แฮมเมอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮมเมอร์ วงดนตรีไทย
[แก้] ประวัติ
ปี 2518 ได้มีคนหนุ่มกลุ่มหนึ่ง ได้รวมตัวกันขับขานเสียงเพลงเพื่อชีวิต ในนามวง “กระแสธาร” โดยเล่นตามมหาวิทยาลัย และในหมู่กรรมกรเป็นส่วนใหญ่ โดยเล่นต่อเนื่องกันมาเรื่อย จนกระทั้งเกิดเหตุการณ์ ไม่สงบในป้านเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จึงได้สลายวงชั่วคราวเนื่องจากรัฐบาลเผด็จการปิดกั้นเสรีภาพทุกอย่าง ของประชาชน ทั้งที่ต่อต้านรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ปี 2521 ภายหลังเหตุการณ์ตุลาเลือด นักศึกษา ชาวนา ชาวไร่ รวมทั้งกองทัพแห่งวัฒนธรรมเดินทางบนภูสูง แม้เสรีภาพต่าง ๆ ังถูกปิดกั้นอยู่เช่นเดิมคนหนุ่มกลุ่มนี้จึงได้รวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งการรวมตัวครั้งใหม่นี้ภายใต้ชื่อ “แฮมเมอร์” โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลงานเพลงในแนว ”สะท้อนชีวิต”ดั่งนักข่าวโดยไม่มีการนำดนตรีไฟฟ้าเข้ามาเล่นเลย แม้แต่ชิ้นเดียว สมาชิกในยุคก่อตั้งประกอบด้วย อารี ประธาน หัวหน้าวง ร้องนำ และประพันธ์เพลง อนุชา ประธาน ร้องนำ กีตาร์ ไวโอลิน และประพันธ์เพลง วินัย ประธาน กีตาร์ แอคคอเดียน ฮาร์โมนิก้า ขลุ่ย และ ประสานเสียง ชาลี ประธาน กลองบองโก้ คองก้า และประสานเสียง ยงยุทธ พุ่มประเสริฐ กีตาร์ พิณ และทรงพล เจริญทรง กีตาร์ แมนโดลิน แบนโจ หลังจากเปลี่ยนชื่อจาก”กระแสธาร”มาเป็น”แฮมเมอร์” ก็ได้เข้าประกวดการแข่งขันโฟล์คซองในรายการ “วันดวลเพลง” ซึ่งจัดการแข่งขันทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 มีวงดนตรีเข้าประกวด 108 วงใช้เวลาในการประกวดกว่า 6 เดือน และในที่สุด “แฮมเมอร์” ก็ประสบความสำเร็จครั้งสำคัญ โดยชนะเลิศ ได้รับรางวัลจากองค์ชายใหญ่เมื่อเดือนธันวาคม 2521 จากเพลง “บินหลา” และ”สาวบ้านนอก” จากนั้น “แฮมเมอร์”ก็ได้ออกผลงานเพลงครั้งแรกของวงในปี 2522 โดยรวบรวมเพลงตั้งแต่ ยุคที่ยังเป็นวงกระแสธารจนมาถึงแฮมเมอร์ รวมทั้งหมด 15 เพลงผลิตแบบทำเองขายเอง หรือทำแบบวงใต้ดินในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อชุดว่า “บินหลา” (ผลงานชุดนี้อัดเสียงที่ห้องอัด ศรีกรุง ใช้เวลาเพียง 1 วัน เนื่องเพราะมีเงินค่าเช่าห้องอัดได้เพียง วันเดียว) กลางปี 2522 รุจน์ รณภพ ผู้กำกับภาพยนตร์ของบริษัทไฟว์สตาร์ในขณะนั้น สนใจเพลงบินหลา และให้แฮมเมอร์บันทึกลงในภาพยนตร์ของตนในเรื่อง”พรุ่งนี้ยังไม่สายเกินไป” นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย รือเอไอทียังได้ติดต่อให้แฮมเมอร์ทำเพลงประกอบสารคดีของเอไอทีเรื่อง”ร่วมกันสร้าง” พร้อมทั้งยังทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง”นายฮ้อยทมิฬ” ด้วยสำหรับผลงานเพลงชุด”บินหลา”ได้ออกจำหน่ายอย่าง เป็นทางการในปีเดียวกันนี้เองภายใต้ ตราบริษัท”พีค๊อก สเตอริโอ” ในยุคนั้นเพลงในแนวของแฮมเมอร์ยังถือว่า เป็นเพลงต้องห้าม จึงไม่มีโอกาสได้เผยแพร่ ทางสื่อต่าง ๆ ได้เท่าที่ควร
