สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา แห่งเดนมาร์ก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา แห่งสหราชอาณาจักร (เจ้าหญิงอเล็กซานดรา คาโรไลนา มารี ชาร์ลอต ลุยส์ จูเลีย แห่งเชลสวิค โฮลสเตน ซอนเดอร์เบิร์ก กลุกซเบอร์ก) 1 ธันวาคม พ.ศ. 2387(ค.ศ. 1844) - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468(ค.ศ. 1925) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ระหว่างปี ค.ศ. 1863 - ค.ศ. 1901(ยาวนานที่สุดในบรรดาผู้เคยดำรงพระอิสริยยศนี้) หลังการสวรรคตของพระสวามีตราบกระทั่งเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชชนนี แต่ไม่โปรดที่จะให้ออกพระนามาภิไธยเช่นนั้น ทรงเรียกพระองค์เองว่าสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา[1]
สารบัญ |
[แก้] วัยเด็ก
เจ้าหญิงอเล็กซานดรา หรือที่พระประยูรญาติเรียกว่า "อลิกซ์" ประสูติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2387 ทรงเป็นพระราชธิดาในเจ้าชายคริสเตียน และ เจ้าหญิงหลุยส์ แห่งเฮสส์ แม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีพระราชวงศ์เล็กๆ วงศ์นี้จะยากจนและไม่เป็นที่รู้จัก แต่ท้ายที่สุดกลับกลายเป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุด และพระบิดาของพระองค์มีพระราชสมัญญาเป็น "พ่อบุญธรรมของยุโรป"
เจ้าหญิงอเล็กซานดราทรงมีพี่น้องดังนี้
- เจ้าฟ้าชายเฟดเดอริค มกุฎราชกุมาร ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีเฟดเดอริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก เสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีลุยเวียซา แห่งเดนมาร์ค
- เจ้าฟ้าหญิงอเล็กซานดรา ต่อมาทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร และดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีอเลกซานดรา แห่งสหราชอาณาจักร
- เจ้าฟ้าชายวิลเฮม ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ เสกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีโอลก้า แห่งกรีซ
- เจ้าฟ้าหญิงแดกมาร์ ต่อมาทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระจักรรดิซาร์ อเลกซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 2 ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงไธรา ซึ่งต่อมาได้ทรงเสกสมรสกับเอิร์นสท์ ออกัสต์ แห่งฮาโนเวอร์ ดยุคผู้ปกครองคัมเบอร์แลนด์ เจ้าฟ้าหญิงไธราได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีแห่งฮาโนเวอร์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่พระสวามีจะสละสิทธิ์ในการครองบัลลังก์
- เจ้าฟ้าชายวอลดีเมอร์ เสกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย เดอ ออเลนซ์ บูบอง เจ้าฟ้าชายพระองค์นี้เคยได้รับการถวายราชบัลลังก์ของทั้งบัลแกเรียและนอร์เวย์ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ
[แก้] เจ้าหญิงแห่งเวลส์
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือที่เรียกกันว่า "เบอร์ตี้" ทรงเป็นพระราชโอรสที่พระราชบิดา พระราชมารดาเหนื่อยหน่ายมากที่สุด สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักรซึ่งบัดนั้นทรงเป็นหม้ายแล้ว พยายามทำทุกอย่างที่พระราชสวามีตั้งพระทัยไว้ ดังนั้นแม้จะไม่ชอบพระทัย พระองค์ก็ทรงเลือกอเลกซานดรา แห่งเดนมาร์คมาเป็นพระสุณิสาพระองค์ใหญ่
อย่างไรก็ตามการเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียครั้งแรกของเจ้าหญิงพระองค์นี้ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงพึงพอพระทัยมาก ด้วยทรงทราบดีว่าพระนิสัยจะไปกันได้กับพระราชโอรสของพระองค์ ทั้งสองพระองค์เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1863ที่โบสถ์เซนท์จอร์จ และอเลกซานดราได้ดำรงพระยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ 8 เดือนหลังนั้นพระบิดาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์พระองค์ใหม่ก็เสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์เดนมาร์ก
[แก้] พระราชโอรส พระราชธิดา
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรามีพระราชโอรสและพระราชธิดาตามลำดับดังนี้
- เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต วิคเตอร์ ดยุคแห่งคลาเรนซ์
- เจ้าฟ้าชายจอร์จ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีแมรี แห่งเทคซ์
- เจ้าฟ้าหญิงหลุยส์ ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรกุมารี และดัชเชสแห่งไฟฟ์ เสกสมรสกับอเลกซานเดอร์ ดัฟฟ์ ดยุคแห่งไฟฟ์
- เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย อเล็กซานดรา
- เจ้าฟ้าหญิงม้อด เสกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮากุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์
- เจ้าฟ้าชายอเล็กซานเดอร์ สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์ได้ 1 วัน
