คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Faculty of Medicine Chulalongkorn university)
วันที่ก่อตั้ง | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 |
คณบดี | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล |
สีประจำคณะ | สีเขียวใบไม้ |
สัญลักษณ์คณะ | พระเกี้ยว ล้อมด้วยชื่อคณะ |
วารสารคณะ | จุฬาลงกรณ์เวชสาร (Chulalongkorn Medical J.) Asian Biomedicine (Research, Reviews and News) |
สถานปฏิบัติการ | โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (King Chulalongkorn Memorial Hospital) |
ที่ตั้ง | 1873 ถนนพระราม4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร10330 |
เว็บไซต์ | www.md.chula.ac.th |
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร [1] [2]ด้วยมีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากในขณะนั้นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมรมแพทย์เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีทรัพยากรและสถานที่จำกัด ไม่สามารถรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นได้อีก จึงจำเป็นต้องหาสถานที่แห่งใหม่เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มอย่างมีคุณภาพ โดยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของสภากาชาดไทย มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่และอุปกรณ์ ด้วยเคยใช้เป็นโรงเรียนแพทย์ทหารบกมาก่อน สามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศต่อไปได้
เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น(ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส)จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย(ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ) โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่4) พ.ศ. 2490[3] ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และแผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ ภายหลังได้โอนมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 [4] [5] [6] ปัจจุบันแบ่งส่วนราชการออกเป็น 21 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ[7]
ในปี พ.ศ. 2550 เป็นโอกาสพิเศษที่สำคัญยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ครบรอบ ๙๐ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครบ ๖๐ ปีของการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] วันอานันทมหิดล
วันอานันทมหิดล เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชาวแพทย์จุฬาฯ กล่าวคือเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำริที่จะจัดงานวันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 8ให้พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป
กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งประดิษฐานหน้าอาคาร "อานันทมหิดล" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ คณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ รายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์เนื่องในสัปดาห์วันอานันทมหิดล ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
[แก้] ทำเนียบ คณบดี
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (นพ.ชื่น พุทธิแพทย์) | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 - 5 มกราคม พ.ศ. 2493 |
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หลวงพรหมทัตตเวที (ไหมพรม ศรีสวัสดิ์) | 20 มีนาคม พ.ศ. 2493 - 8 เมษายน พ.ศ. 2495 (รักษาการ) 9 เมษายน พ.ศ. 2495 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 |
3. ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรมมาส) | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (รักษาการ) |
4. ศาสตราจารย์ พันเอก นายแพทย์ หลวงประกิตเวชศักดิ์ | 1 เมษายน พ.ศ. 2500 - 30 เมษายน พ.ศ. 2503 |
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2508 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (รักษาการ) |
6. ศาสตราจารย์ พันตรี นายแพทย์ทวี ตุมราศวิน | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - 5 กันยายน พ.ศ. 2507 (รักษาการ) 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 |
7. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สมัค พุกกะณะเสน | 1 เมษายน พ.ศ. 2516 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 |
8. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 |
9. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ยาใจ ณ สงขลา | 1 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 |
10. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา | 1 มีนาคม พ.ศ. 2528 - 28 มกราคม พ.ศ. 2532 |
11. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรเทอง รัชตะปีติ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2532 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 |
12. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2536 - 8 มกราคม พ.ศ. 2540 |
13. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ | 9 มกราคม พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542 |
14. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 |
[แก้] ภาควิชา
[แก้] หลักสูตร
[แก้] ปริญญาตรี
[แก้] ประกาศนียบัตรบัณฑิต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
|
|
[แก้] ปริญญาโท
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
|
[แก้] ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
|
|
[แก้] ปริญญาเอก
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
|
[แก้] ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ริเริ่มจัดโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท (Medical Education for Students in Rural Area Project-MESRAP)เมื่อ พ.ศ. 2521[8] เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์ไปสู่ชนบทเป็นครั้งแรก และเป็นแม่แบบของโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท(Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)ของกระทรวงสาธารณสุขในเวลาต่อมา ซึ่งปัจจุบันได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีและโรงพยาบาลชลบุรี นอกจากนี้ยังได้พัฒนาโครงการการศึกษาแพทย์แนวใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยดำเนินการร่วมกับกองทัพอากาศ ซึ่งภายหลังได้ยุติลงและปรับเปลี่ยนเป็นโครงการทุนกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(One Doctor One District project-ODOD)และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข (Mega project)ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่ให้ความร่วมมือในโครงการผลิตแพทย์ต่างๆ ดังนี้