ปี 2523 ผลงานเพลงของแฮมเมอร์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ในหมู่ปัญญาชนและผู้ใช้แรงงาน ทางแฮมเมอร์จึง ได้เขียนเพลงระหว่างการเดินทางแสดงตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากนั้นเข้าทำการบันทึกเสียงเป็นครั้งที่ 2โดยใช้เวลาในการ บันทึกเสียงเพียง 1 วันเท่านั้น(สาเหตุเดียวกับชุดแรก) ให้ชื่อชุดว่า “ปักษ์ใต้บ้านเรา” รวมเพลง 12 เพลง อัดที่ห้องอัด ไพบูลย์ สตูดิโอ ในเดือนเมษายน 2523 สมาชิกวงยังคงเดิม แนวเพลงใกล้เคียงกับชุดบินหลา แต่ระบบการอัดเสียง และฝีมือ ทางดนตรีพัฒนาขึ้นมาก มีความนุ่มนวลมากขึ้น และมีความดิบน้อยกว่าชุดที่ผ่านมา โดยงานชุดนี้อัดในระบบ 2 แทรค ในชุดนี้ แฮมเมอร์ได้นำเพลง “ถึกควายทุย” ึ่งแต่งโดยเพื่อนที่เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศฟิลิปปินส์ชื่อ “ยืนยง โอภากุล” มาบรรจุ ในชุดนี้ด้วย ละได้ให้ผู้แต่งเพลงเป็นผู้เล่นกีต้าร์โซโลเองเป็นครั้งแรกที่เขามีโอกาสได้เข้าห้องอัดและแสดงผลงาน ภายหลังเขาผู้นี้ได้ตั้งวงดนตรีขึ้นและโด่งดังจนกลายเป็นตำนานวงหนึ่งของไทย ชื่อ “คาราบาว” (แอ๊ดคาราบาว ได้ร่วมเล่นดนตรี กับแฮมเมอร์อีกหลายเพลงในชุด หมามุ่ย) ในปีเดียวกันนี้เอง แฮมเมอร์ก็ได้ทำเพลงประกอบ ภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่อง “แผ่นดินเถื่อน” หลังจากออกผลงานเพลงชุดดังกล่าว แฮมเมอร์ได้มีงานแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ ตลอดทั้งปีส่วนใหญ่ยังเป็น งานกลุ่มปัญญาชนและกรรมกรจัดขึ้น การมีงานแสดงมากมายเช่นนี้ จึงทำให้ยอดเทปชุด ปักษ์ใต้บ้านเราขายได้สูงอย่าง ไม่น่าเชื่อ ในตอนนั้น ปี 2524 ฮมเมอร์มีเวลาน้อยมากในการทำเพลง เพราะผลงานชุดบินหลา และปักษ์ใต้บ้านเรา ทำให้ต้องเดินทาง แสดงตลอดปีแฮมเมอร์จึงนำเพลงส่วนหนึ่งตั้งแต่ชุดปักษ์ใต้บ้านเราที่ยังไม่ได้บันทึกเสียงมารวมกับบทเพลงใหม่ที่เขียนขึ้น เพิ่มเติม ระหว่างการเดินทาง ทำการบันทึกเสียงเป็นชุดที่ 3 ชื่อว่า “เข้ากรุง” ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2524
โดยมีบริษัทพีค็อก สเตอริโอจัดจำหน่ายเช่นเดิม แนวเพลงไม่ได้แตกต่างกับชุดปักษ์ใต้บ้านเรา แต่จะเน้นเรื่องราวของเมือง หลวงมากขึ้นเพราะในช่วงเวลานั้นมีการเดินทางเข้าเมืองหลวงของคนชนบทเป็นจำนวนมาก ผลงานชุดนี้มี 11 เพลง
อัดเสียงที่ห้องอัดไพบูลย์ สตูดิโอเช่นเดิมในปีนี้แฮมเมอร์ ได้รับรางวัล”ทีวีตุ๊กตาทางมหาชน” จากเพลง”ปักษ์ใต้บ้านเรา”
(โดยไม่รู้ตัวและไม่เคยคาดหวังมาก่อนและรู้ข่าวขณะทำการแสดงอยู่ต่างจังหวัด) รางวัลชิ้นนี้ ตัดสินโดยนับคะแนน จากจดหมายที่เข้ามาทั่วประเทศและจากการที่แฮมเมอร์ได้รับรางวัลดังกล่าวนี้ ทำให้แฮมเมอร์มีงานแสดงมากขึ้น ต่อมาได้เซ็นสัญญาเข้าสังกัดบริษัทของ พนม นพพร และเริง รัตนะเป็นเวลา 3 ปี ช่วงปลายปี 2524ได้ออกผลงาน
อีกชุดหนึ่งชื่อ “หมามุ่ย” เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลง ประกอบภาพยนตร์เรื่องหมามุ่ยและยังได้นำเพลงปักษ์ใต้บ้านเรา มาประกอบภาพยนตร์ เรื่องนี้ด้วย (เรื่องหมามุ่ยออกฉายต้นปี 2525)
ต้นปี 2525 แฮมเมอร์ได้ตระเวนแสดงในโรงภาพยนตร์ต่างจัดหวัด ทุกโรงที่ฉายเรื่องหมามุ่ย เพื่อโฆษณาชักชวนผู้เข้าชม การแสดงดังกล่าวนี้แฮมเมอร์ยังคงใช้สไตล์อคูสติคเหมือนเดิมและสมาชิกยังคงครบเช่นเดิมแต่ได้เสริมระบบธุรกิจเข้าไปโดยมี ผู้จัดการวงเข้ามารับผิดชอบงานด้านธุรกิจ
เดือนเมษายน 2525 ได้ทำงานเพลงชุดที่ 5 แนวเพลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของชนบทแนวทำนองและการร้องออกไปทาง ลูกทุ่งชื่อชุดว่า “นาแล้ง” มี 12 เพลง การอัดเสียงยังคงใช้เวลาน้อย เป็นการอัดแบบเล่นพร้อมกันไปเลยในห้องอัดซึ่งสมัยก่อน การอัดเสียงใช้แบบ 2 แทรค ดังนั้น การอัดเสียงจึงเหมือนกับการแสดงสดเพียงแต่เล่นกันในห้องอัดเท่านั้น เพลงชุดนี้ได้มีการ ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังและทั่วถึง มีการออกรายการต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ อย่างไรก็ตามในสมัยนั้น การแต่งกายและ หนวดเคราของสมาชิกแฮมเมอร์ ทำให้มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ต่อมา กลับกลายเป็นเอกลักษณ์ของวงแฮมเมอร์ไป ในปีนี้แฮมเมอร์ประสบความสำเร็จอีกครั้ง โดยได้รับรางวัล “ทีวีตุ๊กตามมหาชน” เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน การจัดรางวัลนี้ถือ เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นได้ยุบรายการไป เทปชุดนาแล้ง เป็นชุดที่ขายดีมาก สามารถจำหน่ายได้เกิน 2 แสนม้วนในเวลา เพียง2 เดือน ถือเป็นการจำหน่ายที่เร็วมากในยุคนั้น ทำให้ผลงานเพลงที่ทำมาก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็น บินหลา ปักษ์ใต้บ้านเรา ที่นี่ไม่มีครู แม่ ชาวประมง กรุงเทพฯ ฯลฯ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่งทำให้แฟนเพลงเรียงร้องให้รวบรวม เพลงเหล่านี้ให้มาอยู่ใน ชุดเดียวกัน แฮมเมอร์จึงได้นำมาบันทึกเสียงใหม่ โดยตกลงกับบริษัท อี เอ็ม ไอ ในการจัดจำหน่ายใช้ชื่อชุด “แฮมเมอร์รวมเพลงฮิต” รวม 12 เพลง โดยไม่รวมเพลงจากชุดหมามุ่ยและนาแล้งเข้ามาด้วย งานชุดนี้ได้รับความร่วมมือจากวิชัย ปุญญยันต์เสริมดนตรีแบ็คอัพออเคสตร้าเข้ามาด้วยเป็นผลให้ได้รับความนิยมอย่างสูง ในการจัดจำหน่ายจนได้รับรางวัล“แผ่นเสียงทองคำ” จากบริษัทแม่ของอี เอ็ม ไอ โดยวัดจากยอดจำหน่ายเทปที่เกิน 1 แสนม้วนขึ้นไป
ผลจากยอดจำหน่ายและรางวัลต่างๆส่งให้แฮมเมอร์กลายเป็นวงดนตรียอดนิยมด้านเพลงเพื่อชีวิตของประเทศในเวลานั้น และแฮมเมอร์ได้รับการติดต่อให้ทำการตระเวนแสดงดนตรีกับลูกทุ่งวงหนึ่งทั่วประเทศ โดยตกลงทำสัญญาอย่างเป็น ทางการครั้งแรก ของวงการเพลงเพื่อชีวิตในเวลานั้น ก่อนการแสดงในที่ต่าง ๆ แฮมเมอร์ได้ออกผลงานมาอีกชุดหนึ่ง โดยนำเพลงลูกทุ่งของสายัณห์ สัญญา ที่แต่งโดยณพนรรจ์ ขวัญประภา รวม 10 เพลง ทำดนตรีใหม่ในสีลาอคูสติก แบบแฮมเมอร์ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของวงการเพื่อชีวิตที่มีการนำเพลงลูกทุ่งมาทำแบบอคูสติก ใช้ชื่อชุดว่า “ยืนใจลอยคอยแฟน”ในการจัดจำหน่ายประสบความสำเร็จพอควรแต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนเพลงและบุคคลในวงการเพลงเพื่อชีวิตไม่เห็นด้วยจึงไม่สนับสนุนแฮมเมอร์ เท่าที่ควรในงานชุดดังกล่าวนี้(แต่ไม่กีปีต่อมาศิลปินเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงหลายคนได้นำเพลงลูกทุ่งและแนวเพลงเกี่ยวกับความรักมาร้อง และบรรเลงกลับได้รับความชื่นชมจากบุคคลในวงการเพลงเพื่อชีวิตเข้าทำนอง “พวกเองทำ ข้าด่า ถ้าพวกข้าทำ ไม่เป็นไร” นี่แหละหนอวงการเพลงเพื่อชีวิตเมืองไทย)