[แก้] สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 เจ้าชายแห่งเวลส์ได้เสวยราชย์ต่อเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และเจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้กลายเป็นสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา ตั้งแต่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และสมเด็จพระราชชนนีหลังจากนั้นจนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงเป็นพระราชินีที่ประชาชนรักมากที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษ เริ่มจากการบำเพ็ญพระกรณียกิจอย่างไม่หยุดหย่อน รวมทั้งทรงก่อตั้ง Queen Alexandra's Nursing Corps หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "Q.A.s" พระองค์ทรงผ่านทั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ ครั้งที่สองทรงเศร้าโศกเสียพระทัยกับการที่พระราชภาติยะ(หลานชาย)คือสมเด็จพระจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกปลงพระชนม์ พระราชสวามีนั้น แม้จะทรงรักใคร่กันดี แต่พระองค์ก็อดไม่ได้ที่จะแอบมีพระสนมลับๆ สมเด็จพระราชินีเองก็พระทัยกว้างมากพอที่จะไม่ทำอะไรพระสนมนั้น ท้ายที่สุดข้างพระที่สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ยามสวรรคต พระองค์มีพระราชเสาวนีย์ให้ตามตัวพระสนมคนนั้นมาเฝ้าฯ ส่งเสด็จสวรรคตองค์พระมหากษัตริย์ข้างพระที่ด้วยซ้ำ ทรงเข้าพระทัยดีว่าการสูญเสียคนที่รักเป็นความเจ็บปวดขนาดไหน เมื่อตอนที่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์ลง สมเด็จพระราชินีเสียพระทัยมาก ทรงเก็บห้องส่วนพระองค์ของเจ้าชายไว้รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับเจ้าชาย พระองค์ทรง "แชร์" ความเสียพระทัยกับสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ผู้ซึ่งทรงเสียพระทัยกับการจากไปของเจ้าชายพระราชสวามี จากที่เดิมสมเด็จพระราชินีนาถไม่โปรดพระศุณิสาพระองค์นี้เลย กลับกลายเป็นว่าความเข้าอกเข้าใจกันในครั้งนั้นทำให้พระองค์กลายเป็นผู้ที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียโปรดปรานที่สุดในบรรดา "ลูก" ทั้งหมด(คือทั้งพระราชโอรสพระราชธิดาของพระองค์เอง และson กับ daughter-in-law)
[แก้] สวรรคต
พระราชินีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468(ค.ศ. 1925) จากพระอาการพระหทัยวาย ทีพ่ระราชวังซานดริงแฮม พระบรมศพฝังที่พระราชวังวินด์เซอร์
[แก้] พระอิสริยยศ
- Her Serene Highness Princess Alexandra of Schleswig-Holstein-Sonderburg-Glücksburg (พ.ศ. 2387–พ.ศ. 2396)
- Her Highness Princess Alexandra of Denmark (พ.ศ. 2396–พ.ศ. 2401)
- Her Royal Highness Princess Alexandra of Denmark (พ.ศ. 2401–พ.ศ. 2406)
- Her Royal Highness The Princess of Wales (พ.ศ. 2406–พ.ศ. 2444)[2]
- Her Majesty The Queen (พ.ศ. 2444–พ.ศ. 2453)
- Her Majesty Queen Alexandra (พ.ศ. 2453–พ.ศ. 2468)
[แก้] เพิ่มเติม
สมัยก่อนหน้า: เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต |
สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร ใน สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 |
สมัยถัดไป: สมเด็จพระราชินีแมรี่ |
สมัยก่อนหน้า: สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถวิกตอเรีย |
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ใน สมเด็จพระจักรพรรดิเอ็ดเวิร์ดที่ 7 |
สมัยถัดไป: สมเด็จพระจักรพรรดินีแมรี่ |
[แก้] อ้างอิง
- ↑ สมเด็จพระราชินีในรัชกาลจะใช้คำว่า Her Majesty the Queen หากพ้นรัชกาลไปแล้วจึงจะตัด the ออกแล้วใช่พระนามาภิไธยแทน เช่นสมเด็จพระราชชนนี ในรัชกาลที่แล้วทรงเป็นพระมเหสีในพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็น Her Majesty the Queen แต่มาในรัชกาลปัจจุบันทรงเป็นพระราชมารดา (ล่วงรัชกาลมาแล้ว พระองค์ไม่ได้เป็นราชินีองค์ปัจจุบันอีก) ใช้ว่า Her Majesty Queen Elizabeth, the Queen Mother หลักเกณฑ์นี้ใช้กับ King และ Queen ทุกพระองค์ด้วย ไม่ว่าจะทรงปกครองประเทศเอง หรือเป็นคู่ครอง
- ↑ อเล็กซานดราทรงเป็นเจ้าหญิงด้วยพระองค์เอง ฉะนั้นจึงสามารถที่จะถูกอ้างถึงว่า เจ้าหญิงอเล็กซานดรา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้ แต่ไดอานานั้นไม่ใช่เจ้าหญิงด้วยพระองค์เอง จะเรียกว่าเจ้าหญิงไดอานาเช่นนั้นบ้างไม่ได้
เจ้าหญิงแห่งเวลส์ วันที่ที่แต่ละพระองค์ทรงพระอิสริยยศ |
เจ้าหญิงโจน แห่งเคนท์ (พ.ศ. 1904-พ.ศ. 1919) | แอนน์ เนวิลล์ (พ.ศ. 2013- พ.ศ. 2014) | เจ้าฟ้าหญิงแคทเธอรีน แห่งอรากอน (พ.ศ. 2044-พ.ศ. 2045) | เจ้าฟ้าหญิงคาโรลีน แห่งแอนสแพค (พ.ศ. 2257- พ.ศ. 2270) | เจ้าหญิงออกัสตา แห่งเซกกอธธา (พ.ศ. 2279- พ.ศ. 2294) | เจ้าฟ้าหญิงคาโรลีน แห่งบรุนสวิค (พ.ศ. 2338- พ.ศ. 2363) | เจ้าฟ้าหญิงอเล็กซานดรา แห่งเดนมาร์ก(พ.ศ. 2406- พ.ศ. 2444) | เจ้าหญิงแมรี แห่งเท็ค (พ.ศ. 2444- พ.ศ. 2453) | เลดี้ไดอานา สเปนเซอร์ (พ.ศ. 2524- พ.ศ. 2539) | คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์* (พ.ศ. 2548- ปัจจุบัน) หมายเหตุ: คามิลล่าไม่ได้ใช้พระอิสริยยศ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ แต่ใช้ ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ แทน |