วิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารบัญ |
[แก้] เป้าหมาย
- เพื่อพัฒนาบทความเกี่ยวกับประเทศและดินแดนต่างๆให้มีความสมบูรณต่อการนำไปใช้งาน
- เพื่อพัฒนาแนวทางการเขียนบทความให้เป็นไปในแนวทางใกล้เคียงกัน
[แก้] ขอบเขตของบทความในโครงการ
- บทความเกี่ยวกับประเทศทั้งหมด
- บทความเกี่ยวกับดินแดน โดยเฉพาะดินแดนที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแม่ หรือประเทศที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน กวม สาธารณรัฐจีน (ดูที่ รายชื่อประเทศและดินแดน)
นอกจากนี้ บทความที่เกี่ยวข้องกับเขตปกครองตนเองหรือเขตปกครองที่มีความสำคัญใกล้เคียงประเทศ (โดยเฉพาะที่มีรูปแบบเนื้อหาใกล้เคียงบทความประเทศ) อาจนำมาเป็นบทความในโครงการได้ นำบทความเข้าร่วมโครงการโดยใส่ {{โครงการวิกิประเทศ}} ไว้ในหน้าพูดคุยของบทความ
[แก้] แนวทางการเขียนบทความ
รูปแบบต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางที่แนะนำเท่านั้น รูปแบบในแต่ละบทความอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทความและผู้เขียนบทความนั้นๆ หากไม่เห็นด้วยและต้องการเปลี่ยนแปลงแนวทาง หรือแนวทางนั้นยังไม่มีการตัดสิน สามารถอภิปรายได้ในหน้าพูดคุย
[แก้] การตั้งชื่อบทความ
บทความประเทศ ให้ตั้งชื่อตามชื่อประเทศอย่างสั้นในร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กําหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง โดยใส่คำว่า ประเทศ นำหน้า ยกเว้นชื่อประเทศที่มีคำบ่งบอกความเป็นรัฐอยู่แล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น
[แก้] บทนำ
บทนำของบทความ ควรกล่าวถึงชื่อเต็มของประเทศ ตำแหน่งที่ตั้งในโลก (ควรจะระบุเจาะจงลงไปในระดับภูมิภาค) ประเทศเพื่อนบ้าน ทะลหรือสิ่งอื่นที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อาจกล่าวถึงชื่ออื่นของประเทศที่ใช้เรียกกัน (เช่น ฮอลแลนด์) และสิ่งที่สำคัญของประเทศนั้นๆ หากเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อมีความยาวและซับซ้อน อาจแยกออกมาเป็นอีกส่วนย่อยของบทความ เช่น == ชื่อประเทศ == เป็นต้น
- ตัวอย่างบทนำ
- ประเทศไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออก ติด ลาว และ กัมพูชา ทิศใต้ ติด อ่าวไทย และ มาเลเซีย ทางทิศตะวันตก ติด ทะเลอันดามัน และ พม่า และ ทางทิศเหนือ ติด พม่า และ ลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ สหประชาชาติ เอเปค และ อาเซียน มีศูนย์รวมการปกครองอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศ ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ ที่ทรงครองราชย์ ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ยาวนานที่สุดในโลก
- ราชอาณาจักรตองกา (Kingdom of Tonga) หรือ ตองกา (ในภาษาตองกาแปลว่า ทิศใต้) เป็นประเทศหมู่เกาะในเครือจักรภพ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์และมลรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยอยู่ทางใต้ของประเทศซามัว และทางตะวันออกของประเทศฟิจิ ประเทศตองกาไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก แม้ว่าจะเป็นสมาชิกของเครือจักรภพก็ตาม
- บราซิล (Brazil) หรือชื่อทางการ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federative Republic of Brazil) (ภาษาโปรตุเกส: República Federativa do Brasil ออกเสียง: [ʁe'publikɐ fedeɾa'tivɐ du bɾa'ziw]) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาเม และดินแดนเฟรนช์เกียนา — ทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ
[แก้] กล่องข้อมูล
ใช้แม่แบบ:กล่องข้อมูล ประเทศ โดยทั่วไปแล้วสามารถคัดลอกจากบทความภาษาอังกฤษได้ โดยเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นภาษาไทย
[แก้] ส่วนย่อยของบทความ
บทความควรมีเนื้อหาในหัวข้อย่อยต่อไปนี้
- ประวัติศาสตร์
- การเมืองการปกครอง
- การแบ่งเขตการปกครอง
- ภูมิศาสตร์
- เศรษฐกิจ
- ประชากร
- วัฒนธรรม
หากเนื้อหาส่วนนั้นมีความละเอียดเพียงพอ สามารถแยกออกเป็นบทความใหม่เช่น ประวัติศาสตร์ไทย และเขียนสรุปในบทความหลักของประเทศนั้นๆ พร้อมกับลิงก์ไปยังบทความละเอียด
[แก้] ท้ายบทความ
- อ้างอิง : ดูวิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
- แหล่งข้อมูลอื่น : ข้อมูลจากเ็ว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย, เวิลด์แฟกต์บุก ซีไอเอ สหรัฐอเมริกา, สารานุกรมบริทานิกา, เว็บไซต์ทางการหรือรัฐบาลของประเทศนั้น ฯลฯ
- แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : ภูมิภาค ทวีป ฯลฯ
- หมวดหมู่ : จัดลงในหมวดหมู่ของประเทศนั้นๆ เช่นบทความประเทศไทย จะจัดอยู่ในหมวดหมู่:ประเทศไทย โดยไม่ต้องใส่หมวดหมู่:ประเทศในทวีปเอเชีย