แถบไคเปอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ
ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2473 ส่วนก้อนน้ำแข็งอื่นๆ นั้นมีแสงริบหรี่และมองหายาก ถูกค้นพบในเวลาต่อมา ดวงแรกที่ค้นพบ คือ 1992 QB1 เมื่อ ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)
นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558
ดาวเคราะห์: ดาวพุธ - ดาวศุกร์ - โลก - ดาวอังคาร - ดาวพฤหัสฯ - ดาวเสาร์ - ดาวยูเรนัส - ดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์แคระ: ซีรีส - พลูโต - อีริส
อื่น ๆ: ดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ - แถบดาวเคราะห์น้อย - ดาวหาง - แถบไคเปอร์ - เมฆออร์ต