ปาณินิ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปาณินิ (อักษรโรมัน Pāṇini; पाणिनि) เป็นนักไวยากรณ์ชาวอินเดียสมัยโบราณ (ตามตำนานระบุมีชีวิตในช่วง 520 - 460 ปีก่อนคริสตกาล แต่มีการศึกษา ประมาณว่าอยู่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 7 ถึงคริสตศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล) อาศัยอยู่ในเมืองคันธาระ และนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดในฐานะนักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต โดยเฉพาะการวางสูตรถึง 3,959 สูตร หรือหลัก ในด้านสัณฐานวิทยา (Morphology) โดยมีชื่อเรียกว่า อัษฏาธยายี ซึ่งหมายถึงคัมภีร์ 8 บท นั่นเอง แต่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ไวยากรณ์ของปาณินิ"
ไวยากรณ์ของปาณินิชิ้นนี้ นับเป็นจุดสิ้นสุดของภาษาสันสกฤตยุคพระเวท โดยการนำไปสู่ ภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit)
ปาณินิ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ปาณินิ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |