ระบบประสาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทส่วนกลาง)
ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้
[แก้] ลักษณะทางกายวิภาค
ระบบประสาทประกอบเซลล์สองประเภท คือ
- นิวรอน (neuron) หรือเซลล์ประสาท (nerve cell) เป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท
- เกลีย (glia) เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอนมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้นิวรอน และเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบประสาท
การส่งสัญญาณภายในระบบประสาทเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกสองอย่าง คือ
- การส่งสัญญาณภายในเส้นใยประสาท (nerve fiber) โดยวิธีของแอกชั่นโพเทนเชียล (action potential)
- การส่งสัญญาณระหว่างนิวรอนโดยอาศัยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) บริเวณซีแนปส์ (synapse)
[แก้] ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทส่วนนอก (peripheral nervous system - PNS) ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทส่วนนอกประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทส่วนนอกว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นแอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทส่วนนอกยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) และระบบประสาทออโตโนมิก (autonomic nervous system)
peripheral nervous system|Peripheral | somatic nervous system|Somatic | |
autonomic nervous system|Autonomic | Sympathetic | |
Parasympathetic | ||
Enteric | ||
central nervous system|Central |
ระบบประสาทโซมาติกมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า (stimulus) ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทออโตโนมิกเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ, ปอด เป็นต้น
ระบบประสาทออโตโนมิกยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหาร, ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย
สมอง
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo)และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus)ทาลามัส (thalamus) สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยเซรีบรัมพีดังเคิล (cerebralpeduncle) และคอร์พอราควอไดร์เจอมินาร์ (corpora quadrigermina) ซึ่งแบ่งออกเป็น คอลิคูไลด์ (superior colliculi) 2 พู ( lob) และอินฟีเรียคอลิคูไลด์ (inferior colliculi) 2 พู สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) เซรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง) 1. Gray matter เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและ axon ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม 2. White matter เป็นที่อยู่ของ axon ที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม เยื่อหุ้มสมอง (Menirges) 3 ชั้น คือ 1. ชั้นนอก (Pura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน 2. ชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ 3. ชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่าง ชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจำทำหน้าที่ให้สมองแลไขสันหลังเปียกชื้ออยู่เสมอ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ 1. White matter เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม 2. Gray matter เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้ง ประเภทประสานงานและนำคำสั่ง โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง 1. ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก 2. ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง 3. ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนวัติ Note เซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท 1. ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma)มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดีย 2. ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิดคือ
[แก้] ดูเพิ่ม
- ประสาทวิทยาศาสตร์
- ประสาทสัมผัส
- ประสาทการได้ยิน
- ประสาทการมองเห็น
- ประสาทการได้กลิ่น
- ประสาทการรับรส
- ประสาททางร่างกาย