หลังจากกลับจากการแสดงทั่วประเทศกับวงดนตรีลูกทุ่งในตอนนั้น แฮมเมอร์ได้บันทึกเสียงเพลงชุดใหม่ชื่อ “คนขายขวด” ซึ่งเป็นชุดที่ 8 ออกจำหน่ายในกลางเดือนธันวาคม 2525 ต้นปี 2526 การขายชุดคนขายขวด ประสบความสำเร็จพอสมควร ทางนายทุนจึงบีบให้แฮมเมอร์เข้าห้องอัดอีก เพื่อทำเพลงประกอบและแสดงภาพยนตร์เรื่อง “ไอ้ขี้เมา” ซึ่งขัดกับความประสงค์และแนวทางของแฮมเมอร์ สิ่งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มนายทุนพนม นพพรและเริง รัตนะ แต่ในที่สุดแฮมเมอร์ก็ต้องแสดงภาพยนตร์ และทำเพลงอีกชุดหนึ่งชื่อชุด “หิ่งห้อย” ซึ่งมีเพลงที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับนายทุนอยู่หลายเพลง เช่น จารุณีเบอร์ 2 เป็นต้น และปลายปี 2526 แฮมเมอร์ได้ออกเทปอีกชุดหนึ่งชื่อ “บุษบาขายถ่าน” พร้อมกับล้มเลิกสัญญากับนายทุนพนม นพพรและเริง รัตนะทันที แต่ยังติดภาระในสัญญาจึงต้องแสดงภาพยนตร์เรื่อง”คนในซอย”
และได้เกิดปัญหาจนต้องเลิกการแสดงกลางคัน ผู้ที่เคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้สังสังเกตุเห็นว่าสมาชิกวงแฮมเมอร์ปรากฎในเรื่องเพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น ปี 2527 สมาชิกในวงเกิดความเบื่อหน่ายกับระบบธุรกิจและระบบนายทุน จึงติดสินใจทำเองโดยใช้ทุนของตัวเอง และให้บริษัทบูรพาเทป จัดจำหน่ายให้ ส่วนด้านประชาสัมพันธ์แฮมเมอร์จัดการเอง ใช้ชื่อชุด “สิ้นแสงสูรย์” ถือเป็นงานอคูสติกแท้ ๆ ชุดสุดท้ายของวงแฮมเมอร์ ก่อนการเปลื่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งทางด้านดนตรี และสมาชิกสมทบของวงในเวลาต่อมา
เทปชุดดังกล่าวค่อนข้างเงียบแม้จะเป็นชุดที่ดีมากชุดหนึ่งเนื่องจากแฮมเมอร์ไม่สามารถสู้กระแสของระบบธุรกิจในเวลานั้นได้
หลังจากสิ้นแสงสูรย์แล้ว แฮมเมอร์ตัดสินใจเข้าหาบริษัทใหญ่ดูบ้าง เพื่อความอยู่รอดของวง โดยได้ตกลงกับบริษัท นิธิทัศน์ แต่ไม่ได้ทำสัญญาต่อกันแต่อย่างใด และได้บันทึกเสียงในปี 2527 ให้ชื่อชุดว่า “ถนนฝุ่นสีแดง” ถือเป็นงานเพลงชุดที่ 12
ในชุดนี้มีการเสริมกลองชุด เปียโนไฟฟ้า คีย์บอร์ด และเบสไฟฟ้าในบางเพลงนับเป็นครั้งแรกแฮมเมอร์ และยังได้เพิ่มสมาชิกสมทบอีกคนหนึ่ง หลังออกเทปชุดนี้มีการแสดงดนตรีในต่างจัดหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์เทป แต่งานชุดดังกล่าวนี้ไม่ประสบความสำเร็จในการขายที่ เป็นเช่นนี้ก็เพราะสาเหตุแรกมาจากการปรับเปลี่ยนแนวดนตรี ของวงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน คนฟังรับไม่ทัน โดยเฉพาะแฟนเพลงแฮมเมอร์ ประการต่อมาเกิดจากเนื้อหาของเพลงฟังยาก เป็นไปในเชิงปรัชญามากเกินไป ฟังแล้วเข้าใจยาก ประการสุดท้าย เกิดจากการประชาสัมพันธ์ที่ใช้เวลาสั้นเกินไป
