ปรางค์กู่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรางค์กู่ เป็นปราสาทขอม ตั้งอยู่ที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์ประธาน มีกำแพงล้อมรอบ ที่มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระอยู่ด้านหน้า
มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือบรรณาลัย
มีสระน้ำ กรุด้วยศิลาแลง
พ.ศ. 2534 กรมศิลปากรได้บูรณะ ค้นพบทับหลังที่ปรางค์ประธาน สลักเป็นรูปคนขี่หลังช้าง มีความหมายว่า พระอินทร์ทรง(แปลว่า ขี่)ช้างเอราวัณ และพบเสา กรอบประตูทำด้วยศิลาแลง และศิวลึงค์ขนาดใหญ่
สรุปได้ว่า ปรางค์กู่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาปวน ในลัทธิไศวนิกาย รูปแบบของอาคารอโรคยาศาล สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 172 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
[แก้] ความสำคัญ
มวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ ๙ ได้นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา
[แก้] อ้างอิง
- ว่าที่ ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร หนังสือพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์ครั้งที่ 6
- http://www.freewebtown.com/communit/dotvdi1.htm
ปราสาทขอม ในพื้นที่ต่างๆ |
---|
พระนคร | นครธม · นครวัด · ปักษีจำกรง · บันทายกเดย · บันทายสำเหร่ · บันทายศรี · บากอง · บาปวน · บายน · เจ้าสายเทวดา · บารายตะวันออก · แม่บุญตะวันออก · กบาลสะเปียน · คลัง · โกรลโค · โลเลย · นาคพัน · พิมานอากาศ · พนมบาแค็ง · พนมกรอม · ปราสาทอักยุม · กระวาน · พระขรรค์ · พระโค · พระป่าเลไลย์ · พระปิตุ · แปรรูป · สะพานทมอ · สระสรง · ตาพรหม · ตาโสม · ตาแก้ว · ตาเนย · ลานช้าง · ลานพระเจ้าขี้เรื้อน · ธรรมานนท์ · บารายตะวันตก · แม่บุญตะวันตก |
ส่วนอื่นๆ ของกัมพูชา | บันทายชมาร์ · บึงมาลา · เกาะแกร์ · เขาพระวิหาร |
ประเทศไทย | พระปรางค์สามยอด · พนมรุ้ง · เมืองต่ำ · พิมาย · เมืองสิงห์ · พนมวัน · สดกก๊กธม · ปรางค์พรหมทัต · ปรางค์กู่ · วัดสระกำแพงใหญ่ · ตาเล็ง · ศีขรภูมิ · ตาเมือน · ตาเมือนธม · ตาเมือนโต๊จ · ห้วยทับทัน · ภูมิโปน · ยายเหงา · จอมพระ · ตระเปียงเตีย · บ้านพลวง · บ้านไพล |
ประเทศลาว | วัดภู |
[[หมวดหมู่:ปราสาทขอม]