวไว้
[แก้] กลุ่มภาษาในแอฟริกาและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
- ตระกูลภาษาแอฟโร-เอเชียติก (ฮามิโต-เซไมติก)
- ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก
- ตระกูลภาษาไนโล-ซาฮารัน
- ตระกูลภาษาคอยซัน
[แก้] กลุ่มภาษาในยุโรป และ เอเชียเหนือ ตะวันตก และใต้
- ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
- ตระกูลภาษาดราวิเดียน (บางคนรวมตระกูลภาษาดราวิเดียน ในตระกูลที่ใหญ่กว่า คือ ตระกูลภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน)
- ตระกูลภาษาคอเคเซียน (โดยทั่วไปมักจะคิดเป็น 2 กลุ่มแยกกันคือ คอเคเซียนเหนือ และ คอเคเซียนใต้)
- ตระกูลภาษาอัลตาอิก (ถกเถียง)
- ตระกูลภาษายูราลิก
- ตระกูลภาษาฮูร์โร-ยูราร์เตียน (สูญพันธุ์)
- ตระกูลภาษายูคากีร์ (บางคนรวมกลุ่มบูคากีร์กับกลุ่มยูราลิก)
- ตระกูลภาษาชูคอตโก-คัมชัตกัน
- ตระกูลภาษาเยนิเซ-ออสต์ยัก
- ตระกูลภาษาอันดามัน
[แก้] กลุ่มภาษาในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิก
- ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
- ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (มาลาโย-โพลีนีเซียน)
- ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน (บางคนรวม ไท-กะได กับ ม้ง-เมี่ยน กับตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน)
- ตระกูลภาษาไท-กะได
- ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน
- ภาษาพื้นเมืองในออสเตรเลีย (มีหลายตระกูล)
- ภาษาในปาปัว (มีหลายตระกูล)
[แก้] กลุ่มภาษาในทวีปอเมริกา
- บทความหลัก: ภาษาอเมริกันพื้นเมือง
- ตระกูลภาษาคาดโดอัน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาคาตูคินัน (อเมริกาใต้) (3)
- ตระกูลภาษาคาริบ (อเมริกาใต้) (29)
- ตระกูลภาษาคาฮัวพานัน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาเคเรส (อเมริกาเหนือ) (2)
- ตระกูลภาษาเคชวน (อเมริกาใต้) (46)
- ตระกูลภาษาเคียววา-ทาโนอัน (อเมริกาเหนือ) (6)
- ตระกูลภาษาจิวาโรอัน (อเมริกาใต้) (4)
- ตระกูลภาษาชอน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาชาปากูรา-วานฮัม (อเมริกาใต้) (5)
- ตระกูลภาษาชาลิชัน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาชิบชัน (อเมริกากลาง, อเมริกาใต้) (22)
- ตระกูลภาษาชูมาช (อเมริกาเหนือ) (7)
- ตระกูลภาษาโชโก (อเมริกาใต้) (10)
- ตระกูลภาษาซาปาโรอัน (อเมริกาใต้) (7)
- ตระกูลภาษาซามูโคอัน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาซาลิวัน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาซิวอัน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาทาคานัน (อเมริกาใต้) (6)
- ตระกูลภาษาทูคาโนอัน (อเมริกาใต้) (25)
- ตระกูลภาษาทูปิ (อเมริกาใต้) (70)
- ตระกูลภาษานัมบิกวารัน (อเมริกาใต้) (5)
- ตระกูลภาษานา-เดเน (อาธาบัสกัน) (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาบาร์บาโคอัน (อเมริกาใต้) (7)
- ตระกูลภาษาพาโนอัน (อเมริกาใต้) (30)
- ตระกูลภาษาเพซัน (อเมริกาใต้) (1)
- ตระกูลภาษาเพนูเตียน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาเพบา-ยากวน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษามัสโคเจียน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษามัสคอยอัน (อเมริกาใต้) (5)
- ตระกูลภาษามาโคร-เก (อเมริกาใต้) (32)
- ตระกูลภาษามาคุ (อเมริกาใต้) (6)
- ตระกูลภาษามาตาโก-ไกวกูรู (อเมริกาใต้) (11)
- ตระกูลภาษามายัน (อเมริกาเหนือ), (อเมริกากลาง)