ปี 2528 แฮมเมอร์ได้เซ็นสัญญาเข้าสังกัดบริษัทอโซน่า เป็นเวลา 3 ปี และได้ทำเพลงชุด “โรงงาน” ซึ่งเป็นชุดที่ 13 แนวดนตรีเป็นแนวสตริงเต็มตัวมีงานอคูสติกผสมอยู่บ้างแต่น้อยมากมีการแทรกแซงทางความคิดทั้งเนื้อหาและ ดนตรีจากนายทุนต้นสังกัด ทำให้ทางวงเกิดปัญหากับบริษัทมาโดยตลอด สำหรับบริษัทเองก็มีปัญหาภายใน เป็นผลให้เทปชุดนี้ไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ งานแสดงตามที่ต่าง ๆ เริ่มน้อยลง และหยุดแสดงชั่วคราวเป็นเวลาหลายเดือน ปี 2529 ทางวงมีการปรับเปลี่ยนขบวนใหม่ เสริมมือกลองแนวร็อคมาผสมกับแนวคันทรี่ที่เป็นอคูสติกของวง โดยได้มือกลองจากวงร็อคชั้นแนวหน้าวงหนึ่ง ปัจจุบันคือ “โก้” ที่ร่วมเล่นกับยืนยง โอภากุล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ทางนายทุนไม่เห็นด้วยกับการเสนอในแบบคันทรี่ร็อคโดยให้เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของวงเป็นหลัก ในที่สุดวงก็ผลักดันงานเพลงจนสำเร็จ ใช้ชื่อว่า “แฮมเมอร์29” เป็นงานชุดที่ 14 ของวง อย่างไรก็ตามการออกอัลบั้มดังกล่าวนี้ ทางต้นสังกัดไม่ยอมทำประชาสัมพันธ์ให้อย่างเต็มที่ เพราะไม่พอใจด้วยคิดว่าเทปคงขายไม่ได้ ทำให้เทปชุดนี้ไม่ประสบความสำเร็จด้านการขาย
อย่างไรก็ตามทางวงแฮมเมอร์ยังเน้นการแสดงสดเป็นหลักโดยช่วงนี้เล่นที่ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ ปี 2530 แฮมเมอร์เปลี่ยนแปลงสมาชิกสมทบครั้งใหญ่ โดยยงยุทธ พุ่มประเสริฐ และโก้ ได้ออกจากวงไป อย่างไรก็ตามแฮมเมอร์ก็ได้บันทึกเสียงอีก 2 ชุดตามสัญญากับอโซน่า โดยมีชุด “เด็กกำพร้า” และ “10 ปีแฮมเมอร์”
หลังจากเทป2 ชุดนี้เสร็จ สมาชิกดั้งเดิมได้ลาออกอีก 1 คนคือ ทรงพล เจริญทรง ทำให้แฮมเมอร์มีสมาชกยุค ก่อตั้งเหลือเพียง 4 คนคือ อารี ประธาน อนุชา ประธาน วินัย ประธาน และชาลี ประธาน หลังจากนั้นแฮมเมอร์ก็ไม่ได้ออกผลงานอีกเลยเป็นเวลา 3 ปี แต่ยังคงตระเวนแสดงอยู่เฉพาะภาคใต้ภาคเดียว ช่วงนี้จึงได้หายไปจากสื่อต่าง ๆ โดยสิ้งเชิง ปี 2533 แฮมเมอร์ตกลงกันไดักับอโซน่า จึงบันทึกเสียงอีกครั้งหนึ่ง โดยรวบรวมเพลงในอดีตทั้งที่ฮิตและไม่ฮิตมาทำใหม่ ใช้ชื่อชุดว่า “ตำนานเพลงแฮมเมอร์” ออกมาเป็นเทปคู่1-2 แต่ก็เข้าอีหรอบเดิม ไม่ได้รับความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์อีกเช่นเคยเนื่องจากไม่มีสัญญาต่อกันนั่นเอง จากการที่บริษัทไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรแฮมเมอร์จึงต้องออกประชาสัมพันธ์ตัวเอง
กับสื่อต่างๆออกงานสังคมบ่อยขึ้นเป็นผลให้เกิดไฟในการทำงานขึ้นอีกครั้งหนึ่งและได้ทำการตกลงกับนายทุนอโซน่าใหม่โดยไม่มีสัญญาต่อกันเช่นเดิม ได้ผลิตผลงานชุดใหม่ขึ้น ใช้ชื่อชุดว่า “ฉันจะให้เธอ” มีการเปลี่ยนแปลงแนวดนตรี และการร้อง โดยเพิ่มเสียงคอรัสหญิงเข้ามา พร้อมทั้งเพิ่มสมาชิกสมทบในตำแหน่งกีต้าร์ เบสไฟฟ้า และกลองชุด รวมถึงการเสริมเสียงทางอิเล็คทรอนิคส์มากขึ้น งานชุดนี้ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงพอสมควรจากเพลง“ข้ามาคนเดียว” ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นทั้ง ชื่อเสียงและธุรกิจของวง อัลบั้มชุดนี้ได้รับรางวัล 2 รางวัลด้วยกันคือ รางวัลเพลงอนุรักษ์ธรรมชาติดีเด่น จากเพลง “โลกสีสรร” โดยชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม และรางวัลเพลงดีเด่นสำหรับเยาวชนจากเพลง “ทิ้งทำไม” โดยสำนักงานคณะกรรมการเยาวชนแห่งชาติหรือ สยช. หลังจากออกอัลบั้มชุดนี้แล้ว แฮมเมอร์มีปัญหากับอโซน่าอย่างมาก จนต้องแยกทางกัน ปี 2535 แฮมเมอร์ได้เซ็นสัญญากับบริษัททอปไลน์เป็นเวลา 3 ปี โดยได้ออกผลงานชุด “สะตอ”ซึ่งเป็นชุดที่ 19 แนวดนตรียังคงเหมือนชุดที่แล้วแต่เพิ่มเสียงอคูสติกและความนุ่มนวลมากขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ได้เกิดเหตุการทางการเมืองขึ้น (เดือนพฤษภาคม) ทำให้ยอดขายเทปชะงักไปบ้างแต่ไม่สงผลกระทบต่อวงแฮมเมอร์มากนัก มีนาคม 2536 ออกผลงานเพลงชุดที่20ของวงภายใต้สังกัดทอปไลน์ ชื่อชุด “ฉันเป็นต้นไม้” อันเป็นชุดสุดท้ายที่ออกภายไต้สังกัดนี้ ต่อมาสมาชิสมทบได้ลาออกไป 2 คนคือ สมศักดิ์ ลิ้มเจริญ มือกีต้าร์ และมือกลองอีกคนหนึ่ง
อัลบั้มชุดฉันเป็นต้นไม้นี้ ทางวงมีเจตนาทำขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ ดนตรีในชุดนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างอคูสติกและอิเล็คทรอนิกส์ และได้รับรางวัลอีก 2 รางวัลจากอัลบั้มดังกล่าว จากเพลง “ฉันเป็นต้นไม้” และ “เจ้าปลาวาฬ” โดยกรมป่าไม้ และ ชมรมสภาวะแวดล้อมสยามตามลำดับ หลังจากออกอัลบั้มชุดฉันเป็นต้นไม้แล้ว แฮมเมอร์ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแสดงสด
และได้ทำการสรุปผลการทำงานตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา มีความเห็นตรงกันว่า วงแฮมเมอร์ควรจะทำงานที่ตัวเองมีความชำนาญและทำได้ดี นั่นคือการกลับไปยังจุดเริ่มต้นของวงซึ่งใช้เครื่องดนตรีประเภทอคูสติก โดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษ์ของวงตั้งแต่เริมต้นเนื่องเพราะสังเกตุจากการแสดงสดซึ่งแฟนเพลงให้การต้อน รับกับบทเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีในลักษณะดังกล่าวมากกว่า แฮมเมอร์จึงได้ดำเนินการผลิตบทเพลงอคูสติกออกมาตอบสนองความต้องการของแฟนเพลงในชื่อชุดว่า “กลับมาแล้ว” ออกวางตลาดในเดือนตุลาคม 2537 ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงด้วยดีทำให้แฮมเมอร์มีกำลังใจที่จะทำงานในลักษณะนี้ออกมาอีก อีกทั้งการทำงานในชุดนี้ปราศจากความกดดันและความคิดของนายทุนโดยสิ้นเชิง
จากจุดยืนที่มั่นคงและแน่วแน่ของแนวดนตรอคูสติก แฮมเมอร์จึงนำผลงานเพลงเก่าซึ่งเคยได้รับความนิยมตลอด 17 ปีที่ผ่านมาของวง เช่น บินหลา ปักษ์ใต้บ้านเรา เข้ากรุง แม่ ที่นี่ไม่มีครู ฯลฯ มาร้อง เรียบเรียงและทำดนตรีใหม่ รวมไว้ในอัลบั้มชุดใหม่ชื่อชุด “ฆ้อนทอง” จุดเด่นของบทเพลงชุดนี้นอกจากจะเป็นงานในแนวอคูสติกที่ฟังสบายๆสไตล์แฮมเมอร์แล้ว เสียงดนตรีที่ออกมายังเหมือนกับการได้ชมการแสดงของวงสด ๆทีเดียว ไม่มีเสียงทาง อิเลคทรอนิคหลงเหลืออยู่ในชุดนี้อีกเลย และที่สำคัญ แฮมเมอร์ได้ลงทุนทำเองทุกขั้นตอนโดยได้รับ
ความร่วมมือจากบริษัทออนป้า มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้วางตลาดให้ โดยออกจำหน่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2538 หลังจากหันหลังให้ค่ายเทปแล้วมาลงทุนทำเอง ในเดือนพฤษจิกายนปี2538นั้นเอง แฮมเมอร์ได้นำผลงานชุด “ปักษ์ใต้บ้านเรา” ซึ่งออกจำหน่ายตั้งแต่เดือนเมษายน 2524 โดยใช้ต้นฉบับที่อัดในระบบ 2 แทรค มาทำการรีมาสเตอร์ใหม่ในระบบดิจิตอล ทำให้ระบบเสียงคมชัดยิ่งขึ้น ออกวางจำหน่ายใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 โดยใช้ชื่อชุดว่า“ปักษ์ใต้บ้านเรา ต้นฉบับ 2523” ไม่เพียงแต่ทำงานเพลงให้กับตนเองเท่านั้นแฮมเมอร์ยัง ได้สร้างทายาทขึ้นมาสืบสานศิลปต่างๆที่แฮมเมอร์ ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยเป็นลูกหลานแท้ๆของวงแฮมเมอร์ และได้ร่วมเล่นเป็นวงแบ็คอัพให้กับแฮมเมอร์ตลอด3 ปีที่ผ่านมาชื่อวง “ดิ ออกัส” (The August) ซึ่งในเดือนธันวาคม 2538
พวกเขาได้มีอัลบั้มเพลงของตนเองออกมาชื่อชุด “สู้ทน” โดยมีสมาชิกของวงแฮมเมอร์ให้คำปรึกษา ลงทุนและอำนวยการผลิตให้ เป็นแนวเพลงสะท้อนชีวิตเช่นเดียวกับแฮมเมอร์ การย่างเข้าปีที่ 18 ในปี 2539 ของแฮมเมอร์นั้น ก็เริ่มต้นทำงานเพลงชุดใหม่ทันที โดยเริ่มต้นเข้าห้องอัดในเดือนกุมภาพันธ์ และแล้วงานเพลงชุดใหม่ก็แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม และได้ตัดสิ่งใจส่งลงแผงในช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยมีออนป้ารับหน้าที่ในการจัดจำหน่ายเช่นเดิม ส่วนการลงทุนลงแรงยังเป็นหน้าที่ของแฮมเมอร์ เช่นเดียวกับชุด “ฆ้อนทอง” งานชุดใหม่นี้ใช้ชื่อชุดว่า “ฆ้อนเพียว ๆ” เป็นงานเพลงในรูปของอคูสติกแบบแฮมเมอร์ตามคำเรียกร้องของแฟนเพลง
มีอยู่ด้วยกัน 14 เพลง ทั้งนี้ งานเพลงชุด “ฆ้อนเพียว ๆ”เกิดขึ้นมาได้เนื่องมาจากการสนับสนุนของแฟนเพลง ที่ให้กำลังใจต่องานเพลงชุด”ฆ้อนทอง”ที่ผ่านมานั่นเอง ในปีที่ 18 นี้ แฮมเมอร์ไม่เพียงมีงานเพลงชุด”ฆ้อนเพียว ๆ” เท่านั้น เรายังตั้งใจสานงานอื่น ๆ ที่ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านอนุรักษ์ งานด้านสังคมเพื่อเยาวชน ได้มีการศึกษา หลีกไกลจากยาเสพติด ซึ่งงานเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการกองทุนเด็กไทยผู้ยากไร้” (เดิมชื่อ “โครงการกองทุนเด็กไทยผู้ยากไร้แฮมเมอร์-ยูนิเซฟ”)
ซึ่งแฮมเมอร์ได้รับการรับรองจากองค์การยูนิเซฟ องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2532 เมื่อเข้าสู่ปีที่ 8 แฮมเมอร์จึงต้องทำงานหนักขึ้นอย่างแน่นอน แต่งานทุกอย่างลำพังเพียงแฮมเมอร์ คงทำไม่ไหวแน่ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากแฟนเพลง และพี่น้องประชาชน ดังนั้น เมื่อโครงการต่าง ๆ ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง แฮมเมอร์จึงต้องขอความร่วมมือจากแฟนเพลง อย่างแน่นอน หลังจากออกอัลบั้มชุดที่ 25 “ฆ้อนเพียว ๆ” แฮมเมอร์ก็เดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ผลจากการต้อนรับของแฟนเพลงจากผลงานชุดดังกล่าว แฮมเมอร์ต้องออกแสดงคอนเสิร์ตไปทั่วประเทศ ทำให้เกิดพลังและกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาอีก ต้นเดือนมกราคม 2540 เริ่มต้นปีที่ 19 ของแฮมเมอร์จากการตระเวณแสดงคอนเสิร์ตในที่หลายๆแห่งแฟนเพลง ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงในชุดต่างๆที่ผ่านมาของแฮมเมอร์ว่ามีผู้เห็นแก่ได้ ละเมิดลิขสิทธิ์นำผลงานของวงไปอัดขาย บางบริษัทถึงกับละเมิดกันทั้งชุดเลย มีทั้งแผ่นซีดีและเทปคาสเซ็ท คุณภาพเสียงก็แย่มาก ก่อให้เกิดความผิดหวังสำหรับผู้ที่รักเสียงเพลงของแฮมเมอร์ เมื่อได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้ แฮมเมอร์จึงได้ปรึกษากันและมีมติว่า ในชั้นแรกนี้จะรวบรวมเพลงที่มีจังหวะหรือสามารถใส่จังหวะสามช่า นำมาทำดนตรี ร้อง และบรรเลงใหม่ในสไตล์อคูสติก รวบรวมลงในอัลบั้มหนึ่งอัลบั้ม เพื่อให้แฟนเพลงได้ชื่นชมกับบทเพลงของแฮมเมอร์ที่เป็นของแท้ จึงตัดสินใจเข้าห้องอัดเสียงและเริ่มทำผลงานชุดใหม่ดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 มีนาคม 2540 การทำงานสำหรับชุดใหม่เสร็จสิ้นลง ได้ผลงานทั้งหมด 16 เพลง เป็นเพลงเก่า 14 เพลง แต่งขึ้นใหม่ 2 เพลง ใช้ชื่ออัลบั้มชุดนี้ว่า “สามช่าอคูสติก” ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2540 ตลอดเวลาเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา แฮมเมอร์ได้ยืนหยัดกับแนวทางดนตรีที่พวกเขาเลือก แม้จะต้องผจญกับอุปสรรคนา
นับประการ แต่พวกเขาก็ไม่เคยท้อถอย ยังคงมุ่งมั่นในสิ่งที่พวกเขาเชื่อมั่น ปัจจุบันวงดนตรีแฮมเมอร์ ได้กลายเป็นตำนานบทหนึ่ง ของวงการเพลงของประเทศนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะเพลง “ปักษ์ใต้บ้านเรา”ถือได้ว่าเป็นบทเพลงที่มีคนรู้จักมากที่สุดเพลงหนึ่งของประเทศไทย จนกลายเป็นเพลงประจำภาคใต้ไปแล้ว โดยปริยายและจากประสพการณ์ทางด้านการแสดงสดอันยาวนานของแฮมเมอร์ทำให้การแสดงบนเวทีของพวกเขาสนุกสนาน และไม่มีความน่าเบื่อเลย แม้ว่าจะแสดงในแนวอคูสติกก็ตาม กล่าวกันว่าวงดนตรีคณะแฮมเมอร์เป็นวงดนตรีที่แสดงสด ได้ดีที่สุดวงหนึ่งตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แฮมเมอร์จะยังคงมุ่งหน้าสร้างสรรค์ผลงานเพลงเพื่อแฟนเพลง และก้าวเดินสู่ปีที่ 20 ซึ่งจะมาถึงในปี 2541 นี้ ด้วยความมั่นคงและเหนียวแน่นในแนวทางต่อไป
“ฆ้อนนี้จะตอกย้ำ เพื่อก้าวล้ำวัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างสรรค์อนาคตสดใส ให้ก้าวไกลอย่างมีพลัง”
ผลงานของวงแฮมเมอร์
- บินหลา (2522)
- ปักษ์ใต้บ้านเรา (2523)
- เข้ากรุง (2524)
- ชุดพิเศษ (2524) (เพลงบรรเลงดนตรีล้วน)
- ชานเมือง (2524) (ผลงานเพลงลูกทุ่งชุดพิเศษของแฮมเมอร์และแอ๊ด คาราบาว )
- หมามุ่ย (2524)
- นาแล้ง (2525)
- รวมเพลงฮิต (2525)
- ยืนใจลอยคอยแฟน (2525) (เพลงลูกทุ่ง)
- คนขายขวด (2526)
- หิ่งห้อย (2526)
- บุษบาขายถ่าน (2526)
- มุ้งมิ้ง (2526) (ผลงานเดี่ยวของ อนุชา ประธาน)
- สิ้นแสงสูรย์ (2527)
- ฝุ่นสีแดง (2527)
- โรงงาน (2528)
- แฮมเมอร์ 29 (2529)
- เด็กกำพร้า (2530)
- 10 ปี แฮมเมอร์ (2530)
- ตำนานเพลงแฮมเมอร์ (2533)
- ฉันจะให้เธอ (2534)
- เจาะอดีต (2535)
- สะตอ (2536)
- ฉันเป็นต้นไม้ (2536)
- กลับมาแล้ว (2537)
- ฆ้อนทอง (2538)
- ฆ้อนเพียว ๆ (2539)
- สามช่าอคูสติค (2540)