ดาวพุธ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพดาวพุธจากยานมาริเนอร์ 10 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 |
||||||||||
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มยุค J2000 | ||||||||||
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: | 69,817,079 กม. 0.46669835 หน่วยดาราศาสตร์ |
|||||||||
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 46,001,272 กม. 0.30749951 หน่วยดาราศาสตร์ |
|||||||||
กึ่งแกนเอก: | 57,909,176 กม. 0.38709893 หน่วยดาราศาสตร์ |
|||||||||
เส้นรอบวงของวงโคจร: | 2.406 หน่วยดาราศาสตร์ | |||||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.20563069 | |||||||||
คาบดาราคติ: | 87.96935 วัน (0.2408470 ปีจูเลียน) |
|||||||||
คาบซินอดิก: | 115.8776 วัน | |||||||||
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: | 47.36 กม./วินาที | |||||||||
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: | 58.98 กม./วินาที | |||||||||
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: | 38.86 กม./วินาที | |||||||||
ความเอียง: | 7.00487° (3.38° กับระนาบศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) |
|||||||||
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: | 48.33167° | |||||||||
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 29.12478° | |||||||||
ดาวบริวารของ: | ดวงอาทิตย์ | |||||||||
จำนวนดาวบริวาร: | ไม่มี | |||||||||
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ | ||||||||||
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร: | 4,879.4 กม. (0.383×โลก) |
|||||||||
พื้นที่ผิว: | 7.5×107 กม.² (0.147×โลก) |
|||||||||
ปริมาตร: | 6.1×1010 กม.³ (0.056×โลก) |
|||||||||
มวล: | 3.302×1023 กก. (0.055×โลก) |
|||||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 5.427 กรัม/ซม.³ | |||||||||
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: | 3.701 เมตร/วินาที² (0.377 จี) |
|||||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 4.435 กม./วินาที | |||||||||
คาบการหมุนรอบตัวเอง: | 58.6462 วัน (58 วัน 15.5088 ชม.) |
|||||||||
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: | 10.892 กม./ชม. | |||||||||
ความเอียงของแกน: | ~0.01° | |||||||||
ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ: | 281.01° (18 ชม. 44 นาที 2 วินาที) |
|||||||||
เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: | 61.45° | |||||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.10-0.12 | |||||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: 0°N, 0°W 85°N, 0°W |
|
|||||||||
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ | ||||||||||
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: | น้อยมาก | |||||||||
องค์ประกอบ: | 31.7% โพแทสเซียม 24.9% โซเดียม 9.5% อะตอมออกซิเจน 7.0% อาร์กอน 5.9% ฮีเลียม 5.6% โมเลกุลออกซิเจน 5.2% ไนโตรเจน 3.6% คาร์บอนไดออกไซด์ 3.4% น้ำ 3.2% ไฮโดรเจน |
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของระบบสุริยะ. ดาวพุธมักปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ จึงสังเกตได้ไม่ง่ายนักด้วยกล้องโทรทรรศน์. ขณะทำมุมห่างมากที่สุดจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28.3° ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้ คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอะพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
[แก้] บรรยากาศ
ดาวพุธมีบรรยากาศที่เบาบางมาก อันที่จริงโมเลกุลแก๊สในบรรยากาศชนกับพื้นผิวดาวพุธ บ่อยกว่าชนกันเองเสียอีก ในบรรยากาศมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นออกซิเจน โพแทสเซียม และโซเดียม
ดาวพุธสูญเสียอะตอมที่ประกอบเป็นบรรยากาศออกสู่อวกาศ อยู่ตลอดเวลา "ช่วงชีวิต" ของอะตอมโพแทสเซียมหรือโซเดียมยาวนานเฉลี่ยเพียงประมาณ 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีกลไกหลายอย่างที่คอยเติมแก๊สในบรรยากาศ ได้แก่ ลมสุริยะที่จับไว้โดยสนามแม่เหล็ก ไอน้ำที่เกิดจากการชนของฝุ่นสะเก็ดดาว การระเหยของน้ำแข็งที่ขั้วจากการได้รับความร้อนโดยตรง และ/หรือการพ่นแก๊ส
[แก้] อุณหภูมิและแสงอาทิตย์
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของดาวพุธมีค่า 452 เคลวิน แต่แปรผันได้ระหว่าง 90-700 เคลวิน เทียบกับโลกที่มีค่าแปรผันเพียง 11 เคลวิน (คำนึงเฉพาะการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงจากภูมิอากาศหรือฤดูกาล) แสงอาทิตย์บนพื้นผิวดาวพุธมีความเข้มมากกว่าที่โลกราว 6.5 เท่า ความรับอาบรังสี (irradiance) โดยรวมมีค่า 9.13 kW/m²
ที่น่าประหลาดใจ คือ การสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) แสดงว่ามีน้ำแข็งที่ขั้วเหนือของดาวพุธ เชื่อว่าน้ำแข็งอยู่ที่ก้นหลุมอุกกาบาตที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง โดยมีต้นกำเนิดจากการพุ่งชนของดาวหาง และ/หรือแก๊สที่พุ่งออกมาจากภายในดาว
[แก้] ภูมิประเทศ
ดาวพุธมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากจนดูคล้ายดวงจันทร์ ภูมิลักษณ์ที่เด่นที่สุดบนดาวพุธ (เท่าที่สามารถถ่ายภาพได้) คือ แอ่งแคลอริส หลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,350 กิโลเมตร ผิวดาวพุธมีผาชันอยู่ทั่วไป ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว ขณะที่ใจกลางดาวพุธเย็นลงพร้อมกับหดตัว จนทำให้เปลือกดาวพุธย่นยับ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวพุธปกคลุมด้วยที่ราบ 2 แบบที่มีอายุต่างกัน ที่ราบที่มีอายุน้อยจะมีหลุมอุกกาบาตหนาแน่นน้อยกว่า เป็นเพราะมีลาวาไหลมากลบหลุมอุกกาบาตที่เกิดก่อนหน้า
[แก้] องค์ประกอบภายใน
ดาวพุธมีแก่นที่ประกอบด้วยเหล็กในสัดส่วนที่สูง (แม้เมื่อเปรียบเทียบกับโลก) เป็นโลหะประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยมีค่า 5,430 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เล็กน้อย สาเหตุที่ดาวพุธมีเหล็กอยู่มากแต่มีความหนาแน่นต่ำกว่าโลก เป็นเพราะในโลกมีการอัดตัวแน่นกว่าดาวพุธ ดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก แก่นที่เป็นเหล็กมีปริมาตรราว 42% ของดวง (แก่นโลกมีสัดส่วนเพียง 17%) ล้อมรอบด้วยเนื้อดาวหรือแมนเทิลหนา 600 กิโลเมตร
ดาวเคราะห์: ดาวพุธ - ดาวศุกร์ - โลก - ดาวอังคาร - ดาวพฤหัสฯ - ดาวเสาร์ - ดาวยูเรนัส - ดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์แคระ: ซีรีส - พลูโต - อีริส
อื่น ๆ: ดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ - แถบดาวเคราะห์น้อย - ดาวหาง - แถบไคเปอร์ - เมฆออร์ต