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
- โรงพยาบาลจันทรุเบกษา กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
[แก้] ศูนย์
- ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะจุฬาลงกรณ์
- ศูนย์เวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Information Center for Emerging Infectious Diseases)
- ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
- ศูนย์การจัดประชุมวิชาการ
- ศูนย์สุขภาพเฉลิมพระเกียรติ (Wellness Center)
[แก้] เกียรติประวัติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จทางด้านการแพทย์มากมาย โดยผลงานเด่น ๆ มีดังนี้ [9]
- พ.ศ. 2502 การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำครั้งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2505 เปิดสาขาประสาทศัลยศาสตร์และแผนกวิสัญญีวิทยา เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2507 ริเริ่มรักษาไตวายด้วยเครื่องฟอกไตเทียมเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2508 เปิดหน่วยวิจัยคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวเป็นแห่งแรกของประเทศ
- พ.ศ. 2513 ริเริ่มให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกคลอดทุกราย
- พ.ศ. 2515 การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2516 จัดตั้งห้องปฏิบัติการโครโมโซมแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2516 ริเริ่มการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2516 ริเริ่มการใช้ ultrasound เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2521 ริเริ่มโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2524 ริเริ่มการใช้ CT scan เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามรายแรกของประเทศและรายที่ 3 ของโลก
- พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดย้ายนิ้วเท้ามาแทนนิ้วมือด้วยจุลศัลยกรรมครั้งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2527 วินิจฉัยผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการแก้ไขการมีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วรายแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- พ.ศ. 2543 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิของเด็กนอกครรภ์มารดาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2546 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด
- พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากรกเด็กรักษาโรคธาลัสซีเมียและโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดได้หายขาดสำเร็จเป็นรายแรกของอาเซียน
- พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนข้อกระดูกสันหลังเทียม นับเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ระดับนานาชาติ
- พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องส่องซึ่งเป็นความภูมิใจในระดับนานาชาติ
- พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติในโรคพาร์กินสันและโรคดิสโทเนียด้วยเทคนิคใหม่เป็นครั้งแรกในไทยและเอเชีย
[แก้] คณาจารย์และศิษย์เก่าผู้ทำชื่อเสียง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยคณาจารย์และศิษย์เก่าได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น , เมธีวิจัยอาวุโส สกว. , นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นอกจากนี้ ศิษย์เก่ายังมีบทบาททางการเมือง การปกครอง และการบริหารต่าง ๆ โดยดูรายชื่อบุคคลสำคัญจากคณะแพทยศาสตร์ได้ที่
[แก้] การเดินทางมาสู่คณะ
- รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่ สถานีศาลาแดง
- รถไฟฟ้าใต้ดิน ลงที่ สถานีสีลม
- รถโดยสารประจำทาง เช่น สาย 4 47 50 163
[แก้] อ้างอิง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๐
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510
- ↑ พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๐
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเลิกล้มคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๐
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 21 มีนาคม 2521 เรื่อง โครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท
- ↑ จุฬาลงกรณแพทยานุสรณ์ พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2540
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- คณะแพทยศาสตร์
- สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์
- หอสมุดคณะแพทยศาสตร์
- การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2550
- การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา
- โครงการเฉลิมฉลองคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอายุครบ 60 ปี
- โครงการวิจัยผู้สูงวัยสุขภาพดี
![]() |
คณะแพทยศาสตร์ ใน ประเทศไทย | ||
---|---|---|---|
|
![]() |
หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
หน่วยงาน | |
---|---|
คณะ |
ครุศาสตร์ · จิตวิทยา · ทันตแพทยศาสตร์ · นิติศาสตร์ · นิเทศศาสตร์ · พยาบาลศาสตร์ · พาณิชยศาสตร์และการบัญชี · แพทยศาสตร์ · เภสัชศาสตร์ · รัฐศาสตร์ · วิทยาศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · สถาปัตยกรรมศาสตร์ · สหเวชศาสตร์ · สัตวแพทยศาสตร์ · ศิลปกรรมศาสตร์ · เศรษฐศาสตร์ · อักษรศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · บัณฑิตวิทยาลัย |
วิทยาลัย |
วิทยาลัยการสาธารณสุข · วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี · วิทยาลัยประชากรศาสตร์ · สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ |
สถาบันสมทบ |
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย · วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ · สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ |
ดูเพิ่ม |