พ.ศ. 2468
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน
(ตามการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2468 เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน)
สารบัญ |
[แก้] เหตุการณ์
- 3 มกราคม – เบนิโต มุสโสลินี ประกาศกุมอำนาจเผด็จการเหนืออิตาลี
- 2 กุมภาพันธ์ – สุนัขลากเลื่อนไปถึงเมืองโนมในมลรัฐอะแลสกาพร้อมกับเวชภัณฑ์เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคคอตีบ ทำให้เกิดการแข่งขันสุนัขลากเลื่อนไอดิทาร็อดในเวลาต่อมา
- 17 กรกฎาคม – จางวางศรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ
- 18 กรกฎาคม – อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เผยแพร่หนังสือ Mein Kampf (การต่อสู้ของข้าพเจ้า)
- 24 พฤศจิกายน – สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในพระบรมมหาราชวัง
- 25 พฤศจิกายน – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
[แก้] บุคคลสำคัญที่เกิดในปีนี้
- 19 พฤษภาคม – พอล พต ผู้นำเขมรแดง (เสียชีวิต พ.ศ. 2541)
- 19 พฤษภาคม – มาลคอล์ม เอกซ์ ผู้นำลัทธิชาตินิยมผิวดำ (เสียชีวิต พ.ศ. 2508)
- 6 มิถุนายน – กิมย้ง นักเขียนนิยายจีนกำลังภายใน
- 8 มิถุนายน – บาร์บารา บุช อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ (ภริยาจอร์จ บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41 และมารดาของจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีคนที่ 43)
- 9 มิถุนายน – คีธ ลอเมอร์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เสียชีวิต พ.ศ. 2536)
- 20 กันยายน – พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (เสด็จสวรรคต พ.ศ. 2489)
- 13 ตุลาคม – มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร
- 24 พฤศจิกายน – สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
[แก้] บุคคลสำคัญที่ถึงแก่กรรมในปีนี้
- 12 มีนาคม – ซุน ยัตเซน ผู้นำการปฏิวัติจีน (เกิด พ.ศ. 2409)
- 16 เมษายน – พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (ประสูติ พ.ศ. 2398)
- 14 กรกฎาคม - ปานโช วิลลา แชมป์โลกมวยสากลคนแรก ของประเทศฟิลิปปินส์และทวีปเอเชีย
- 25 พฤศจิกายน – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. 2423)
[แก้] รางวัลโนเบล
- สาขาเคมี - Richard Adolf Zsigmondy
- สาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา - ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาวรรณกรรม - จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw)
- สาขาสันติภาพ - Austen Chamberlain และ Charles Gates Dawes
- สาขาฟิสิกส์ - James Franck และ Gustav Ludwig Hertz