ภาษามราฐี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยุโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฎระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี
นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว
[แก้] ประวัติ
ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สืบทอดลักษณะทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษาสันสกฤต โดยผ่านภาษามหาราษฏรี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาปรากฤต ในสมัยจักรวรรดิสตวหาน ซึ่งมีราชธานีในเมืองประติษฐาน ในราวพุทธกาล ภาษามราฐีถือเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนั้น และนับว่าเป็นภาษาปรากฤตที่แผร่หลายกว้างขวางที่สุดในยุคนั้น และโดดนเหนือกว่าภาษาปรากฏทั้งหมดที่ใช้ในวรรณคดีประเภทบทละคร (ได้แก่ มหาราษฏรี, เสารเสนี และมาคธี) นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษามหาราษฎรีแขนงหนึ่งในการบันทึกคัมภีร์ศาสนาเชน ขณะที่จักรพรรดิสัตตสัยทรงแต่งโศลก 700 บท เป็นชิ้นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาวรรณกรรมภาษามหาราษฎรี ภาษามหาราษฏรีค่อยๆ วิวัฒนาการไปสู่ภาษามราฐี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
[แก้] การจำแนก
ภาษามราฐีจัดเป็นภาษาในตระกูลอินเดีย-อารยะ (อินโด-อารยัน) ในตระกูลใหญ่ อินเดีย-ยุโรป อันเป็นตระกูลภาษาที่มีสาขากระจายไปทั่วเอเชียและยุโรป
ภาษามราฐี เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษามราฐี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |