แอมแปร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอมแปร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์ : A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที แอมแปร์เป็นหน่วยฐานเอสไอ ตั้งชื่อตาม อองเร-มารี แอมแปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้า
สารบัญ |
[แก้] นิยาม
แอมแปร์ คือกระแสคงที่ ซึ่ง หากคงอยู่ในตัวนำเป็นเส้นตรงขนานกัน 2 ตัว ที่มีความยาวไม่จำกัด มีภาคตัดขวางที่เล็กมาก และวางห่างกัน 1 เมตร ในสูญญากาศ ก็จะก่อให้เกิดแรงระหว่างตำแหน่งทั้งสองนี้เท่ากับ 2×10–7 นิวตันต่อความยาว 1 เมตร [1]
กระแสไฟฟ้า คือ อัตราเวลาของประจุ หรือปริมาณกระจัดของประจุไฟฟ้า หนึ่งแอมแปร์แทนค่าอัตราประจุ 1 คูลอมบ์ต่อวินาที
ค่าแอมแปร์ได้นิยามขึ้นครั้งแรก (เป็นหน่วยฐาน เช่นเดียวกัน หน่วยเมตร วินาที และกิโลกรัม) โดยไม่มีการอ้างอิงดับประมาณของประจุ หน่วยของประจุ คือ คูลอมบ์ นั้น นิยามว่ามีค่าเท่ากับประมาณประจุที่ถูกแทนที่ด้วยกระแส 1 แอมแปร์ ในเวลา 1 วินาที
[แก้] ดูเพิ่ม
- หน่วยเอสไอ
- กฎของโอห์ม
- Electric shock
- กฎของแอมแปร์
- แอมมิเตอร์
[แก้] อ้างอิง
- ↑ Paul M. S. Monk, Physical Chemistry: Understanding our Chemical World, John Wiley and Sons, 2004 online