ปราสาทเขาพระวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทเขาพระวิหาร (เขมร: , ปฺราสาทพฺระวิหาร อังกฤษ: Prasat Preah Vihear) เป็นปราสาทหิน อยู่บริวณเทือกเขาพนมดงรัก ในจังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา ติดชายแดนไทย ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร นับเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู ประวัติศาสตร์การเรียกร้องเขาพระวิหาร และยังเป็นแห่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาด้วย
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกในบริเวณนี้ สร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ อย่างไรก็ตาม ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ใกล้ เมื่ออยู่ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และ สุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 และศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ
ด้วยตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา ทำให้เกิดกรณีพิพาทโต้แย้งขึ้นว่าใครจะเป็นผู้ครอบครองและดูแลปราสาทหินแห่งนี้ กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ก็ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเป็นช่วงสั้นๆ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 และเมื่อ พ.ศ. 2546 กัมพูชาก็ได้ตัดถนนเข้าไปจนสำเร็จสมบูรณ์หลังจากรอคอยเป็นเวลาช้านาน แต่ก็มีการงดอนุญาตให้เข้าเป็นระยะโดยมิได้กำหนดล่วงหน้า
[แก้] ที่ตั้ง
ปราสาทเขาพระวิหารมีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ และส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาว และบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท และ 525 จากพื้นราบของกัมพูชา) แต่โครงสร้างปราสาทแห่งนี้ก็ยังแตกต่างอย่างมากจาก สถาปัตยกรรมปราสาทหินของหินโดยทั่วไปที่พบในพระนคร เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามคติความเชื่อของฮินดู
ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปะรุคั่นอยู่ 5 ชั้น (ปกติจะนับจากชั้นในนออกมา ดังนั้นโคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้
โคปุระชั้นที่ 5 เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว สำหรับโคปุระชั้นที่ 4 เป็นศิลปะสมัยหลัง คือ แคลง/บาปวน และมีหน้าบันด้านนอกทางทิศใต้ ถือเป็น "หนึ่งในผลงานชิ้นเอกอุของปราสาทเขาพระวิหาร" (Freeman, p. 162): เป็นภาพสลักการกวนเกษียรสมุทร สำหรับโคปุระชั้นที่ 3 นั้นมีขนาดใหญ่สุด และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า ส่วนด้านนอกเป็นบรรณาลัย (ห้องสมุด) สองหลัง
[แก้] อ้างอิง
- Freeman, Michael (1996). A Guide to Khmer Temples in Thailand and Laos. Weatherhill. ISBN 083480450.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ปราสาทขอม ในพื้นที่ต่างๆ |
---|
พระนคร | นครธม · นครวัด · ปักษีจำกรง · บันทายกเดย · บันทายสำเหร่ · บันทายศรี · บากอง · บาปวน · บายน · เจ้าสายเทวดา · บารายตะวันออก · แม่บุญตะวันออก · กบาลสะเปียน · คลัง · โกรลโค · โลเลย · นาคพัน · พิมานอากาศ · พนมบาแค็ง · พนมกรอม · ปราสาทอักยุม · กระวาน · พระขรรค์ · พระโค · พระป่าเลไลย์ · พระปิตุ · แปรรูป · สะพานทมอ · สระสรง · ตาพรหม · ตาโสม · ตาแก้ว · ตาเนย · ลานช้าง · ลานพระเจ้าขี้เรื้อน · ธรรมานนท์ · บารายตะวันตก · แม่บุญตะวันตก |
ส่วนอื่นๆ ของกัมพูชา | บันทายชมาร์ · บึงมาลา · เกาะแกร์ · เขาพระวิหาร |
ประเทศไทย | พระปรางค์สามยอด · พนมรุ้ง · เมืองต่ำ · พิมาย · เมืองสิงห์ · พนมวัน · สดกก๊กธม · ปรางค์พรหมทัต · ปรางค์กู่ · วัดสระกำแพงใหญ่ · ตาเล็ง · ศีขรภูมิ · ตาเมือน · ตาเมือนธม · ตาเมือนโต๊จ · ห้วยทับทัน · ภูมิโปน · ยายเหงา · จอมพระ · ตระเปียงเตีย · บ้านพลวง · บ้านไพล |
ประเทศลาว | วัดภู |