มะกรูด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะกรูด | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() ต้นมะกรูด |
||||||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
ชื่อทวินาม | ||||||||||||||
C. hystrix DC. |
มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีผลมีเขียวเข้ม เปลือกเป็นปุ่มป่ำ เนื้อข้างในมีน้ำแต่ไม่มากอย่างส้มชนิดอื่นๆ ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบเว้าแบ่งเป็นสองส่วน และมีกลิ่นฉุน ยาวประมาณ 6 นิ้ว และกว้าง 2 นิ้ว ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)
[แก้] การนำมาใช้
การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน
น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์กันมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหาได้ยากกว่า และได้น้ำน้อยกว่า เพราะมะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ขณะที่มะนาวหาได้ง่ายกว่า น้ำมากกว่า และรสชาติที่ถูกปากมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเช่นกัน ค่ะ
[แก้] กล่าวถึงในวรรณคดี
สำหรับผลมะกรูดนั้นชาวไทยนิยมใช้ สระผมมาช้านาน และมีกล่าวไว้ในวรรณคดีของไทยหลายเรื่อง เช่น โคลงกำสรวล และกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท ในสมัยอยุธยา ดังนี้
เยียมาสํดอกแห้ง | หฤทัย ชื่นแฮ |
เคร่ายอมถวิลงมอก | ค่ำเช้า |
เยียมาเยียไกลคลาย | บางกรุจ |
ถนัดกรูดแก้วสระเกล้า | กลิ่นขจร |
(โคลงกำสรวล บทที่ 54) |
มะกรูดสองแถวทาง | คิดมะกรูดนางสางสระผม | |
แก้เกล้าเจ้าผึ่งลม | กลิ่นขจรขจายเรียมสบายใจ |
มะกรูดสองเถื่อนถ้อง | แถวพนม | |
มะกรูดเหมือนนางสระผม | พ่างเพี้ยง | |
แก้เกล้าเจ้าผึ่งลม | รวยรื่น | |
ขจรสุคนธกลิ่นเกลี้ยง | รื่นล้ำเรียมสบายฯ | |
(กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท | เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) |