ดาวศุกร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพรังสียูวีของดาวศุกร์จากยานไพโอเนียร์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 |
|||||||
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มยุค J2000 | |||||||
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: | 108,941,849 กม. 0.72823128 หน่วยดาราศาสตร์ |
||||||
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 107,476,002 กม. 0.71843270 หน่วยดาราศาสตร์ |
||||||
กึ่งแกนเอก: | 108,208,926 กม. 0.72333199 หน่วยดาราศาสตร์ |
||||||
เส้นรอบวงของวงโคจร: | 0.680 เทระเมตร (4.545 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.00677323 | ||||||
คาบดาราคติ: | 224.70096 วัน (0.6151977 ปีจูเลียน) |
||||||
คาบซินอดิก: | 583.92 วัน | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: | 35.020 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: | 35.259 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: | 34.784 กม./วินาที | ||||||
ความเอียง: | 3.39471° (3.86° กับระนาบศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) |
||||||
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: | 76.68069° | ||||||
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 54.85229° | ||||||
ดาวบริวารของ: | ดวงอาทิตย์ | ||||||
จำนวนดาวบริวาร: | ไม่มี | ||||||
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ | |||||||
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร: | 12,103.7 กม. (0.949×โลก) |
||||||
พื้นที่ผิว: | 4.60×108 กม.² (0.147×โลก) |
||||||
ปริมาตร: | 9.28×1011 กม.³ (0.857×โลก) |
||||||
มวล: | 4.8685×1024 กก. (0.815×โลก) |
||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 5.204 กรัม/ซม.³ | ||||||
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: | 8.87 เมตร/วินาที² (0.904 จี) |
||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 10.36 กม./วินาที | ||||||
คาบการหมุนรอบตัวเอง: | −243.0185 วัน | ||||||
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: | 6.52 กม./ชม. | ||||||
ความเอียงของแกน: | 2.64° | ||||||
ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ: | 272.76° (18 ชม. 11 นาที 2 วินาที) |
||||||
เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: | 67.16° | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.65 | ||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: *อุณหภูมิต่ำสุด หมายถึงที่ยอดเมฆเท่านั้น |
|
||||||
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ | |||||||
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: | 9,321.9 กิโลปาสกาล | ||||||
องค์ประกอบ: | ~96.5% คาร์บอนไดออกไซด์ ~3.5% ไนโตรเจน 0.015% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 0.007% ไอน้ำ 0.002% คาร์บอนมอนอกไซด์ 0.0017% อาร์กอน 0.0012% ฮีเลียม 0.0007% นีออน คาร์บอนิลซัลไฟด์ ปริมาณน้อยมาก ไฮโดรเจนคลอไรด์ ปริมาณน้อยมาก ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ปริมาณน้อยมาก |
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
ดาวเคราะห์: ดาวพุธ - ดาวศุกร์ - โลก - ดาวอังคาร - ดาวพฤหัสฯ - ดาวเสาร์ - ดาวยูเรนัส - ดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์แคระ: ซีรีส - พลูโต - อีริส
อื่น ๆ: ดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ - แถบดาวเคราะห์น้อย - ดาวหาง - แถบไคเปอร์ - เมฆออร์ต
ดาวศุกร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ หรือ จักรวาลวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ดาวศุกร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |