อำเภอชะอำ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถิติ | |
---|---|
จังหวัด: | จังหวัดเพชรบุรี |
พื้นที่: | 660.65 ตร.กม. |
ประชากร: | 66,876 (พ.ศ. 2543) |
ความหนาแน่น: | 101.223 คน/ตร.กม. |
รหัสไปรษณีย์: | 76120 |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 7604 |
แผนที่ | |
อำเภอชะอำ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด ซึ่งมีหาดทรายขาว ยาว และยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจด้านการทอ่งเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเป็นรายได้ให้กับด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจการค้าของที่ระลึก ร้านอาหาร การประมง เป็นต้น
อำเภอชะอำ ตั้งขึ้นเมืองปี พ.ศ. 2440 ที่บ้านายาง หมู่ที่ 3 ตำบลนายาง เดิมใช้ชื่อว่า "อำเภอนายาง" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2457 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนายาง ไปตั้งที่บ้านหนองจอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเป็นอำเภอหนองจอก เขตอำเภอท่ายาง ในปัจจุบัน จนกระทั่งหลังสงครามมหาเอเชียบูรพากระทรวงมหาดไทยได้ย้ายอำเภอหนองจอก มาตั้งที่ ต.ชะอำ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สะดวกแก่การปกครองและได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอชะอำ"เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2487 มี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
สารบัญ |
[แก้] ข้อมูลการปกครอง
- ตำบล 9 แห่ง
- ตำบลชะอำ
- ตำบลบางเก่า
- ตำบลนายาง
- ตำบลเขาใหญ่
- ตำบลหนองศาลา
- ตำบลห้วยทรายเหนือ
- ตำบลไร่ใหม่พัฒนา
- ตำบลสามพระยา
- ตำบลดอนขุนห้วย
- หมู่บ้าน 67 แห่ง
- เทศบาล 2 แห่ง
- อบต 5 แห่ง
[แก้] เศรษฐกิจในชะอำ
ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าบทบาททางด้านการบริการ โดยเฉพาะการค้า การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมของจังหวัดเพชรบุรี จะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของจังหวัดเพชรบุรี อำเภอชะอำจึงเป็นเมืองที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทำให้มีนักธุรกิจมาลงทุนหลายพันล้าน ส่วนการท่องเที่ยวอำเภอชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุดจึงทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตมากขึ้น
จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของนักท่องเที่ยว ทำให้บริการด้านการท่องเที่ยวรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของจังหวัดเพชรบุรีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ถนน ไฟฟ้า ร้านขายอาหาร ที่พักแรม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างที่พักตากอากาศ การขายอาหาร ตลอดจนการบริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องธุรกิจท่องเที่ยว มีส่วนชักนำให้เกิดการบุกรก จนทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชากรด้วย
[แก้] โครงการพระราชดำริ
ในอำเภอชะอำยังมีโครงการที่เกี่ยวกับพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช พระองค์ทรงได้พระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
- โครงการพระราชประสงค์หุบกระพง เป็นโครงการเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินเกษตรกรผู้ยากจนในรูปแบบของหมู่บ้านสหกรณ์ จะเน้นในด้านเกษตรและกิจกรรมสหกรณ์
- ศูนย์สาธิตสหกรณ์ดอนขุนห้วย ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากโครงการหุบกระพงมุ่งเน้นการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรที่ยากจน
- ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยทราย เป็นพื้นที่เขตอับฝน เนื่องมาจากป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดการบำรุงรักษาทำให้เกิดการพังทลายค่อนข้างสูง และราษฎรส่วนใหญ่ปลูกไร่สับปะรด โดยใช้สารเคมีมากทำให้คุณภาพของดินต่ำลงด้วย พระองค์ทรงมีราชดำรัสว่า หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทราย ในที่สุด จึงให้แนวทางการแก้ไขให้เป็นศูนย์การพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการปลูกป่า และช่วยส่งเสริมราษฎรสร้างรายได้จาการผลิตผลจากป่าไม้กับปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ในรูปแบบของเกษตรผสมผสานควบคู่กันไป
จะเห็นว่าศูนย์การพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาขากพระราชดำริเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือมีทั้งการศึกษาการทดลอง และสาธิต เพื่อให้เห็นผลทุกด้าน ดังนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้อย่างแท้จริงจึงนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและเป็นการเพิ่มรายได้อีกต่อไป
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
อำเภอชะอำ เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อำเภอชะอำ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |