ปลากดหัวผาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
กดหัวผาน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemiarius verrucosus (เดิม Tachysurus และ Arius stormili) อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง แต่จะมีส่วนหัวที่ยาวและปลายจะงอยปากยื่นแหลมกว่า พื้นลำตัวเป็นสีดำอมน้ำตาล ท้องสีขาว และมีหนวดที่ไม่ยาวเก่าปลากดคัง มีครีบทั้งหมด 8 ครีบ โดยครีบหลังจะยาวใหญ่กว่า เงี่ยงแหลมที่ก้านครีบหลังใหญ่และแหลมคมกว่า ครีบอกมีเงี่ยงขนาดใหญ่แหลมคม ก้านครีบอก ครีบหลัง ครีบท้องสีซีดจาง ครีบไขมันค่อนข้างเล็ก เส้นประสาทข้างลำตัว (lateral line) เล็กมากจนแทบมองไม่เห็น มีขนาดประมาณ 40 ซ.ม. ใหญ่สุด 80 ซ.ม.
พบน้อยในแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยจนมีสถานะเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และพบบ้างที่แขวงจำปาสัก ประเทศลาว แต่พบมากที่สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
ใช้บริโภคเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพง เนื่องจากความหายาก
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่: Endangered | ปลาไทย | ปลาน้ำจืด | ปลาน้ำกร่อย | วงศ์ปลากดทะเล | ปลาตู้