วรชาติ สิรวราภรณ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ ดร. วรชาติ สิรวราภรณ์ เกิดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2498 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ที่มีผลงานการวิจัยทางด้านชีวเคมีและอณูชีววิทยาของเชื้อมาลาเรีย วัณโรค และโรคเรื้อน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาชีวเคมี และหัวหน้าหน่วยวิจัยชีวสารสนเทศและจีโนมประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับนางรัชฎา สิรวราภรณ์ มีบุตร 1 คน
สารบัญ |
[แก้] ประวัติการศึกษา
- พ.ศ.2517–2521 - ปริญญาตรี (เทคนิคการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ.2522–2523 - ปริญญาโท (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2524–2528 - ปริญญาเอก (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2529–2531 - หลังปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
[แก้] ประวัติการทำงาน
- พ.ศ.2525–2532 - อาจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2532–2535 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2535–2544 - รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2544–2548 - ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2545–ปัจจุบัน - หัวหน้าหน่วยวิจัยชีวสารสนเทศและจีโนมประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2548–ปัจจุบัน - ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- พ.ศ.2538–2542 - กรรมการบริหาร Pathogenic Steering Committee, TDR องค์การอนามัยโลก
- พ.ศ.2543–2548 - กรรมการบริหาร Pathogenesis and Applied Genomics Steering Committee, TDR องค์การอนามัยโลก
- พ.ศ.2544–2546 - คณะทำงานด้านการริเริ่มโครงการชีวสารสนเทศศาสตร์ TDR องค์การอนามัยโลก
- พ.ศ.2544–2547 - ที่ปรึกษากองบรรณาธิการวารสาร Molecular Microbiology สำนักพิมพ์ Blackwell Science, USA
- พ.ศ.2544–ปัจจุบัน - สมาชิกประเภท Elected members ของ Asia-Pacific International Molecular Biology Network (A-IMBN)
- พ.ศ.2544–ปัจจุบัน - คณะบรรณาธิการวารสาร Trends in Parasitology, Elsevier Science, London, UK
- พ.ศ.2545–ปัจจุบัน - ผู้ประสานงานภูมิภาคเอเซียโครงการ South-South Initiative ของ TDR องค์การอนามัยโลก
- พ.ศ.2546–ปัจจุบัน - คณะบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ.2547 - ประธานฝ่ายวิชาการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ 17thFAOBMB symposium/2nd IUBMB special meeting/7thA-IMBN conference
- พ.ศ.2548–ปัจจุบัน - รองบรรณาธิการวารสาร ScienceAsia ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ.2549–ปัจจุบัน - รองประธานชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทย
- พ.ศ.2550–ปัจจุบัน - คณะบรรณาธิการวารสาร Molecular Biochemical Parasitology, Elsevier, Amsterdam, The Netherland
[แก้] เกียรติคุณและรางวัล
[แก้] รางวัลภายในประเทศ
- พ.ศ. 2534 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาชีววิทยาโมเลกุล จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2537-2540 - เมธีวิจัย สกว. รุ่นที่ 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- พ.ศ. 2539–2544 - รางวัลพัฒนาวิชาชีพนักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- พ.ศ. 2540 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานวิจัยเรื่อง "ยีนสังเคราะห์ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเทส เพื่อการศึกษากลไกการดื้อยาแอนตี้โฟเลต ในเชื้อมาลาเรียฟัลซิปารั่ม"
- พ.ศ. 2541 - รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
[แก้] รางวัลจากต่างประเทศ
- พ.ศ. 2531–2535 - รางวัล L.W. Frohlich Research Award จาก The New York Academy of Science ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2535 - รางวัล Career Development Award จากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2531 - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2534 - ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2536 - ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2539 - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2542 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2545 - ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2548 - มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)
[แก้] ผลงานด้านการวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร. วรชาติ สิรวราภรณ์ มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนกว่า 50 เรื่อง เป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับชีวเคมีและอณูชีววิทยาของเชื้อมาลาเรีย วัณโรค และโรคเรื้อน มีบทความงานวิจัยที่ได้เผยแพร่ในการประชุมสัมมนาวิชาการต่างๆ จำนวน 8 เรื่อง และผลงานวิชาการในลักษณะสื่อการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 เรื่อง เกี่ยวกับชีวสารสนเทศศาสตร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทางอณูชีววิทยา วิศวกรรมโปรตีน (Protein Engineering) การวิเคราะห์ข้อมูลโปรตีนผ่านทางคอมพิวเตอร์ และการหาลำดับเบสในดีเอ็นเอ (DNA sequencing) เป็นต้น