- ตระกูลภาษามิเซ-โซเก (อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง)
- ตระกูลภาษามิซูมัลปัน (อเมริกากลาง)
- ตระกูลภาษามูรา (อเมริกาใต้) (1)
- ตระกูลภาษาโมเซเตนัน (อเมริกาใต้) (1)
- ตระกูลภาษายาโนมัม (อเมริกาใต้) (4)
- ตระกูลภาษาลูเล-วิเลลา (อเมริกาใต้) (1)
- ตระกูลภาษาวิโตโตอัน (อเมริกาใต้) (6)
- ตระกูลภาษาอเรากาเนียน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาอเราอัน (อเมริกาใต้) (8)
- ตระกูลภาษาอราวาคัน (อเมริกาใต้, แคริบเบียน) (60)
- ตระกูลภาษาอรูตานิ-ซาเป (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาอลากาลูหัน (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาอัลจิก (รวมถึง อัลกอนเควียน) (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาอิโรควอยอัน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาอินูอิต-อลิวต์ (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาอูโต-แอ็ซเทกัน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาโอโต-มังเกวียน (อเมริกากลาง)
- ตระกูลภาษาไอมาราน (อเมริกาใต้) (3)
- ตระกูลภาษาฮัวเวียน (อเมริกาเหนือ)
- ตระกูลภาษาฮารากมเบต (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาฮูรุ-ชิปายา (อเมริกาใต้) (2)
- ตระกูลภาษาโฮคัน (อเมริกาเหนือ)
[แก้] กลุ่มภาษา super-families ที่เสนอมา
- ตระกูลภาษาออสตริก
- ตระกูลภาษาอินโด-แปซิฟิก
- ตระกูลภาษายูรัล-อัลไตอิก
- โปรโต-ปอนติก
- ตระกูลภาษาอิเบโร-คอเคเซียน
- ตระกูลภาษาอลาโรเดียน
- ตระกูลภาษาอเมรินด์
- ตระกูลภาษามาโคร-ซิวอัน
- ตระกูลภาษาคองโก-ซาฮารัน
- Super-Families ที่รวมถึง ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
- ตระกูลภาษายูเรเชียติก
- ตระกูลภาษานอสเตรียติก
- ตระกูลภาษาโปรโต-เวิลด์
[แก้] ภาษาจำพวกคริโอล ภาษาจำพวกพิดจิน และภาษาสำหรับการค้า
- ภาษาชาบากาโน - ภาษาคริโอลที่มีพื้นฐานจากภาษาสเปน พูดในตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์
- ภาษาชีนุก จาร์กอน
- ภาษาซังโก
- ตระกูลภาษาบิสลามิก
- ภาษาบิสลามา
- ภาษาโบรเคน
- ภาษาพีจอน
- ภาษาทอค พีซิน
- ตระกูลภาษาโปรตุเกส คริโอล
- ภาษาลิงกัว ฟรังกา
- ภาษาฮาวายเอียน คริโอล อิงลิช
- ภาษาฮิรี โมตุ
- ภาษาไฮเตียน คริโอล
[แก้] ภาษาโดดเดี่ยว: Isolate Languages
[แก้] ภาษามือ
- ภาษามืออเมริกัน (American Sign Language, ASL)
- ภาษามือออสลาน (Auslan) ใช้ในประเทศออสเตรเลีย
- ภาษามืออังกฤษ (British Sign Language, BSL)
- ภาษามือดัตช์ (Dutch Sign Language, NGT)
- ภาษามือควีเบก (Quebec Sign Language, LSQ)
- ภาษามือฝรั่งเศส (French Sign Language, LSF)
- ภาษามือเฟลมิช (Flemish Sign Language Vlaamse Gebarentaal, VGT)
- ภาษามือเยอรมัน (German Sign Language, Deutsche Gebärdensprache, DGS)
- ภาษามือเยอรมัน-สวิส (German-Swiss Sign Language, Deutschschweizer Gebärdensprache, DSGS)
- ภาษามือไอริช (Irish Sign Language. ISL)
- ภาษามือนิคารากัว (Nicaraguan Sign Language, LSN)
- ภาษามือไต้หวัน (Taiwanese Sign Language, TSL)
[แก้] ภาษาธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ
- ภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์
- ภาษาที่สูญพันธุ์
[แก้] ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาธรรมชาติ
นอกจากภาษาที่ได้กล่าวไว้ข้างบน ซึ่งเกิดมาจากความสามารถในการพูดสื่อสารกันได้แล้ว ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติที่สำคัญของภาษาเหล่านั้นด้วย